หมายเหตุ: เนื้อหาในหน้านี้อาจยังไม่สมบูรณ์ หากพบข้อผิดพลาดหรือต้องการช่วยกันเติมเต็มเนื้อหาในหน้านี้ โปรดติดต่อผู้ดูแลเว็บตามช่องทางในหน้า Contact us
สารบัญ:
- 1. เกริ่นนำ
- 2. ความต้องการขั้นพื้นฐานของโปรแกรม
- 3. การดาวน์โหลดและติดตั้ง NVDA
- 4. เริ่มต้นใช้งาน NVDA
- 5. การนำร่องด้วย NVDA
- 6. เบราส์โหมด
- 7. การอ่านเนื้อหาทางคณิตศาสตร์
- 8. อักษรเบรลล์
- 9. Content Recognition
- 10. คำสั่งเฉพาะโปรแกรม
- 11. การกำหนดค่าต่างๆ ใน NVDA
- 11.1 การตั้งค่า
- 11.1.1 การตั้งค่าทั่วไป (NVDA+Control+g)
- 11.1.2 ตัวเลือกเสียงสังเคราะห์ (NVDA+Control+s)
- 11.1.3 การตั้งค่าเสียง (Control+NVDA+v)
- 11.1.4 การตั้งค่าเสียงด้วย ring key
- 11.1.5 การตั้งค่าเบรลล์
- 11.1.6 การตั้งค่าคีย์บอร์ด (NVDA+Control+k)
- 11.1.7 การตั้งค่าเม้าส์
- 11.1.8 การตั้งค่ารีวิวเคอเซอร์
- 11.1.9 การตั้งค่าการแสดงวัตถุ
- 11.1.10 การตั้งค่าองค์ประกอบการป้อนข้อมูล
- 11.1.11 การตั้งค่าเบราส์โหมด
- 11.1.12 การตั้งค่าการจัดรูปแบบเอกสาร (NVDA+Control+D)
- 11.1.13 การตั้งค่า Windows 10 OCR
- 11.1.14 พจนานุกรมการอ่าน
- 11.1.15 การออกเสียงเครื่องหมายวรรคตอน / สัญลักษณ์
- 11.1.16 Input Gestures
- 11.2 การบันทึกและการย้อนกลับการกำหนดค่า
- 11.3 การตั้งค่าโปรไฟล์
- 11.4 แฟ้มการกำหนดค่าและโปรไฟล์ผู้ใช้
- 11.1 การตั้งค่า
- 12. เครื่องมือพิเศษ
- 13. เสียงสังเคราะห์ที่รองรับ
- 14. เครื่องแสดงผลด้วยอักษรเบรลล์ที่รองรับ
- 14.1 Freedom Scientific Focus/PAC Mate Series
- 14.2 Optelec ALVA BC640/680
- 14.3 Handy Tech Displays
- 14.4 MDV Lilli
- 14.5 Baum/Humanware/APH Braille Displays
- 14.6 hedo ProfiLine USB
- 14.7 hedo MobilLine USB
- 14.8 HumanWare Brailliant BI/B Series
- 14.9 HIMS Braille Sense/Braille EDGE Series
- 14.10 HIMS SyncBraille
- 14.11 Seika Braille Displays
- 14.12 Papenmeier BRAILLEX Newer Models
- 14.13 Papenmeier Braille BRAILLEX Older Models
- 14.14 HumanWare BrailleNote
- 14.15. EcoBraille
- 14.16. SuperBraille
- 14.17 BRLTTY
- 15. หัวข้อขั้นสูง
- 16. ข้อมูลเพิ่มเติม
1. เกริ่นนำ
NonVisual Desktop Access (NVDA) คือโปรแกรมอ่านหน้าจอ (screen-reader) ซึ่งฟรีและเป็นโปรแกรมโอเพนซอร์ส สำหรับระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows เพื่อให้ผู้พิการทางสายตาหรือผู้มีความบกพร่องทางการมองเห็นสามารถใช้คอมพิวเตอร์บนระบบปฏิบัติการ Windows ได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายไปมากกว่าผู้ที่มีสายตาปกติ ผ่านระบบการสังเคราะห์เสียงและอักษรเบรลล์ NVDA พัฒนาขึ้นโดย NV Access จากการมีส่วนร่วมของเครือข่ายนักพัฒนา
1.1 คุณสมบัติทั่วไป
NVDA ช่วยให้ผู้พิการทางสายตาและผู้มีความบกพร่องทางการมองเห็นเข้าถึงและโต้ตอบกับระบบปฏิบัติการ Windows และโปรแกรม third partyต่างๆ ได้ โดยมีจุดเด่นที่สำคัญได้แก่
- รองรับการเข้าถึงโปรแกรมยอดนิยมต่างๆ เช่น เว็บเบราส์เซอร์, อีเมล, โปรแกรมแชท และโปรแกรมจัดการเอกสาร
- มีเสียงสังเคราะห์รวมมาให้ในตัว ซึ่งรองรับกว่า 80 ภาษา
- รายงาน การจัดรูปแบบตัวอักษร ในส่วนที่เข้าถึงได้ เช่นชื่อฟ็อนต์ ขนาด รูปแบบและ การตรวจการสะกด
- อ่านข้อความในตำแหน่งที่เม้าส์ชี้อยู่ได้โดยอัตโนมัติ และสามารถระบุตำแหน่งของเม้าส์ด้วยเสียงได้
- รองรับการใช้งานร่วมกับ refreshable braille displays ได้หลากหลายรุ่น รวมถึง input of computer braille for braille display ซึ่งมีแป้นพิมพ์อักษรเบรลล์
- สามารถใช้งานด้วยการติดตั้งลงบนคอมพิวเตอร์ตามปกติ หรือจะใช้ในแบบโปรแกรมพกพาก็ได้
- ระบบการติดตั้งโปรแกรมที่สะดวก เนื่องจากมีเสียงอ่านให้ฟังทันทีตั้งแต่ขั้นตอนการติดตั้ง
- โปรแกรมถูกแปลเป็นภาษาต่างๆ กว่า 50 ภาษา
- รองรับระบบปฏิบัติการ windows ใหม่ๆ ทั้ง 32 และ 64 บิท
- สามารถใช้งานในหน้าต่าง windows log on และหน้าจอความปลอดภัยอื่นๆ ได้
- รองรับการเข้าถึงส่วนติดต่อผู้ใช้ที่เข้าถึงได้ (accessibility) โดยทั่วไป เช่น Microsoft Active Accessibility, Java Access Bridge, IAccessible2 และ UI Automation (UI Automation รองรับบน windows 7 หรือใหม่กว่าเท่านั้น)
- รองรับการเข้าถึง Windows command prompt และ console applications
1.2 ภาษาที่รองรับ
เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้คนทุกที่ในโลก, ไม่ว่าภาษาที่เขาพูดจะเป็นภาษาอะไร พวกเขาสมควรที่จะสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้อย่างเท่าเทียมกัน ดังนั้นนอกจากภาษาอังกฤษแล้ว NVDA ได้รับการแปลเป็นภาษาอื่นๆ อีกกว่า 50 ภาษา ได้แก่ แอฟริกา, แอลเบเนีย, อัมฮาริค, อาหรับ, อารากอน, โปรตุเกสบราซิล, บัลแกเรีย, พม่า, คาตาลัน, โคลอมเบีย สเปน, โครเอเชีย, เช็ก, เดนมาร์ก, ดัตช์, ฟาร์ซี, ฟินแลนด์, ฝรั่งเศส, กาลิเซีย, จอร์เจีย, เยอรมัน, กรีก, ภาษาฮิบรู, ภาษาฮินดี, ฮังการี, ไอซ์แลนด์, ไอริช, อิตาลี, ญี่ปุ่น, กัณณาท, เกาหลี, ลิทัวเนีย, เนปาล, นอร์เวย์, โปแลนด์, โปรตุเกส, ปัญจาบ, โรมาเนีย, รัสเซีย, เซอร์เบีย, สโลวาเกีย, สโลวีเนีย, สเปน, สวีเดน, ทมิฬ, ไทย, จีน (ทั้งตัวเต็มและตัวย่อ), ตุรกี, ยูเครน และเวียดนาม
1.3 การรองรับเสียงสังเคราะห์
นอกเหนือจากการอ่านข้อความและส่วนติดต่อผู้ใช้ที่ถูกแปลในหลายภาษาแล้ว NVDA ยังสามารถให้ผู้ใช้อ่านเนื้อหาในภาษาใด ๆ ก็ได้ตราบเท่าที่พวกเขามีเสียงสังเคราะห์ที่สามารถพูดภาษานั้นๆ ได้ NVDA ได้รวมเสียงสังเคราะห์ eSpeak ซึ่งเป็นเสียงสังเคราะห์ที่ฟรีและเป็นโอเพนซอร์ซ มาให้ในตัวซึ่งมันก็รองรับในหลายภาษา ข้อมูลของเสียงสังเคราะห์อื่นๆ ที่ NVDA รองรับ สามารถดูเพิ่มเติมได้จากส่วนของ เสียงสังเคราะห์ที่รองรับ
1.4 การรองรับเครื่องแสดงผลด้วยอักษรเบรลล์
สำหรับผู้ที่มีเครื่องแสดงผลด้วยอักษรเบรลล์ (braille display) NVDA สามารถแสดงผลในรูปแบบอักษรเบรลล์ได้ สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับ braille display โปรดดูหัวข้อ เครื่องแสดงผลด้วยอักษรเบรลล์ที่รองรับ NVDA รองรับรหัสอักษรเบรลล์ได้หลายภาษา ทั้งตัวย่อ ตัวเต็ม และรหัสอักษรเบรลล์คอมพิวเตอร์ภาษาต่างๆ
1.5 ใบอนุยาตและลิขสิทธิ์
ผู้ผลิตมีลิขสิทธิ์ใน NVDA ในปี 2006-2017 และอยู่ภายใต้ the GNU General Public License (Version 2) คุณสามารถแบ่งปันหรือแก้ไขโปรแกรมคอมพิวเตอร์นี้ได้ในประการใดๆ ตามที่คุณต้องการโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ตราบใดที่โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังกล่าวมาพร้อมกับใบอนุญาตและคุณได้ทำให้บุคคลใดๆ ได้ไปซึ่ง source code ที่บุคคลนั้นต้องการ การอนุญาตนี้สามารถใช้ได้กับทั้งสำเนาโปรแกรมต้นฉบับและโปรแกรมที่ถูกปรับปรุง และให้รวมถึงการแก้ไขดัดแปลงใดๆ สำหรับข้อมูลโดยละเอียดคุณสามารถดูรายละเอียดได้จาก ใบอนุญาตเต็ม
2. ความต้องการขั้นพื้นฐานของโปรแกรม
- ระบบปฏิบัติการ: สามารถใช้งานได้ทั้งระบบปฏิบัติการแบบ 32 และ 64 bit ใน Windows XP, Windows Vista, Windows 7, Windows 8 และ Windows 10รวมถึงระบบปฏิบัติการ Windows ที่ใช้กับ server ด้วย
- สำหรับ Windoes XP 32-bit NVDA ต้องการ Service Pack 2 หรือใหม่กว่า
- สำหรับ Windows Server 2003NVDA ต้องการ Service Pack 1 หรือใหม่กว่า
- สำหรับ Windows Vista, NVDA ต้องการ Service Pack 2 รวมถึงอัพเดต KB2763674 ทั้งหมดนี้จะถูกรวมอยู่ในการอัพเดตของวินโดส์ให้อยู่แล้ว
- หน่วยความจำสำรอง (RAM) 256 เมกะไบต์ขึ้นไป
- ความเร็วหน่วยประมวลผล (CPU) 1 กิกะเฮิร์ซหรือมากกว่า
- พื้นที่บนดิสก์สำหรับติดตั้งโปรแกรมประมาณ 90 เมกะไบต์
3. การดาวน์โหลดและติดตั้ง NVDA
หากคุณยังไม่มีตัวติดตั้ง NVDA สามารถดาวน์โหลดได้จาก หน้า Download ไปที่ปุ่ม download เพื่อโหลด NVDA เวอร์ชั่น ล่าสุด หลังจากดาวน์โหลดเสร็จแล้วเปิด ไฟล์ที่ดาวน์โหลดมาจะเป็นการเริ่มต้นใช้ NVDA แบบชั่วคราวก่อน และโปรแกรมจะถามความต้องการของคุณเพื่อให้ทำการติดตั้ง NVDA ลงบนคอมพิวเตอร์ หรือสร้าง NVDA แบบพกพา หรือใช้ NVDA แบบชั่วคราวต่อไป
ถ้าคุณจะใช้ NVDA บนคอมพิวเตอร์เครื่องนี้แบบถาวรให้คุณเลือกติดตั้ง (install) NVDA การติดตั้ง NVDA จะทำให้คุณสามารถใช้ฟังก์ชั่นต่างๆ ที่ NVDA แบบพกพาและ NVDA แบบ ชั่วคราวไม่สามารถใช้ได้ เช่น เปิด NVDA โดยอัตโนมัติเมื่อคุณเปิดคอมพิวเตอร์และเข้าสู่ระบบปฏิบัติการ windows ความสามารถในการอ่าน Windows Logon และ Windows security การสร้าง start menu และ desktop shortcut เป็นต้น นอกจากนั้น NVDA แบบติดตั้งยังสามารถสร้าง NVDA แบบพกพาได้จากใน NVDA menu อีกด้วย
ถ้าคุณต้องการนำ NVDA ไปกับคุณในทุกๆ ที่ บน thum drive หรืออุปกรณ์พกพาอื่นๆให้คุณเลือกสร้าง NVDA แบบพกพา และคุณยังสามารถติดตั้ง NVDA จาก menu ของ NVDA แบบพกพาได้เมื่อคุณต้องการ อย่างไรก็ตามถ้าคุณต้องการสร้าง NVDA แบบพกพาลงบนสื่อบันทึกข้อมูล (read-only media) เช่น แผ่นซีดี คุณควรจะเขียนไฟล์ที่ดาวน์โหลดมาแทนที่จะสร้าง NVDA แบบพกพาลงบนสื่อเหล่านั้น เนื่องจากยังไม่มีการรองรับการใช้ NVDA แบบพกพาโดยตรงผ่านสื่อบันทึกข้อมูลชนิดนี้
การใช้ NVDA แบบชั่วคราวเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่คุณสามารถทำได้ เช่น การใช้เพื่อทดสอบการทำงาน เป็นต้น แม้ว่าการใช้ NVDA แบบชั่วคราวในแต่ละครั้งจะต้องเสียเวลามากกว่าก็ตาม
3.1 ข้อจำกัดของ NVDA แบบพกพาและ NVDA แบบชั่วคราว
นอกจากจะไม่สามารถเปิด NVDA โดยอัตโนมัติในขณะที่อยู่ในหน้าต่าง windows logon หรือหลังจากเข้าสู่ระบบปฏิบัติการ windows แล้ว NVDA แบบพกพาและแบบชั่วคราวยังมีข้อจำกัด ต่างๆ ดังนี้
- ไม่สามารถใช้กับโปรแกรมที่เป็นสิทธิของผู้ดูแลระบบได้ เว้นแต่ NVDA จะถูกใช้โดยมีสิทธิของผู้ดูแลระบบ (ไม่แนะนำ)
- ไม่สามารถอ่าน User Account Control (UAC) ในขณะที่คุณพยายามเปิดโปรแกรมที่เป็นสิทธิของผู้ดูแลระบบได้
- ไม่สามารถใช้การป้อนข้อมูลผ่านระบบสัมผัสบน windows 8 หรือระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่กว่าได้ (ถ้ามีอุปกรณ์ที่เป็นจอสัมผัส)
- ไม่สามารถใช้เบราส์โหมด และพูดตัวอักษรที่พิมพ์ลงไปใน Windows Store apps ของ windows 8 หรือระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่กว่าได้
- ไม่สามารถใช้ Audio Ducking บน Windows 8 หรือระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่กว่าได้
3.2 การติดตั้ง NVDA
ถ้าคุณต้องการติดตั้ง NVDA จากไฟล์ติดตั้งที่ดาวน์โหลดมาให้กดปุ่ม Install NVDA แต่ถ้าคุณปิดหน้าต่างนี้ไปแล้ว หรือต้องการติดตั้ง NVDA จาก NVDA แบบพกพา ให้คุณเลือก Install NVDA จาก menu tools ใน NVDA menu กล่องข้อความการติดตั้งที่ปรากฏขึ้นมาจะให้คุณยืนยันว่าจะติดตั้ง NVDA หรือไม่ และจะบอกให้คุณรู้ว่า การติดตั้งนี้เป็นการติดตั้งใหม่ หรือเป็นการ update NVDA รุ่นก่อน หากคุณกดปุ่ม continue จะเป็นการเริ่มติดตั้ง NVDA เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วจะมีข้อความแจ้งว่า การติดตั้งเสร็จเรียบร้อย ให้คุณกดปุ่ม ok เพื่อ เปิด NVDA แบบติดตั้ง ในส่วนกล่องข้อความในการติดตั้ง NVDA ยังมีการตั้งค่าอื่นๆ ซึ่งจะอธิบายต่อไป
3.2.1 ใช้ NVDA ในหน้าต่าง windows logon
การตั้งค่านี้เป็นการกำหนดว่าจะใช้ NVDA บน windows logon หรือไม่ (หากตั้งค่าให้ใช้ NVDA บนหน้าต่างนี้ NVDA จะเปิดโดยอัตโนมัติเมื่อคุณอยู่ในหน้าต่าง windows logon) การตั้งค่านี้จะมีผลเป็นการใช้หรือไม่ใช้ NVDA ใน UAC และหน้าต่างที่เกี่ยวกับความปลอดภัยอื่นๆ ด้วย
3.2.2 สร้าง shortcut บนเดสก์ท็อป (Control+alt+n)
การตั้งค่านี้เป็นการกำหนดว่า จะให้ NVDA สร้างคีย์ลัดบนเดสก์ท็อปหรือไม่ หากตั้งค่าให้ NVDA สร้างคีย์ลัด จะมีการกำหนดคำสั่งลัด (shortcut key) เพื่อให้ผู้ใช้เปิด NVDA ได้ง่ายขึ้นด้วย โดยคำสั่งลัดที่ NVDA กำหนดให้โดยอัตโนมัติคือ Control+alt+n (สามารถเปลี่ยนได้ภายหลัง) ซึ่งเมื่อคุณกดคำสั่งนี้ จะเป็นการเริ่มใช้งาน NVDA ใหม่ได้ตลอดเวลา
3.2.3 การคัดลอกการตั้งค่าจาก NVDA แบบพกพาลงมายัง NVDA แบบติดตั้ง
การตั้งค่านี้เป็นการกำหนดให้ NVDA คัดลอกการตั้งค่าต่างๆ ของ NVDA ที่กำลังเปิดอยู่ในขณะนี้ ไปยัง NVDA ที่กำลังติดตั้งอยู่ (พูดง่ายๆ ก็คือ ทำให้ NVDA ที่จะติดตั้งลงบนคอมพิวเตอร์มีการตั้งค่าเหมือน กับ NVDA แบบพกพาที่กำลังใช้อยู่) สำหรับผู้ใช้ปัจจุบันที่กำลังใช้ระบบปฏิบัติการ windows (กรณีที่มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์เครื่องเดียวกันหลายคน) แต่จะไม่คัดลอกการตั้งค่าของผู้ใช้คนอื่นบนคอมพิวเตอร์ และจะไม่คัดลอกการตั้งค่าเกี่ยวกับ windows logon และหน้าจอเพื่อความปลอดภัยอื่นๆ ของผู้ใช้คนอื่นด้วย
3.3 การสร้าง NVDA แบบพกพา
ถ้าต้องการสร้าง NVDA แบบพกพาจากไฟล์ติดตั้งโดยตรงให้กดปุ่ม Create Portable Copy แต่ถ้าคุณปิดกล่องข้อความไปแล้วหรือต้องการสร้าง NVDA แบบพกพาจาก NVDA แบบติดตั้งให้คุณเลือก Create Portable copy ใน menu tools ใน NVDA เมนู จะปรากฏกล่องข้อความให้คุณกำหนดว่าจะสร้าง NVDA แบบพกพาไว้ที่ไหน คุณอาจจะสร้าง NVDA แบบพกพานี้บนคอมพิวเตอร์หรือบน thum drive และสื่อบันทึกแบบพกพาอื่นๆ ก็ได้
นอกจากนี้หากคุณสร้าง NVDA แบบพกพาจาก NVDA แบบติดตั้ง คุณยังสามารถเลือกได้ว่า จะคัดลอก การตั้งค่าต่างๆ จาก NVDA แบบติดตั้งไปใช้กับ NVDA แบบพกพาที่จะสร้างด้วยหรือไม่ หากคุณต้องการสร้าง NVDA แบบพกพาให้กดปุ่ม continue เมื่อสร้าง NVDA แบบพกพาเรียบร้อยจะมีข้อความแจ้งคุณว่าการสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วให้กดปุ่ม OK
4. เริ่มต้นใช้งาน NVDA
4.1 การเรียกโปรแกรม
หากคุณใช้โปรแกรม NVDA แบบติดตั้ง คุณสามารถเรียกโปรแกรม NVDA ได้ง่ายๆ ด้วยคำสั่ง Control+alt+n หรือเรียก NVDA จาก NVDA menu ภายใต้ Programs บน Start menu หรือ พิมพ์ NVDA ในช่อง Run แล้วกด enter นอกจากนี้คุณยังสามารถเพิ่มตัวเลือก บางอย่างด้วย Command Line เพื่อให้คุณสามารถ เช่น เริ่มต้นโปรแกรม NVDA ใหม่ (-r), ปิดโปรแกรม NVDA (-q) ปิดการใช้งานส่วนเสริมทั้งหมด (--disable-addons) และอื่นๆ สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จากหัวข้อ ตัวเลือก Command Line
สำหรับการใช้งาน NVDA แบบติดตั้ง โดยค่าปริยายโปรแกรม NVDA จะมีโฟลเดอร์สำหรับจัดเก็บไฟล์การกำหนดค่าของผู้ใช้ไว้ในโฟลเดอร์ roaming application data ในโฟลเดอร์ผู้ใช้งานของระบบปฏิบัติการวินโดส์ ตัวอย่าง "C:\Users\
สำหรับผู้ที่ใช้งานโปรแกรม NVDA แบบพกพา ให้คุณเข้าไปในโฟลเดอร์ที่ติดตั้งโปรแกรมไว้ จากนั้นหาไฟล์ที่ชื่อ NVDA.exe แล้วกด enter หรือดับเบิลคลิก
เมื่อโปรแกรมเริ่มทำงานคุณจะได้ยินเสียงที่ถูกตั้งค่าไว้ (เพื่อบอกว่าขณะนี้โปรแกรมกำลังเริ่มทำงาน) ซึ่งความช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ของคุณเองด้วย ถ้าคุณใช้งาน NVDA จากสื่อบันทึกภายนอก เช่น USB แฟลชไดร์ฟที่มีความเร็วไม่สูงมาก อาจต้องใช้เวลาสักครู่ในการเริ่มต้นโปรแกรม หรือถ้าหากต้องใช้เวลานานเป็นพิเศษคุณอาจได้ยินข้อความแจ้งว่า "Loading NVDA. Please wait..."
ถ้าหากคุณไม่ได้ยินเสียงใดๆ หรือได้ยินเสียงแจ้งความผิดพลาดของ Windows หรือเสียงแจ้งข้อผิดพลาดของ NVDA เอง และไม่สามารถใช้งานโปรแกรมได้ คุณอาจต้องแจ้งความผิดพลาดนี้กลับไปยังนักพัฒนา โดยรายละเอียดสามารถดูได้จากเว็บไซต์ NVDA
เมื่อเริ่มต้นใช้งาน NVDA เป็นครั้งแรก คุณจะได้รับการต้อนรับด้วยกล่องโต้ตอบที่ช่วยให้คุณมีข้อมูลพื้นฐานบางอย่างเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนคีย์ NVDA และเมนู NVDA (โปรดดูส่วนเพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวข้อเหล่านี้)
กล่องโต้ตอบที่แสดงขึ้นมาในครั้งแรกของการใช้งาน NVDA นี้จะมีช่องทำเครื่องหมาย 3 อัน อันแรกจะช่วยให้คุณสามารถตั้งค่าให้ปุ่ม capslock ใช้งานเป็น NVDA คีย์ได้ หากคุณต้องการ อันที่สองจะให้คุณเลือกว่าคุณต้องการให้เริ่มโปรแกรม NVDA โดยอัตโนมัติหรือไม่ โดยถ้าติ๊กที่ช่องนี้ โปรแกรม NVDA จะเริ่มทำงานโดยอัตโนมัติหลังจากที่คุณ log on เข้าวินโดส์ และอันที่สามเป็นตัวตั้งค่าว่าคุณจะต้องการให้กล่องโต้ตอบนี้แสดงขึ้นมาทุกครั้งที่เปิด NVDA หรือไม่
4.2 เกี่ยวกับคำสั่งของ NVDA ที่ใช้บนแป้นพิมพ์
4.2.1 NVDA คีย์
คำสั่งบนแป้นพิมพ์ของ NVDA ส่วนมากมักจะใช้คีย์ที่เรียกว่า NVDA ร่วมกับคีย์อื่นๆ ยกเว้นคำสั่ง review สำหรับเดสก์ท็อป keyboard layout ที่จะใช้เพียงคีย์บนแป้น Numpad เพียงคีย์เดียวได้ แต่อย่างไรก็ตามมีคำสั่งบางคำสั่งบนแป้น Numpad เช่นกันที่ต้องใช้ร่วมกับคีย์ NVDA โดยที่ NVDA สามารถกำหนดให้ปุ่ม Insert ที่อยู่ตรง Numpad หรือปุ่ม Insert ที่อยู่ในส่วนอื่น หรือปุ่ม capslock สามารถใช้เป็นปุ่ม NVDA คีย์ได้
โดยค่าเริ่มต้น NVDA จะตั้งให้ปุ่ม Insert ทั้งสองที่ถูกใช้เป็นปุ่ม NVDA คีย์ และเมื่อคุณตั้งค่าให้ปุ่มใดๆ ใช้งานเป็นปุ่ม NVDA คีย์แล้ว หากคุณต้องการใช้งานค่าปกติของปุ่มนั้นๆ คุณสามารถกดปุ่มนั้นสองครั้งเร็วๆ เช่นถ้าคุณตั้งให้ปุ่ม capslock เป็นปุ่ม NVDA คีย์ หากคุณต้องการใช้งานปุ่ม capslock คุณก็เพียงกดปุ่ม capslock สองครั้งเร็วๆ
4.2.2 Keyboard Layouts
ในขณะนี้ NVDA มาพร้อมกับชุดคำสั่งบนแป้นพิมพ์ (Keyboard Layouts) สองชุด คือแบบเดสก์ท็อป และแบบแล็ปท็อป โดยค่าเริ่มต้น NVDA จะให้คุณใช้งาน Keyboard Layouts ในแบบเดสก์ท็อป และคุณสามารถเปลี่ยนไปใช้แบบแล็ปท็อปได้จากส่วนของการตั้งค่าคีย์บอร์ด ที่อยู่ในส่วนของการตั้งค่า สามารถเข้าถึงได้จากใน NVDA เมนู
ชุดคำสั่งแบบเดสก์ท็อปมักจะมีการใช้งานปุ่มตรง numpad (ในขณะที่อยู่ในโหมด numlock off) ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์แบบแล็ปท็อปส่วนมากจะไม่ได้มีปุ่ม numpad แบบแยกต่างหาก (เหมือนในคีย์บอร์ดของเดสก์ท็อป) แต่ในแล็ปท็อปบางรุ่น ก็สามารถเปิดการใช้งานส่วนของ numpad แบบจำลองขึ้นมาได้ ไม่ว่าจะเป็นการกดปุ่ม numlock หรือใช้ปุ่มฟังชั่น (F/N) กดร่วมกับปุ่มแถบด้านขวามือบนแป้นคีย์บอร์ด (7 8 9, u i o, j k l ฯ) แต่ถ้าหากคอมพิวเตอร์ของคุณไม่สามารถทำแบบที่ว่าได้ คุณก็สามารถเลือกไปใช้ชุดคำสั่งแบบแล็ปท็อปได้
4.3 การสั่งงานผ่านการสัมผัส
หากคุณใช้ NVDA บนอุปกรณ์ที่มีหน้าจอสัมผัสและใช้ Windows 8 หรือใหม่กว่า คุณสามารถควบคุม NVDA โดยตรงผ่านท่าทางการสัมผัสบนหน้าจอในขณะที่ NVDA กำลังทำงานอยู่ การป้อนข้อมูลแบบสัมผัสทั้งหมดจะเป็นการส่งคำสั่งไปยังโปรแกรม NVDA โดยตรง ดังนั้นการป้อนข้อมูลด้วยการสัมผัสที่สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องเปิดโปรแกรม NVDA อาจจะใช้งานไม่ได้ตามปกติ
4.3.1 การสำรวจหน้าจอ
การดำเนินการขั้นพื้นฐานที่สุดที่คุณสามารถดำเนินการกับหน้าจอสัมผัสคือการรับทราบส่วนควบคุมหรือข้อความที่จุดใด ๆ บนหน้าจอ เมื่อต้องการทำเช่นนี้ให้วางนิ้วเพียงนิ้วเดียวที่ใดก็ได้บนหน้าจอ นอกจากนั้นคุณยังสามารถแตะนิ้วค้างไว้และลากไปรอบๆ เพื่ออ่านข้อความหรือส่วนควบคุมใดๆ ภายใต้จุดที่นิ้วของคุณลากผ่าน
4.3.2 ท่าทางการสัมผัส
คำสั่งที่ใช้งานสำหรับ NVDA ที่มีอธิบายไว้ในคู่มือนี้ อาจมีบางคำสั่งที่สามารถใช้งานได้โดยการป้อนคำสั่งผ่านท่าทางการสัมผัสบนหน้าจอสัมผัส ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำบางอย่างเกี่ยวกับวิธีการป้อนคำสั่งผ่านท่าทางการสัมผัส
การแตะ
แตะหน้าจอเร็วๆ ด้วยหนึ่งนิ้วหรือมากกว่า
การแตะด้วยนิ้วเดียว คือ แตะ การแตะด้วยสองนิ้ว คือแตะด้วยสองนิ้ว หากมีการแตะหนึ่งครั้งแล้วแตะซ้ำเร็วๆ ทันทีNVDA จะเข้าใจว่าเป็นท่าทางการสัมผัสแบบการแตะซ้ำ ซึ่งจะมีทั้งการแตะซ้ำสองครั้ง การแตะซ้ำสามครั้ง รวมถึงการกำหนดจำนวนนิ้วที่ต้องใช้แตะ เช่น แตะสองนิ้วซ้ำสามครั้ง แตะสี่นิ้วหนึ่งครั้ง เป็นต้น
การปัด
การปัดคือการลากนิ้วของคุณผ่านไปบนหน้าจออย่างรวดเร็ว
ซึ่งการปัดมีความเป็นไปได้อยู่ 4 ท่าทาง ขึ้นอยู่กับทิศทาง ได้แก่ ปัดขึ้น, ปัดลง, ปัดซ้าย และปัดขวา และเช่นเดียวกับการแตะ จำนวนนิ้วที่ใช้ปัดก็ถือเป็นท่าทางการสัมผัสด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น สองนิ้วปัดขึ้น สี่นิ้วปัดซ้าย เป็นต้น
4.3.3 โหมดการสัมผัส
เนื่องจากคำสั่งของ NVDA นั้นมีมากเกินกว่าที่จะใช้งานผ่านท่าทางการสัมผัสได้หมด NVDA จึงมีโหมดการสัมผัสให้คุณสามารถสลับใช้ได้ซึ่งโหมดต่างๆ ก็จะมีคำสั่งย่อยเป็นของตัวเอง โดยโหมดการสัมผัสทั้งสองได้แก่ โหมดข้อความ และโหมดวัตถุ
คำสั่ง NVDA บางอย่างที่ระบุไว้ในเอกสารฉบับนี้อาจมีโหมดการติดต่อที่ระบุไว้ในวงเล็บหลังจากท่าทางสัมผัส ตัวอย่างเช่น ปัดขึ้น (โหมดข้อความ) หมายความว่าคำสั่งจะดำเนินการถ้าคุณปัดขึ้น เฉพาะในขณะที่อยู่ในโหมดข้อความ ถ้าคำสั่งไม่ได้มีโหมดที่ระบุไว้ก็จะทำงานในโหมดใดๆ ก็ได้ เพื่อที่จะสลับโหมดการสัมผัส ให้คุณใช้สามนิ้วแตะหนึ่งครั้ง
4.4 โหมดช่วยเหลือ
ยังมีคำสั่งของ NVDA อีกเป็นจำนวนมากที่จะถูกกล่าวถึงในส่วนที่เหลือของคู่มือนี้ แต่วิธีง่ายๆ ที่จะสำรวจคำสั่งต่างๆ ของ NVDA คือ การเปิดโหมดช่วยเหลือ
เมื่อต้องการเปิดโหมดช่วยเหลือให้คุณกดคำสั่ง NVDA+1 และกดอีกครั้งเมื่อต้องการออกจากโหมดช่วยเหลือ ในขณะที่อยู่ในโหมดช่วยเหลือ การป้อนข้อมูลหรือการแสดงท่าทางป้อนข้อมูลใด ๆ (เช่นการกดปุ่มหรือการแสดงท่าทางสัมผัส) NVDA ก็จะอธิบายถึงคุณสมบัติของคำสั่งนั้นๆ ให้เราฟัง โดยที่การสั่งงานนั้นจะไม่ส่งผลใดๆ หากอยู่ในโหมดช่วยเหลือ
4.5 NVDA เมนู
NVDA เมนู จะช่วยให้คุณสามารถเข้าถึงส่วนของการตั้งค่าต่างๆ ในโปรแกรม NVDA เข้าถึงส่วนของความช่วยเหลือ การบันทึกการตั้งค่าหรือย้อนกลับการบันทึกการตั้งค่า แก้ไขพจนานุกรมการอ่าน เข้าถึงเครื่องมืออื่นๆ และออกจาก NVDA
สำหรับการเข้าถึง NVDA เมนู คุณสามารถเรียก NVDA เมนูได้จากทุกที่บน Windows แม้ว่าในขณะที่กำลังทำงานอยู่ โดยใช้คำสั่ง NVDA+N บนแป้นพิมพ์ หรือแตะสองนิ้วสองครั้งบนหน้าจอสัมผัส
นอกจากนี้คุณยังสามารถเข้าถึง NVDA เมนูผ่านทาง System Tray โดยการคลิกขวาที่ icon NVDA หรือ โดยการไปที่ System Tray โดยกด Windows+b แล้วเลื่อนลูกษรขึ้น/ลงหา NVDA จากนั้นให้กดปุ่ม application โดยที่ปุ่ม Application จะอยู่ทางซ้ายของปุ่ม Control ทางด้านขวามือบนแป้นคีย์บอร์ด
เมื่อเรียก NVDA เมนูขึ้นมาแล้ว คุณสามารถใช้ปุ่มลูกศรเพื่อนำทางในเมนูและปุ่ม Enter เพื่อเปิดใช้งานรายการตัวเลือกต่างๆ
4.6 คำสั่งพื้นฐานของ NVDA
ชื่อ | คำสั่งบนเดสก์ท็อป | คำสั่งบนแล็ปท็อป | การสัมผัส | คำอธิบาย
--------- | --------- | --------- | --------- | ---------
หยุดอ่าน | Control | Control | แตะด้วยสองนิ้ว | หยุดการอ่านทันที
หยุดอ่านชั่วคราว | Shift | Shift | ไม่มี | กดเพื่อหยุดการอ่านชั่วคราวและกดซ้ำอีกครั้งเมื่อต้องการให้อ่านต่อไป (รองรับเฉพาะในบางเสียงสังเคราะห์เท่านั้น)
NVDA เมนู | NVDA+n | NVDA+n | แตะด้วยสองนิ้วสองครั้ง | เรียกหน้าต่างควบคุมหลักของ NVDA เพื่อให้คุณสามารถเข้าถึงการช่วยเหลือ, เครื่องมือ, การตั้งค่าและอื่นๆ
สลับโหมดการอ่าน | NVDA+s | NVDA+s | ไม่มี | สลับโหมดการอ่านระหว่าง อ่าน > เสียงบี๊บ > ไม่อ่าน
โหมดช่วยเหลือ | NVDA+1 | NVDA+1 | ไม่มี | ใช้เพื่อสลับสถานะเปิดหรือปิดตัวช่วยเหลือต่างๆ ในระหว่างการใช้งาน NVDA หากผู้ใช้งานไม่แน่ใจว่า คำสั่งต่างๆ ที่เป็นแป้นพิมพ์ลัดนั้นมีความหมายอะไร ใช้เพื่ออะไร ให้ลองกดแป้น NVDA + 1 เพื่อเข้าไปสู่โหมดช่วยเหลือนี้และทดลองกดแป้นพิมพ์ที่ไม่แน่ใจแล้ว NVDA จะอธิบายให้ฟัง
ออกจาก NVDA | NVDA+q | NVDA+q | ไม่มี | ใช้สำหรับปิดโปรแกรม NVDA
ส่งผ่านแป้นพิมพ์ | NVDA+F2 | NVDA+F2 | ไม่มี | เรียกใช้นำหน้าคำสั่งแป้นพิมพ์ลัดอื่นๆ ที่ผู้ใช้งานไม่ต้องการจะสื่อสารกับ NVDA สาเหตุที่จะต้องใช้คำสั่งแป้นพิมพ์ลัดนี้ เพื่อขจัดความซ้ำซ้อนกันระหว่างคำสั่งของ NVDA เองกับคำสั่งของโปรแกรมอื่น
โหมดปิดการทำงานชั่วคราว | NVDA+Shift+s | NVDA+Shift+z | ไม่มี | หยุดการทำงานทั้งการรับคำสั่ง เสียงพูดและการแสดงผลด้วยอักษรเบรลล์ของโปรแกรม NVDA ไว้ชั่วคราว มีประโยชน์ในกรณีที่ใช้งานบางโปรแกรมที่มีเสียงพูดในตัวหรือใช้งานโปรแกรมอ่านจอภาพตัวอื่นๆ กดอีกครั้งเพื่อทำให้โปรแกรม NVDA กลับมาทำงานเหมือนเดิม
4.7 คำสั่งสำหรับการรายงานข้อมูลต่างๆ ของระบบ
ชื่อ | คำสั่ง | คำอธิบาย
--------- | --------- | ---------
รายงานเวลา / วันที่ | NVDA+F12 | กดหนึ่งครั้งรายงานเวลา กดสองครั้งรายงานวันที่
รายงานสถานะแบตเตอรี่ | NVDA+Shift+b | รายงานสถานะของแบตเตอรี่ เช่น เปอร์เซ็นต์คงเหลือ, เวลาที่สามารถใช้งานได้, มีการต่อไฟ AC (เสียบหม้อแปลง) อยู่หรือไม่
รายงานข้อความในคลิปบอร์ด | NVDA+c | อ่านข้อความที่เก็บไว้ในคลิปบอร์ด (ถ้ามี) คำสั่งนี้จะอ่านเฉพาะข้อความ ไม่รวมการคัดลอกไฟล์ต่างๆ
5. การนำร่องด้วย NVDA
NVDA ช่วยให้คุณสามารถสำรวจและนำร่องส่วนต่างๆ ได้หลายวิธี ทั้งวิธีปกติและใช้แถบทบทวน
5.1 วัตถุ
แต่ละโปรแกรมและระบบปฏิบัติการประกอบด้วยวัตถุต่างๆ ในแต่ละโปรแกรม ซึ่งวัตถุเหล่านั้นเป็นชิ้นเดี่ยวๆ เช่นข้อความ ปุ่ม ช่องทำเครื่องหมาย slider, list หรือกล่องข้อความ
5.2 การนำร่องด้วย system focus
วัตถุโฟกัสหรือที่เรียกง่ายๆ ว่า โฟกัส เป็น วัตถุ ที่รับการพิมพ์จากแป้นพิมพ์ เช่น ถ้าคุณพิมพ์ข้อความลงในกล่องข้อความ หมายความว่ากล่องข้อความนั้นกำลังมีโฟกัสอยู่ (cursor กำลังอยู่ ในกล่องข้อความนั้น สามารถใช้ลูกศรเลื่อนอ่านได้)
วิธีนำร่องด้วย NVDA ที่มีการใช้มากที่สุดคือการเคลื่อนย้ายวัตถุโฟกัสโดยใช้แป้นพิมพ์คำสั่งมาตรฐานของ windows เช่น กดแท็บ และ Shift+Tab เพื่อไปข้างหน้าและถอยหลังระหว่างตัวควบคุม กด Alt เพื่อไปยังแถบเมนูแล้วใช้ปุ่มลูกศรเพื่อนำร่องเมนูต่างๆ และการใช้ Alt+Tab เพื่อสลับไปมาระหว่างโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ ในขณะที่คุณกำลังใช้วัตถุโฟกัสอยู่ NVDA จะรายงานข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุ ที่มีโฟกัสอยู่ เช่น ชื่อ ประเภท value state คำอธิบาย แป้นพิมพ์คำสั่งลัด และข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งของวัตถุ
คำสั่งที่มีประโยชน์ในการใช้วัตถุโฟกัสได้แก่
ชื่อ | คำสั่งเดสทอพ | คำสั่งแล็ปท็อป | คำอธิบาย
---------- | ---------- | ---------- | ----------
รายงานวัตถุที่กำลังโฟกัส | NVDA+Tab | NVDA+Tab | บอกวัตถุหรือตัวควบคุมที่วัตถุโฟกัสอยู่ กด 2 ครั้งเพื่อสะกดข้อมูลนั้น
รายงานหัวเรื่อง | NVDA+t | NVDA+t | รายงานหัวเรื่องของหน้าต่างที่กำลังใช้งานอยู่ กด 2 ครั้งเพื่ออ่านแบบสะกดให้ฟัง กดซ้อนกัน 3 ครั้ง จะคัดลอกข้อความลงบนคลิบบอร์ด
อ่านพื้นหน้า | NVDA+b | NVDA+b | อ่านพื้นหน้าของหน้าต่างที่อยู่ในระหว่างการใช้งาน (มีประโยชน์เมื่อใช้กล่องโต้ตอบ)
รายงานแถบสถานะ | NVDA+End | NVDA+Shift+End | รายงานแถบสถานะถ้า NVDA หาพบ นอกจากนี้ยังย้ายวัตถุนำร่องไปยังตำแหน่งนี้ด้วย
5.3 นำร่องด้วยลูกศร
เมื่อ วัตถุ ที่มีการนำร่องและหรือสามารถแก้ไขข้อความได้มี โฟกัส แล้ว คุณสามารถเลื่อนผ่านข้อความในวัตถุนั้นโดยใช้ลูกศร ซึ่งยังรู้จักกันในชื่อ edit cursor ด้วย
เมื่อมีการโฟกัสบนวัตถุที่ใช้ลูกศรได้ คุณสามารถใช้ปุ่มลูกศร ปุ่ม page up page down ปุ่ม home end และอื่นๆ ในการเลื่อนอ่านข้อความได้ คุณสามารถแก้ไขข้อความได้ ถ้าตัวควบคุมนั้นรอง รับการแก้ไข NVDA จะอ่าน ตัวอักษร คำ และบรรทัด ในขณะที่คุณเคลื่อนย้ายลูกศร และจะอ่านข้อความที่คุณได้เลือกหรือไม่เลือกด้วย
NVDA มีคำสั่งที่ใช้สัมพันธ์กับลูกศรดังนี้
ชื่อ | คำสั่งเดสทอพ | คำสั่งแล็ปท็อป | คำอธิบาย ---------- | ---------- | ---------- | ---------- อ่านทั้งหมด | NVDA+DownArrow | NVDA+a | เริ่มอ่านจากตำแหน่งปัจจุบันของลูกศรจนถึงตำแหน่งสุดท้าย อ่านบรรทัด | NVDA+UpArrow | NVDA+l | อ่านบรรทัดปัจจุบันที่ลูกศรอยู่ กดสองครั้งเพื่ออ่านบรรทัดแบบสะกดทีละตัว อ่านข้อความที่เลือก | NVDA+Shift+UpArrow | NVDA+shift+s | อ่านข้อความที่ถูกเลือก (คลุมดำ) ประโยคถัดไป | Alt+DownArrow | Alt+DownArrow | เลื่อนลูกศรไปยังประโยคถัดไปและอ่านข้อความในประโยคนั้น (รองรับใน Microsoft Word และ Outlook เท่านั้น) ประโยคก่อนหน้า | Alt+UpArrow | Alt+UpArrow | เลื่อนลูกศรไปยังประโยคก่อนหน้าและอ่านข้อความในประโยคนั้น (รองรับใน Microsoft Word และ Outlook เท่านั้น)
นอกจากนี้เมื่อโฟกัสอยู่ในตารางยังสามารถใช้คำสั่งดังต่อไปนี้ได้อีกด้วย
ชื่อ | คำสั่ง | คำอธิบาย ---------- | ---------- | ---------- เลื่อนไปที่สดมภ์ก่อนหน้า | Control+Alt+LeftArrow | เลื่อนลูกศรไปที่สดมภ์ก่อนหน้า (อยู่ในแถวเดียวกัน) เลื่อนไปที่สดมภ์ถัดไป | Control+Alt+RightArrow | เลื่อนลูกศรไปที่สดมภ์ถัดไป (อยู่ในแถวเดียวกัน) เลื่อนไปที่แถวก่อนหน้า (แถวบน) | Control+Alt+UpArrow | เลื่อนลูกศรไปที่แถวก่อนหน้า (อยู่ในสดมภ์เดียวกัน) เลื่อนไปที่แถวถัดไป (แถวล่าง) | Control+Alt+DownArrow | เลื่อนลูกศรไปที่แถวถัดไป (อยู่ในสดมภ์เดียวกัน)
5.4 วัตถุนำร่อง
แม้ว่าคุณมักจะใช้โปรแกรมโดยการใช้คำสั่งที่เคลื่อนย้าย วัตถุโฟกัส และ ลูกศร เป็นส่วนใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามในบางครั้งคุณอาจต้องการที่จะสำรวจโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่หรือ สำรวจระบบปฏิบัติการของคุณโดยไม่ต้องการเคลื่อนย้ายโฟกัสและลูกศร นอกจากนั้นคุณยังอาจจะต้องการใช้ วัตถุ ซึ่งคำสั่งปกติไม่สามารถเข้าถึงได้ ในกรณีเหล่านี้คุณสามารถใช้วัตถุนำร่องได้
วัตถุนำร่องช่วยให้คุณสามารถเลื่อนไปมาระหว่าง วัตถุ และได้รับข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุนั้นๆ เมื่อคุณเคลื่อนย้ายไปยังวัตถุต่างๆ NVDA จะรายงานในแบบที่คล้ายกับการรายงานของวัตถุโฟกัส คุณ สามารถใช้ การทบทวนหน้าจอ แทนการใช้แถบทบทวนข้อความทั้งหมดตามที่ปรากฏบนหน้าจอได้
วัตถุที่เป็นลำดับชั้นจะทำให้คุณไม่ต้องเลื่อนไปมาระหว่างแต่ละวัตถุในระบบ ซึ่งหมายความว่าวัตถุบางอย่างมีวัตถุอื่นอยู่ในลำดับชั้นที่รองลงไปด้วย และคุณจะต้องเลื่อนเข้าไปภายในวัตถุเหล่านั้นคุณจึงจะสามารถเข้าถึงวัตถุ ลำดับชั้นรองที่วัตถุนั้นมีได้ (เปรียบเสมือนต้นไม้เป็นวัตถุหลัก มีกิ่งก้านเป็นวัตถุลำดับชั้นรอง ต้องเข้าไปภายในต้นไม้นั้นถึงจะเลื่อนไปที่กิ่งก้านของต้นไม้นั้นได้)
ยกตัวอย่างเช่น list ที่มี list item อยู่ภายใน คุณต้องเข้าไปภายใน list นั้น จึงจะเข้าถึง list item ได้ หากคุณไปยัง list item นั้นแล้ว การเคลื่อนย้ายไปและกลับจะพาคุณไปที่ list item อื่นซึ่งอยู่ภายใน list เดียวกัน การเคลื่อนย้ายไปยัง list item ซึ่เป็นวัตถุที่มี list item อยู่ภายในจะนำคุณกลับไปที่ list คุณสามารถเลื่อนผ่าน list ไปก็ได้ถ้าคุณต้องการที่จะเข้าถึงวัตถุอื่นๆ ในทำนองเดียวกันกับ toolbar ที่มีตัวควบคุม ดังนั้นคุณจะต้องเข้าไปใน toolbar เพื่อที่จะเข้าถึงตัวควบคุมภายใน toolbar เป็นต้น
วัตถุที่กำลังได้รับการทบทวนเรียกว่า วัตถุนำร่อง เมื่อคุณนำร่องไปยังวัตถุนั้นแล้ว คุณสามารถทบทวนวัตถุเหล่านั้นได้โดยใช้ คำสั่งแถบทบทวนข้อความ ค่าเริ่มต้นของวัตถุนำร่องจะถูกตั้งให้เคลื่อนย้าย ตามวัตถุโฟกัสแต่ค่าเริ่มต้นนี้สามารถสลับการเปิดและปิดได้
หมายเหตุ: ค่าเริ่มต้นในแถบอักษรเบรลล์ถูกตั้งให้เคลื่อนย้ายตามโฟกัสและลูกศร ถ้าคุณต้องการให้แถบอักษรเบรลล์เคลื่อนย้ายตามวัตถุนำร่องและแถบทบทวนข้อความ คุณจำเป็นต้องตั้งค่าเบรลล์ ไว้ที่ทบทวน
ใช้คำสั่งต่อไปนี้เพื่อนำร่องวัตถุ
ชื่อ | คำสั่งเดสทอพ | คำสั่งแล็ปท็อป | การสัมผัส | คำอธิบาย ---------- | ---------- | ---------- | ---------- | ---------- รายงานวัตถุนำร่องปัจจุบัน | NVDA+numpad5 | NVDA+Shift+o | ไม่มี | รายงานวัตถุนำร่องปัจจุบัน กดสองครั้งเพื่อสะกดข้อมูล และกด 3 ครั้ง คัดลอกชื่อของวัตถุนี้และราย ละเอียดไปที่คลิปบอร์ด เลื่อนไปยังวัตถุหลัก | NVDA+numpad8 | NVDA+Shift+UpArrow | หนึ่งนิ้วปัดขึ้น (โหมดวัตถุ) | เลื่อนวัตถุนำร่องไปยังวัตถุลำดับชั้นสูงกว่า (เลื่อนขึ้นไปทีละระดับ) ไปยังวัตถุก่อนหน้า | NVDA+numpad4 | NVDA+Shift+LeftArrow | หนึ่งนิ้วปัดซ้าย (โหมดวัตถุ) | เลื่อนไปยังวัตถุก่อนหน้าวัตถุปัจจุบัน (ระดับเดียวกัน) ไปยังวัตถุถัดไป | NVDA+numpad6 | NVDA+Shift+RightArrow | หนึ่งนิ้วปัดขวา (โหมดวัตถุ) | เลื่อนไปยังวัตถุถัดจากวัตถุปัจจุบัน (ระดับเดียวกัน) ไปยังวัตถุระดับรองแรก | NVDA+numpad2 | NVDA+Shift+DownArrow | หนึ่งนิ้วปัดลง (โหมดวัตถุ) | เลื่อนไปที่วัตถุระดับจากวัตถุปัจจุบัน (เลื่อนลงทีละระดับ) เลื่อนวัตถุนำร่องไปที่โฟกัส | NVDA+numpadMinus | NVDA+backspace | ไม่มี | เลื่อนไปยังวัตถุที่มีโฟกัสอยู่ และวางแถบทบทวนไว้ที่ตำแหน่งของลูกศรถ้ามีการแสดงไว้ เปิดใช้งานวัตถุนำร่องปัจจุบัน | NVDA+numpadEnter | NVDA+enter | แตะ 2 ครั้ง | เปิดวัตถุนำร่องปัจจุบัน (เหมือนการคลิกเมาส์หรือกดปุ่ม space วัตถุที่มีโฟกัสอยู่) เคลื่อนย้ายโฟกัสและลูกศรไปยังตำแหน่งแถบทบทวน | NVDA+shift+numpadMinus | NVDA +shift+backspace | ไม่มี | กด 1 ครั้ง เพื่อย้ายโฟกัสไปที่ วัตถุนำร่อง กด 2 ครั้งเพื่อย้ายลูกศรไปที่แถบทบทวน รายงานมิติวัตถุนำร่อง | NVDA+numpadDelete | NVDA+delete | ไม่มี | รายงานมิติของวัตถุนำร่องเป็นเปอร์เซ็นต์ (รวมระยะจากทางด้านซ้ายและด้านบนของหน้าจอตลอด จนความกว้างและความสูงของวัตถุ) กดสองครั้งเพื่อข้อมูลเพิ่มเติม
หมายเหตุ: การใช้คำสั่งที่แป้นตัวเลขต้องกดปุ่ม numlock ให้เป็น off ก่อนจึงจะสามารถใช้คำสั่งต่างๆ ได้
5.5 การทบทวนข้อความ
NVDA ช่วยให้คุณสามารถอ่านเนื้อหาของ หน้าจอ, เอกสารปัจจุบัน หรือ วัตถุปัจจุบัน โดยอ่านเป็นตัวอักษร คำ หรือบรรทัด ซึ่งการทบทวนข้อความนี้จะมีประโยชน์ในที่ซึ่งไม่สามารถใช้ ลูกศร ได้ รวมถึงใน Windows command console ซึ่งไม่สามารถใช้ลูกศรได้เช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจจะใช้เพื่อทบทวรข้อความที่มีความยาวในกล่องโต้ตอบ เป็นต้น
เมื่อคุณเลื่อนแถบทบทวนลูกศรจะไม่เลื่อนตามแถบทบทวนไปด้วย ดังนั้นคุณสามารถทบทวนข้อความโดยไม่ต้องออกจากตำแหน่งที่คุณกำลังทำงานอยู่ แต่อย่างไรก็ตามค่าเริ่มต้นกำหนดไว้ว่า เมื่อลูกศรมีการเคลื่อนไหว แถบทบทวนจะเลื่อนตามไปด้วย ค่าเริ่มต้นนี้สามารถสลับการเปิดและปิดได้
หมายเหตุ: ค่าเริ่มต้นในแถบอักษรเบรลล์ถูกตั้งให้เคลื่อนย้ายตาม โฟกัส และ ลูกศร ถ้าคุณต้องการให้แถบอักษรเบรลล์เคลื่อนย้ายตามวัตถุนำร่องและแถบทบทวนข้อความ คุณจำเป็นต้อง ตั้งค่าเบรลล์ ไว้ที่ทบทวน
ใช้คำสั่งต่อไปนี้เพื่อทบทวนข้อความ
ชื่อ | คำสั่งเดสทอพ | คำสั่งแล็ปท็อป | การสัมผัส | คำอธิบาย ---------- | ---------- | ---------- | ---------- | ---------- เลื่อนไปยังบรรทัดบนสุด | shift+numpad7 | NVDA+control+home | ไม่มี | เลื่อนแถบทบทวนไปยังบรรทัดแรกของหน้า เลื่อนไปบรรทัดก่อนหน้าในแถบทบทวน | numpad7 | NVDA+ลูกศรขึ้น | หนึ่งนิ้วปัดขึ้น (โหมดข้อความ) | เลื่อนแถบทบทวนไปบรรทัดก่อนหน้า ทบทวนบรรทัดปัจจุบัน | numpad8 | NVDA+shift+dot | ไม่มี | อ่านบรรทัดปัจจุบันของแถบทบทวน กด 2 ครั้งเพื่อสะกดบรรทัดนั้น กด 3 ครั้งเพื่อสะกดแบบรายละเอียดตัวอักษร (เช่น e=echo g=golf) ทบทวนบรรทัดถัดไป | numpad9 | NVDA+ลูกศรลง | หนึ่งนิ้วปัดลง (โหมดข้อความ) | เลื่อนแถบทบทวนไปยังบรรทัดถัดไป ทบทวนบรรทัดล่างสุด | shift+numpad9 | NVDA+control+end | ไม่มี | เลื่อนแถบทบทวนไปยังบรรทัดล่างสุดของหน้า ทบทวนคำก่อนหน้า | numpad4 | NVDA+control+ลูกศรซ้าย | สองนิ้วปัดซ้าย(โหมดข้อความ) | เลื่อนแถบทบทวนไปยังคำก่อนหน้า ทบทวนคำปัจจุบัน | numpad5 | NVDA+control+dot | ไม่มี | อ่านคำปัจจุบันของแถบทบทวน กด 2 ครั้งเพื่อสะกดคำ กด 3 ครั้ง เพื่อสะกดแบบคำอธิบายตัวอักษร ทบทวนคำถัดไป | numpad6 | NVDA+control+ลูกศรขวา | สองนิ้วปัดขวา (โหมดข้อความ) | เลื่อนแถบทบทวนไปยังคำถัดไป ทบทวนต้นบรรทัด | shift+numpad1 | NVDA+home | ไม่มี | เลื่อนแถบทบทวนไปต้นบรรทัด ทบทวนตัวอักษรก่อนหน้า | numpad1 | NVDA+ลูกศรซ้าย | หนึ่งนิ้วปัดซ้าย (โหมดข้อความ) | เลื่อนแถบทบทวนไปตัวอักษรก่อนหน้าในบรรทัดเดียวกัน ทบทวนตัวอักษรปัจจุบัน | numpad2| NVDA+dot | ไม่มี | อ่านตัวอักษรปัจจุบันของแถบทบทวน กด 2 ครั้ง เพื่ออ่านแบบรายละเอียดตัวอักษร กด 3 ครั้ง อ่านค่าตัวอักษรเป็นทศนิยมและเลขฐาน 16 ทบทวนตัวอักษรถัดไป | numpad3 | NVDA+ลูกศรขวา | หนึ่งนิ้วปัดขวา (โหมดข้อความ) | เลื่อนแถบทบทวนไปตัวอักษรถัดไปในบรรทัดเดียวกัน ทบทวนท้ายบรรทัด | shift+numpad3 | NVDA+end | ไม่มี | เลื่อนแถบทบทวนไปท้ายบรรทัด อ่านแถบทบทวนทั้งหมด | numpadPlus | NVDA+shift+a | สามนิ้วปัดลง(โหมดข้อความ) | อ่านจากตำแหน่งของแถบทบทวนจนถึงตำแหน่งสุดท้ายที่แถบทบทวน สามารถเข้าถึงได้ เริ่มคัดลอกแถบทบทวน | NVDA+f9 | NVDA+f9 | ไม่มี | เริ่มเลือกข้อความที่จะคัดลอกจากตำแหน่งปัจจุบันของแถบทบทวน การคัดลอกจะยังไม่เริ่มจนกว่าคุณจะกำหนดให้ NVDA รู้ว่าจะคัดลอกถึงตำแหน่งใด คัดลอกแถบทบทวน | NVDA+f10 | NVDA+f10 | ไม่มี | การกดคำสั่งนี้ครั้งแรกเป็นการกำหนดตำแหน่งปัจจุบันของแถบทบทวนเป็นจุดสิ้นสุดข้อความที่จะคัดลอก กดคำสั่งนี้ 2 ครั้ง เพื่อคัดลอกข้อความไปยังคลิปบอร์ด รายงานรูปแบบตัวอักษร | NVDA+f | NVDA+f | ไม่มี | รายงานการจัดรูปแบบของข้อความที่แถบทบทวนอยู่ในปัจจุบัน กด 2 ครั้ง เพื่อแสดงข้อมูลในเบราส์โหมด
หมายเหตุ: การใช้คำสั่งที่แป้นตัวเลขต้องกดปุ่ม numlock ให้เป็น off ก่อนจึงจะสามารถใช้คำสั่งต่างๆ ได้
วิธีที่ดีที่สุดในการจำคำสั่งแถบทบทวนแบบเดสก์ทอปคือ การจินตนาการถึงตารางที่มี 3 แถว แถวละ 3 สดมภ์ ในแนวตั้งให้จินตนาการเรียงลำดับดังนี้ บรรทัด คำ ตัวอักษร ในแนวนอนให้จินตนาการถึงก่อนหน้า ปัจจุบัน และถัดไป ตามตารางต่อไปนี้
บรรทัดก่อนหน้า | บรรทัดปัจจุบัน | บรรทัดถัดไป คำก่อนหน้า | คำปัจจุบัน | คำถัดไป ตัวอักษรก่อนหน้า | ตัวอักษรปัจจุบัน | ตัวอักษรถัดไป
5.6 โหมดการทบทวน
ใน NVDA รุ่นใหม่มีการเพิ่มโหมดการทบทวนเข้ามาแทน flat review ที่คุณพบใน NVDA รุ่น เก่าๆ โดยมีการพัฒนาให้คำสั่ง การทบทวนข้อความ ช่วยให้คุณสามารถทบทวนเนื้อหาที่อยู่ใน วัตถุนำร่อง เนื้อหาในเอกสาร หรือเนื้อหาที่อยู่บนหน้าจอได้ ซึ่งการทบทวนในส่วนเหล่านี้จะขึ้นอยู่กับโหมดการทบทวนที่คุณเลือก
ใช้คำสั่งต่อไปนี้เพื่อสลับระหว่างโหมดการทบทวน
ชื่อ | คำสั่งเดสทอพ | คำสั่งแล็ปท็อป | การสัมผัส | คำอธิบาย ---------- | ---------- | ---------- | ---------- | ---------- ไปยังโหมดการทบทวนต่อไป | NVDA+numpad7 | NVDA+pageUp | 2 นิ้วปัดขึ้น | สลับไปยังโหมดการทบทวนต่อไปถ้ามี ไปยังโหมดการทบทวนก่อนหน้า | NVDA+numpad1 | NVDA+pageDown | 2 นิ้วปัดลง | สลับไปยังโหมดการทบทวนก่อนหน้าถ้ามี
5.6.1 โหมดการทบทวนวัตถุ
ขณะที่คุณอยู่ในโหมดการทบทวนวัตถุคุณสามารถทบทวนเนื้อหาได้เฉพาะใน วัตถุนำร่อง ที่คุณกำลังโฟกัสอยู่เท่านั้น เช่น ในกล่องข้อความหรือวัตถุที่อยู่ในประเภทเดียวกัน เนื้อหาในวัตถุเหล่านี้โดยทั่วไปจะเป็นเนื้อหาที่เป็นกลุ่มข้อความ แต่ในวัตถุประเภทอื่นเนื้อหาในวัตถุเหล่านั้นอาจจะเป็นชื่อและหรือการแสดงค่าต่างๆ
5.6.2 โหมดการทบทวนเอกสาร
เมื่อ วัตถุนำร่อง ของคุณโฟกัสอยู่ในเอกสาร เบราส์โหมด เช่น หน้าเว็บ หรือเอกสารที่ซับซ้อนอื่นๆ เช่น เอกสาร Lotus Symphony คุณสามารถใช้คำสั่งสลับโหมดการทบทวนไปยังโหมดการทบทวนเอกสารได้ ในโหมดนี้คุณสามารถทบทวนข้อความในเอกสารได้ทั้งหมด เมื่อคุณสลับจากโหมดการทบทวนวัตถุมาที่โหมดการทบทวนเอกสารรีวิวเคอเซอร์จะอยู่ในตำแหน่งที่วัตถุนำร่องของคุณโฟกัสอยู่ และเมื่อคุณใช้คำสั่ง review เลื่อนไปยังตำแหน่งต่างๆ ในเอกสารของคุณวัตถุนำร่องจะเลื่อนไปในตำแหน่งที่รีวิวเคอเซอร์ของคุณโฟกัสอยู่โดยอัตโนมัติ
หมายเหตุ: NVDA จะเปลี่ยนจากโหมดการทบทวนวัตถุเป็นโหมดการทบทวนเอกสารโดยอัตโนมัติเมื่อคุณเลื่อนเคอเซอร์ในเอกสาร เบราส์โหมด
5.6.3 โหมดการทบทวนหน้าจอ
โหมดการทบทวนหน้าจอช่วยให้คุณสามารถทบทวนข้อความใน application ที่ปรากฏอยู่บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ของคุณได้ โหมดนี้จะคล้ายกับการทำงานของการทบทวนหน้าจอหรือเมาส์เคอเซอร์ของโปรแกรมอ่านหน้าจออื่นๆ บนระบบปฏิบัติการ Windows เมื่อคุณสลับมาใช้โหมดการทบทวนหน้าจอรีวิวเคอเซอร์จะอยู่บนหน้าจอตำแหน่งเดียวกับวัตถุนำร่องของคุณ และเมื่อคุณใช้คำสั่ง review เลื่อนไปยังตำแหน่งต่างๆ บนหน้าจอ วัตถุนำร่องจะเลื่อนไปในตำแหน่งที่รีวิวเคอเซอร์ของคุณโฟกัสอยู่โดยอัตโนมัติ
หมายเหตุ: ใน application ใหม่ๆ บางตัว NVDA จะไม่สามารถอ่านข้อความบางส่วนหรือทั้งหมดใน application นั้นได้ เนื่องจาก application เหล่านั้นใช้เทคโนโลยี screen drawing ที่ใหม่กว่าที่ NVDA สามารถรองรับได้ในขณะนี้
5.7 การนำร่องด้วยเมาส์
เมื่อคุณเคลื่อนไหวเมาส์ไปยังวัตถุ NVDA จะรายงานข้อความที่อยู่ใต้ตัวชี้เมาส์เป็นค่าเริ่มต้น NVDA จะอ่านย่อหน้าที่อยู่รอบๆ ในข้อความที่รองรับ แม้ว่าในตัวควบคุมบางตัวจะอ่านเฉพาะบรรทัดเท่านั้น
NVDA ยังสามารถตั้งค่าให้อ่านประเภทของ วัตถุ ที่อยู่ใต้เมาส์เวลาที่เมาส์เลื่อนผ่าน (เช่น list หรือ ปุ่ม เป็นต้น) การนำร่องด้วยเมาส์อาจเป็นประโยชน์กับผู้ใช้ที่พิการทางสายตาหากในบาง ครั้งการอ่านข้อความไม่เพียงพอที่จะทำความเข้าใจได้
NVDA มีวิธีที่จะทำให้ผู้ใช้เข้าใจตำแหน่งที่เมาส์ตั้งอยู่ โดยอาศัยความสัมพันธ์กับมิติของหน้าจอโดยการแสดงพิกัดของเมาส์เป็นเสียงบี๊บ เมื่อเมาส์เลื่อนไปในตำแหน่งที่สูงขึ้นบนหน้าจอเสียงบี๊บที่ดังขึ้นเวลาผู้ใช้เลื่อน เมาส์จะมีระดับเสียงที่สูงขึ้น ถ้าผู้ใช้เลื่อนเมาส์ไปทางซ้ายหรือขวาของหน้าจอเสียงบี๊บก็จะเลื่อนไปทางซ้ายและขวาด้วยถ้าหากผู้ใช้มีลำโพงหรือหูฟังที่เป็นระบบเสียงสเตอริโอ
คุณสมบัติพิเศษของเมาส์ไม่ได้กำหนดไว้เป็นค่าเริ่มต้น หากคุณต้องการจะใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติเหล่านี้คุณสามารถกำหนดค่าได้ที่ การตั้งค่าเมาส์ ในเมนูการตั้งค่าของ NVDA
แม้ว่าเมาส์หรือ trackpad จะสามารถใช้นำร่องได้ NVDA ก็มีคำสั่งที่สัมพันธ์กับการใช้เมาส์ดังนี้
ชื่อ | คำสั่งเดสทอพ | คำสั่งแล็ปท็อป | คำอธิบาย ---------- | ---------- | ---------- | ---------- คลิกเมาส์ปุ่มซ้าย | numpadDivide | NVDA+[ | คลิกเมาส์ปุ่มซ้าย1 ครั้ง หากต้องการคลิกเมาส์ 2 ครั้ง ให้กดคำสั่ง 2 ครั้ง เร็วๆ ล็อคเมาส์ปุ่มซ้าย | shift+numpadDivide | NVDA+control+[ | ล็อคปุ่มซ้ายของเมาส์ กดอีกครั้งเพื่อปล่อย (จำลองการกดปุ่มซ้ายของเมาส์ค้างไว้ กดคำสั่งครั้งที่ 2 เป็น การปล่อยเมาส์) ถ้าต้องการลากเมาส์ใช้คำสั่งนี้เพื่อล็อคปุ่มซ้ายแล้วเลื่อนเมาส์หรือใช้คำสั่งของ NVDA เพื่อเลื่อนเมาส์ก็ได้ คลิกเมาส์ปุ่มขวา | numpadMultiply | NVDA+] | คลิ๊กเมาส์ปุ่มขวาหนึ่งครั้ง ล็อคเมาส์ปุ่มขวา | shift+numpadMultiply | NVDA+control+] | ล็อคปุ่มขวาของเมาส์ กดอีกครั้งเพื่อปล่อย (จำลองการกดปุ่มขวาของเมาส์ค้างไว้ กดคำสั่งครั้งที่ 2 เป็นการปล่อยเมาส์) ถ้าต้องการลากเมาส์ใช้คำสั่งนี้เพื่อล็อคปุ่มขวาแล้วเลื่อนเมาส์หรือใช้คำสั่งของ NVDA เพื่อเลื่อนเมาส์ก็ได้ เลื่อนเมาส์ไปที่วัตถุนำร่องปัจจุบัน | NVDA+numpadDivide | NVDA+shift+m | เลื่อนเมาส์ไปยังตำแหน่งของวัตถุนำร่องปัจจุบันและแถบทบทวน นำร่องไปยังวัตถุที่อยู่ภายใต้เมาส์ | NVDA+numpadMultiply | NVDA+shift+n | นำวัตถุนำร่องไปยังวัตถุที่ตั้งอยู่ที่ตำแหน่งของเมาส์
6. เบราส์โหมด
เอกสารที่ใช้สำหรับอ่านเท่านั้น (read-only) ที่ซับซ้อน ตัวอย่างเช่นหน้าเว็บเพจ จะถูกเรียกดูด้วย NVDA โดยเบราส์โหมด (browse mode) รวมไปถึงเอกสารในโปรแกรม Mozilla Firefox, Microsoft Internet Explorer, ข้อความ HTML ใน Microsoft Outlook, Google Chrome, Adobe Reader และ Adobe Flash และเบราส์โหมดยังเป็นตัวเลือกที่ใช้ได้สำหรับเอกสาร Microsoft Word อีกด้วย
ในเบราส์โหมดเนื้อหาของเอกสารจะถูกทำให้กลายเป็นการนำเสนออย่างเรียบง่าย และสามารถใช้เคอเซอร์คีย์เพื่อสำรวจได้ราวกับว่ามันเป็นข้อความปกติ และระบบเครื่องหมายใน NVDA ก็จะสามารถทำงานได้ทั้งหมดในโหมดนี้ เช่น พูดทุกข้อมูล, รายงานการจัดรูปแบบ, คำสั่งนำทางในตาราง ฯลฯ
ข้อมูลต่างๆ ตัวอย่างเช่น แม้ว่าจะเป็น ข้อความที่เป็น link, heading, ฯลฯ ก็จะรายงานไปพร้อมๆ กับข้อความอื่นๆ ในขณะที่คุณสำรวจ
บางครั้งคุณอาจต้องการมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับส่วนควบคุมของเอกสารเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการกรอกข้อมูลลงในช่องกรอกข้อมูล (edit field) เพื่อที่คุณจะสามารถพิมพ์ตัวอักษรและใช้เคอเซอร์ในการควบคุมได้ คุณจะต้องสลับไปยังโฟกัสโหมด ในโหมดนี้คีย์เกือบทั้งหมดจะถูกส่งผ่านไปยังการควบคุม ในค่าเริ่มต้น เมื่ออยู่ในเบราส์โหมดNVDA จะสลับไปยังโฟกัสโหมดโดยอัตโนมัติ ถ้าคุณ กด tab ไปยังส่วนที่จำเป็นต้องใช้ หรือคลิกที่ส่วนนั้น และทางตรงกันข้าม หากคุณกด tab ออกมาจากส่วนนั้น หรือคลิกในส่วนที่ไม่ใช่ส่วนที่สามารถใช้งานโฟกัสโหมดได้ NVDA ก็จะกลับสู่เบราส์โหมด คุณสามารถกด enter หรือ space bar ในส่วนที่ต้องการเข้าสู่โฟกัสโหมดได้ และกด escape เพื่อกลับมายังเบราส์โหมดอีกครั้ง นอกจากนี้คุณยังสามารถบังคับให้ NVDA อยู่ในโฟกัสโหมด ซึ่งมันจะมีผลอยู่จนกระทั่งคุณปิดการใช้งานมัน
ชื่อ | คำสั่ง | คำอธิบาย --------- | --------- | --------- สลับระหว่างเบราส์กับโฟกัสโหมด | NVDA+space bar | กดเพื่อสลับการใช้งานระหว่างเบราส์โหมดและโฟกัสโหมด ออกจากโฟกัสโหมด | escape | กลับไปยังเบราส์โหมดในกรณีที่ถูกสลับไปยังโฟกัสโหมดโดยอัตโนมัติ refresh เอกสารในเบราส์โหมด | NVDA+F5 | โหลดเนื้อหาของเอกสารปัจจุบันใหม่ (มีประโยชน์หากเนื้อหาบางอย่างที่ดูเหมือนว่าจะหายไปจากเอกสาร) ค้นหา | NVDA+Control+F | เรียกกล่องโต้ตอบที่คุณสามารถพิมพ์ข้อความที่ต้องการค้นหาในเอกสารปัจจุบัน ค้นหาถัดไป | NVDA+F3 | ไปยังตำแหน่งถัดไปของสิ่งที่คุณค้นหาในคำสั่งก่อนหน้านี้ ค้นหาย้อนกลับ | NVDA+Shift+F3 | ไปยังตำแหน่งก่อนหน้าของสิ่งที่คุณค้นหาในคำสั่งก่อนหน้านี้ เปิดคำอธิบายยาว | NVDA+d | เปิดหน้าต่างใหม่ที่มีคำอธิบายยาวสำหรับองค์ประกอบที่คุณอยู่ถ้ามันมี
6.1 การสำรวจโดยใช้ตัวอักษร
เมื่อคุณอยู่ในเบราส์โหมด เพื่อการสำรวจที่รวดเร็วขึ้น NVDA จึงกำหนดให้การกดตัวอักษรดังต่อไปนี้ เป็นการข้ามไปยังองค์ประกอบต่างๆ ของเอกสารได้ เมื่อกดตัวอักษรดังต่อไปนี้แล้ว มันจะกระโดดไปยังองค์ประกอบในตำแหน่งถัดไปที่เป็นไปได้ และในกรณีที่เพิ่มปุ่ม Shift เข้าไปด้วย มันจะกระโดดไปยังองค์ประกอบนั้นๆ ในตำแหน่งก่อนหน้า
- h: heading
- l list
- i: list item
- t: table
- k: link
- n: nonLinked text
- f: form field
- u: unvisited link
- v: visited link
- e: edit field
- b: button
- x: checkbox
- c: combo box
- r: radio button
- q: block quote
- s: separator
- m: frame
- g: graphic
- d: landmark
- o: embedded object
- 1 to 6: headings levels 1 to 6 ตามลำดับ
- A: คำอธิบายประกอบ (ความคิดเห็น, ลำดับชั้นการแก้ไข ฯลฯ )
- w: การตรวจการสะกด
หากต้องการเคลื่อนย้ายไปยัง จุดเริ่มต้น หรือจุดสุดท้ายภายในองค์ประกอบ เช่นรายการ และตาราง:
ชื่อ | คำสั่ง | คำอธิบาย --------- | --------- | --------- ย้ายไปยังส่วนต้นขององค์ประกอบ | Shift+comma | กระโดดไปยังตอนต้นขององค์ประกอบ เช่น list หรือ table ย้ายออกจากองค์ประกอบ | comma | กดเพื่อข้ามออกจากองค์ประกอบเช่น list หรือ table
ในบางเว็บไซต์ เช่น Gmail, Twitter และ Facebook ใช้ตัวอักษรเดียวเป็นปุ่มลัด ในการสั่งงานฟีเจอร์บนหน้าเว็บ หากคุณต้องการที่จะใช้ฟีเจอร์เหล่านั้น ในขณะที่ยังคงความสามารถในการใช้แป้นเคอร์เซอร์ของคุณสำหรับอ่านในเบราส์โหมด คุณสามารถกดปุ่ม NVDA+shift+space bar เพื่อปิดการใช้งานการสำรวจด้วยตัวอักษรชั่วคราวสำหรับหน้าเอกสารนั้นๆ ได้
6.2 รายการองค์ประกอบ
รายการองค์ประกอบ เป็นฟีเจอร์ที่จะช่วยให้คุณเข้าถึง links, headings, หรือ landmarks ในเอกสารได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยเมื่อคุณเรียกหน้าต่างรายการองค์ประกอบขึ้นมา จะมี radio button ให้คุณเลือกระหว่างการค้นหาองค์ประกอบทั้งสามอย่างขั้นต้น เมื่อคุณเลือกประเภทขององค์ประกอบแล้ว ช่องถัดไปจะเป็นรายการขององค์ประกอบชนิดนั้นๆ ทั้งหมดที่มีอยู่ในหน้าเอกสารที่คุณเปิดอยู่
ในตำแหน่งถัดไปจะเป็นกล่องป้อนข้อมูล (filter by) ที่เอาไว้กรองชื่อของผลการค้นหาได้ ตัวอย่างเช่น คุณเลือกที่จะค้นหา headings หากกรอกคำว่า object ในช่องนี้แล้ว ในราการที่แสดงก็จะแสดงเฉพาะ headings ที่มีคำว่า object ขึ้นมาให้นั่นเอง
เมื่อคุณเลือกผลการค้นหาที่ต้องการได้แล้ว ในหน้าต่างนี้ก็จะมี activate button และ move to button เพื่อให้คุณเลือกว่าจะเปิดใช้งานหรือย้ายไปยังองค์ประกอบนั้นๆ
ชื่อ | คำสั่ง | คำอธิบาย --------- | --------- | --------- โหมดเรียกดูรายการองค์ประกอบ | NVDA+F7 | รวบรวมองค์ประกอบในหน้าเอกสารนั้นๆ ขึ้นมาแสดง ได้แก่ links, headings และ landmarks
6.3 วัตถุฝังตัว
ในหน้าของเอกสารสามารถรวมเนื้อหาที่หลากหลายโดยใช้เทคโนโลยีเช่น Adobe Flash และ Sun Java เช่นเดียวกับการใช้งานและการโต้ตอบ ซึ่งเราจะพบวัตถุฝังตัวเหล่านี้ได้ในเบราส์โหมด และ NVDA จะอ่านว่า "object", "application" หรือ "dialog" คุณสามารถกด enter บนวัตถุเหล่านี้เพื่อที่จะใช้งานมัน (ถ้ามันสามารถเข้าถึงได้) แล้วคุณก็สามารถสำรวจมันไปรอบ ๆ และมีปฏิสัมพันธ์กับมันได้เหมือนโปรแกรมอื่นๆ
คำสั่งที่สำคัญสำหรับการกลับไปยังหน้าเดิมที่มีวัตถุที่ฝังตัว:
ชื่อ | คำสั่ง | คำอธิบาย --------- | --------- | --------- กลับไปยังเบราส์โหมดในเอกสารเดิม | NVDA+Control+space bar | ออกจากวัตถุฝังตัวและกลับสู่เอกสารในเบราส์โหมดแบบปกติ
7. การอ่านเนื้อหาทางคณิตศาสตร์
NVDA สามารถรองรับการอ่านและโต้ตอบการนำร่องเนื้อหาทางคณิตศาสตร์ได้โดยการใช้โปรแกรม MathPlayer 4 ซึ่งเป็นโปรแกรมที่พัฒนาโดย Design Science โดยผู้ใช้จะต้องติดตั้ง MathPlayer 4 บนคอมพิวเตอร์ คุณสามารถดาวน์โหลด MathPlayer ได้ฟรีที่ http://www.dessci.com/en/products/mathplayer/
NVDA รองรับประเภทของเนื้อหาทางคณิตศาสตร์ต่อไปนี้
- MathML ใน Mozilla Firefox และ Microsoft Internet Explorer
- Design Science MathType ใน Microsoft Word และ PowerPoint ซึ่งคุณจะต้องติดตั้ง MathType ซึ่งเป็นส่วนเสริมที่ต้องซื้อ แต่ในการใช้งานรุ่นทดลองก็เพียงพอ
- MathML ใน Adobe Reader โปรดทราบว่า ปัจจุบันนี้ยังไม่มีการเผยแพร่ซอฟต์แวร์ที่สามารถแสดงเนื้อหาทางคณิตศาสตร์ต่อสาธารณะ ดังนั้นซอฟต์แวร์เหล่านี้ยังไม่ใช่ซอฟต์แวร์มาตรฐานที่เป็นทางการ
เมื่อคุณอ่านเอกสารซึ่งมีเนื้อหาทางคณิตศาสตร์ปรากฏอยู่ NVDA จะอ่านเนื้อหาเหล่านั้น และถ้าหากคุณใช้ braille display เนื้อหาทางคณิตศาสตร์เหล่านั้นจะแสดงผลเป็นอักษรเบรลล์ด้วย
7.1 การโต้ตอบการนำร่อง
ถ้าคุณใช้การอ่านของ NVDA เป็นหลัก ในกรณีนี้คุณอาจจะต้องการตรวจสอบการแสดงผลเป็นกลุ่มเล็กๆ มากกว่าที่จะต้องการได้ยินการแสดงผลทั้งหมดในครั้งเดียว
ถ้าคุณอยู่ในเบราส์โหมดคุณสามารถตรวจสอบการแสดงผลเป็นกลุ่มเล็กๆ ได้โดยการเลื่อนเคอร์เซอร์ไปที่เนื้อหาทางคณิตศาสตร์แล้วกด enter
ถ้าคุณไม่ได้อยู่ในเบราส์โหมด
- เลื่อนแถบทบทวนไปยังเนื้อหาทางคณิตศาสตร์ โดยปกติแล้วแถบทบทวนจะเลื่อนตามการเคลื่อนที่ของลูกศร ดังนั้นคุณอาจจะใช้ลูกศรเลื่อนไปยังเนื้อหาที่คุณต้องการได้
- หลังจากนั้นใช้คำสั่งต่อไปนี้
ชื่อ | คำสั่ง | คำอธิบาย ---------- | ---------- | ---------- โต้ตอบกับเนื้อหาทางคณิตศาสตร์ | NVDA+alt+m | เริ่มต้นการโต้ตอบกับเนื้อหาทางคณิตศาสตร์
ในส่วนนี้คุณสามารถใช้คำสั่งของ MathPlayer เช่น ลูกศร เพื่อสำรวจการแสดงผลได้ ยกตัวอย่างเช่น คุณสามารถใช้ลูกศรซ้ายและขวาเลื่อนไปตามการแสดงผล และซูมเข้าไปในส่วนหนึ่งของการแสดงผล เช่น เศษส่วน โดยใช้ลูกศรลง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดดูเอกสารของ MathPlayer
เมื่อคุณต้องการกลับไปยังเอกสารของคุณให้กดปุ่ม escape
8. Braille
หากคุณเป็นเจ้าของเครื่องแสดงผลด้วยอักษรเบรลล์ ( braille display) NVDA สามารถแสดงผลด้วยอักษรเบรลล์ได้ และถ้าหากเครื่องแสดงอักษรเบรลล์ของคุณ มีคีย์บอร์ดในรูปแบบ Perkins คุณก็จะสามารถป้อนคำสั่งในแบบตัวเต็มหรือแบบตัวย่อได้
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องแสดงผลด้วยอักษรเบรลล์ที่รองรับได้ในส่วนของ เครื่องแสดงผลด้วยอักษรเบรลล์ที่รองรับ
และคุณสามารถกำหนดค่าการแสดงผลด้วยอักษรเบรลล์ของ NVDA ได้จาก หน้าต่างการตั้งค่าเบรลล์
8.1. Control Type, State and Landmark abbreviations
In order to fit as much information as possible on a braille display, the following abbreviations have been defined to indicate control type and state as well as landmarks.
Abbreviation | Control type |
---|---|
app | application |
bqt | block quote |
btn | button |
drbtn | drop down button |
spnbtn | spin button |
splbtn | split button |
tgbtn | toggle button |
cbo | combo box |
chk | checkbox |
dlg | dialog |
doc | document |
edt | editable text field |
pwdedt | password edit |
embedded | embedded object |
enote | end note |
fnote | foot note |
gra | graphic |
grp | grouping |
hN | heading at level n, e.g. h1, h2. |
hlp | help baloon |
lmk | landmark |
lnk | link |
vlnk | visited link |
lst | list |
mnu | menu |
mnubar | menu bar |
mnubtn | menu button |
mnuitem | menu item |
pnl | panel |
prgbar | progress bar |
rbtn | radio button |
scrlbar | scroll bar |
sect | section |
stbar | status bar |
tabctl | tab control |
tbl | table |
cN | table column number n, e.g. c1, c2. |
rN | table row number n, e.g. r1, r2. |
term | terminal |
tlbar | tool bar |
tltip | tool tip |
tv | tree view |
tvbtn | tree view button |
tvitem | tree view item |
lv N | a tree view item has a hierarchical level N| |
wnd | window |
⠤⠤⠤⠤⠤ | separator |
The following state indicators are also defined:
Abbreviation | Control state |
---|---|
... | displayed when an object supports autocompletion |
⢎⣿⡱ | displayed when an object (e.g. a toggle button) is pressed |
⢎⣀⡱ | displayed when an object (e.g. a toggle button) is not pressed |
⣏⣿⣹ | displayed when an object (e.g. a checkbox) is checked |
⣏⣸⣹ | displayed when an object (e.g. a checkbox) is half checked |
⣏⣀⣹ | displayed when an object (e.g. a checkbox) is not checked |
- | displayed when an object (e.g. a tree view item) is collapsible |
+ | displayed when an object (e.g. a tree view item) is Expandable |
* | displayed when a protected control or document is encountered |
clk | displayed when an object is clickable |
cmnt | displayed when there is a comment for a spreadsheet cell or piece of text in a document |
frml | displayed when there is a formula on a spreadsheet cell |
invalid | displayed when an invalid entry has been made |
ldesc | displayed when an object (usually a graphic) has a long description |
mln | displayed when an edit field allows typing multiple lines of text such as comment fields on websites |
req | displayed when a required form field is encountered |
ro | displayed when an object (e.g. an editable text field) is read-only |
sel | displayed when an object is selected |
nsel | displayed when an object is not selected |
sorted asc | displayed when an object is sorted ascending |
sorted desc | displayed when an object is sorted descending |
submnu | displayed when an object has a popup (usually a sub-menu) |
Finally, the following abbreviations for landmarks are defined:
Abbreviation | Landmark |
---|---|
bnnr | banner |
cinf | content info |
cmpl | complementary |
form | form |
main | main |
navi | navigation |
srch | search |
rgn | region |
8.2 การป้อนข้อมูลด้วยอักษรเบรลล์
NVDA supports entry of both uncontracted and contracted braille via a braille keyboard. You can select the translation table used to translate braille into text using the Input table setting in the Braille Settings dialog.
When uncontracted braille is being used, text is inserted as soon as it is entered. When using contracted braille, text is inserted when you press space or enter at the end of a word. Note that translation can only reflect the braille word you are typing and cannot consider existing text. For example, if you are using a braille code that begins numbers with a number sign and you press backspace to move to the end of a number, you will need to type the number sign again to enter additional numbers.
Pressing dot 7 erases the last entered braille cell or character. Dot 8 translates any braille input and presses the enter key. Pressing dot 7 + dot 8 translates any braille input, but without adding a space or pressing enter.
9. Content Recognition
ในบางครั้ง ผู้ทำเอกสารหรือเว็บไซต์อาจแสดงข้อความต่างๆ เป็นรูปภาพ ซึ่งทำให้ผู้ใช้โปรแกรมอ่านหน้าจอไม่สามารถเข้าถึงข้อความเหล่านั้นได้ แต่ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่เรียกว่า optical character recognition หรือ OCR ที่สามารถแปลงตัวอักษร ตัวเลข หรือสัญลักษณ์ต่างๆ ในรูปภาพให้อยู่ในรูปแบบของ text และทำให้โปรแกรมอ่านหน้าจอสามารถเข้าถึงข้อความดังกล่าวได้ โดยได้มีผู้พัฒนาเครื่องมือที่ใช้เทคโนโลยี OCR ออกมามากมาย เช่น ในส่วนเสริม NVDA เป็นต้น ในระบบปฏิบัติการ Windows 10 ก็ได้มีการเพิ่ม OCR เข้ามาให้ใช้งานด้วยเช่นเดียวกัน โดยผู้ใช้ NVDA สามารถใช้ Windows 10 OCR ได้ทันทีโดยไม่ต้องลงส่วนเสริมเพิ่มเติม
เมื่อคุณใช้คำสั่ง content recognition NVDA จะแปลงข้อความจากรูปภาพในตำแหน่งปัจจุบันของ วัตถุนำร่อง ซึ่งโดยค่าเริ่มต้น วัตถุนำร่องจะอยู่ในตำแหน่งเดียวกับตำแหน่งปัจจุบันของโฟกัสหรือเคอร์เซอร์เบราส์โหมด ดังนั้น คุณสามารถเลื่อนโฟกัสหรือเคอร์เซอร์เบราส์โหมดไปยังรูปภาพที่คุณต้องการ และใช้คำสั่ง Content Recognition ได้ทันที อย่างไรก็ตาม คุณอาจจะเลื่อนวัตถุนำร่องไปยังตำแหน่งที่ต้องการ และใช้คำสั่ง Content Recognition ได้เช่นเดียวกัน เช่น แปลงข้อความทั้งหมดจากหน้าต่าง Application เป็นต้น
เมื่อการแปลงข้อความจากภาพเสร็จเรียบร้อย NVDA จะแสดงข้อความที่แปลงได้ในหน้าต่างที่เหมือนกับเบราส์โหมดทั่วไป คุณสามารถใช้ลูกศรเลื่อนเพื่ออ่านข้อความดังกล่าวได้ การกดปุ่ม Enter หรือ Space จะเป็นการคลิกข้อความในตำแหน่งปัจจุบันของเคอร์เซอร์เพื่อเปิดการทำงานของรูปภาพที่เป็นตัวควบคุมต่างๆ เท่าที่จะเป็นไปได้ กดปุ่ม Escape เพื่อปิดหน้าต่างดังกล่าว
9.1 Windows 10 OCR
Windows 10 OCR สามารถแปลงข้อความจากรูปภาพได้ในหลายภาษา NVDA สามารถใช้ฟังก์ชันดังกล่าวเพื่อแปลงข้อความจากรูปภาพหรือ application ที่ไม่สามารถเข้าถึงได้
คุณสามารถกำหนดภาษาที่จะใช้แปลงข้อความจากรูปภาพได้ที่ การตั้งค่า Windows 10 OCR
คุณสามารถติดตั้งภาษาที่รองรับการแปลงตัวอักษรจากรูปภาพได้ โดยเข้าไปที่ Start Menu > setting > Time & Language > Region & Language > Add a language และเลือกภาษาที่คุณต้องการ
คุณสามารถเริ่มแปลงข้อความจากรูปภาพในวัตถุนำร่องได้ โดยใช้คำสั่ง NVDA+r
10. คำสั่งเฉพาะโปรแกรม
NVDA มีคำสั่งพิเศษที่ไว้ใช้งานเฉพาะสำหรับบางโปรแกรม เพื่อให้งานบางอย่างทำได้ง่ายขึ้น หรือเพื่อให้เข้าถึงฟังก์ชันการทำงานได้สมบูรณ์ขึ้น สำหรับผู้ใช้งานโปรแกรมอ่านจอภาพ
10.1 Microsoft Word
10.1.1 การอ่านส่วนหัวของสดมภ์และแถวโดยอัตโนมัต
NVDA สามารถอ่านส่วนหัวของสดมภ์และแถวได้โดยอัตโนมัติ เมื่อคุณสำรวจตารางในเอกสาร Microsoft Word ทั้งนี้คุณต้องเปิดการรายงาน Table row/column headers ในเมนู การตั้งค่าการจัดรูปแบบเอกสาร ไว้เสียก่อน รวมถึงเราต้องกำหนดค่าให้กับส่วนหัวของสดมภ์หรือแถวเพื่อให้ NVDA สามารถอ่านได้ด้วย โดยมีวิธีคือ หลังจากที่ย้ายไปเซลล์แรกในสดมภ์หรือแถวที่มีส่วนหัวใช้หนึ่งในคำสั่งต่อไปนี้:
ชื่อ | คำสั่ง | คำอธิบาย --------- | --------- | --------- ตั้งหัวข้อสดมภ์ | NVDA+shift+c | กด 1 ครั้ง เพื่อตั้งค่าให้ NVDA กำหนดช่องตารางปัจจุบันเป็นช่องแรกของแถวซึ่งมีหัวข้อสดมภ์ และ NVDA จะอ่านหัวข้อนี้โดยอัตโนมัติเมื่อมีการนำทางระหว่างสดมภ์ในแถวถัดไป กด 2 ครั้ง เพื่อลบการตั้งค่า ตั้งหัวข้อแถว | NVDA+shift+r | กด 1 ครั้ง เพื่อตั้งค่าให้ NVDA กำหนดช่องตารางปัจจุบันเป็นช่องแรกของสดมภ์ซึ่งมีหัวข้อแถว และ NVDA จะอ่านหัวข้อนี้โดยอัตโนมัติเมื่อมีการนำทางระหว่างแถวในสดมภ์ถัดไป กด 2 ครั้ง เพื่อลบการตั้งค่า
การตั้งค่าเหล่านี้จะถูกเก็บไว้ในเอกสารเป็น book marks ซึ่งเข้ากันได้กับโปรแกรมอ่านจอภาพตัวอื่น ๆ เช่น Jaws ซึ่งหมายความว่าผู้ใช้โปรแกรมอ่านจอภาพตัวอื่น ๆ ที่เปิดเอกสารนี้ในภายหลัง จะมีข้อมูลของส่วนหัวของสดมภ์และแถวกำหนดไว้แล้ว
10.1.2 เบราส์โหมดใน Microsoft Word
เช่นเดียวกันกับการสำรวจหน้าเว็บ ในโปรแกรม Microsoft Word เราก็สามารถใช้งานเบราส์โหมดได้ เพื่อให้คุณสามารถใช้คุณสมบัติเช่นการนำทางอย่างรวดเร็วและรายการองค์ประกอบได้ คุณสามารถเปิดหรือปิดเบราส์โหมดได้โดยกด NVDA + Space bar ดูข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับเบราส์โหมดและการนำทางอย่างรวดเร็วได้ในส่วนของ เบราส์โหมด
10.1.2.1 รายการองค์ประกอบ
ขณะอยู่ในเบราส์โหมดใน Microsoft Word คุณสามารถเข้าถึงรายการองค์ประกอบโดยการกด NVDA + F7 รายการองค์ประกอบสามารถแสดงรายการ Headings, links, annotations (ซึ่งรวมถึงความคิดเห็นและการติดตามการเปลี่ยนแปลง) และการแสดงข้อผิดพลาด (ในปัจจุบันจำกัดแค่การตรวจสอบการสะกด)
10.1.3 การรายงานความคิดเห็น
ในการรายงานความคิดเห็นใด ๆ ที่ตำแหน่งลูกศรปัจจุบันให้กด NVDA + Alt + C ความคิดเห็นทุกความคิดเห็นในเอกสารรวมถึงการเปลี่ยนแปลงที่ถูกติดตามอื่น ๆ นอกจากนี้สามารถดึงขึ้นมาแสดงแบบรวมอยู่ในรายการ เมื่อคุณใช้คำสั่งรายการองค์ประกอบ และเลือกประเภทเป็น Annotations
10.2 Microsoft Excel
10.2.1 การอ่านส่วนหัวของสดมภ์และแถวโดยอัตโนมัต
NVDA สามารถอ่านส่วนหัวของสดมภ์และแถวได้โดยอัตโนมัติ เมื่อคุณสำรวจแผ่นงานใน Microsoft Excel ทั้งนี้คุณต้องเปิดการรายงาน Table row/column headers ในเมนู การตั้งค่าการจัดรูปแบบเอกสาร ไว้เสียก่อน รวมถึงเราต้องกำหนดค่าให้กับส่วนหัวของสดมภ์หรือแถวเพื่อให้ NVDA สามารถอ่านได้ด้วย โดยมีวิธีคือ หลังจากที่ย้ายไปเซลล์แรกในสดมภ์หรือแถวที่มีส่วนหัวใช้หนึ่งในคำสั่งต่อไปนี้:
ชื่อ | คำสั่ง | คำอธิบาย --------- | --------- | --------- ตั้งหัวข้อสดมภ์ | NVDA+shift+c | กด 1 ครั้ง เพื่อตั้งค่าให้ NVDA กำหนดช่องตารางปัจจุบันเป็นช่องแรกของแถวซึ่งมีหัวข้อสดมภ์ และ NVDA จะอ่านหัวข้อนี้โดยอัตโนมัติเมื่อมีการนำทางระหว่างสดมภ์ในแถวถัดไป กด 2 ครั้ง เพื่อลบการตั้งค่า ตั้งหัวข้อแถว | NVDA+shift+r | กด 1 ครั้ง เพื่อตั้งค่าให้ NVDA กำหนดช่องตารางปัจจุบันเป็นช่องแรกของสดมภ์ซึ่งมีหัวข้อแถว และ NVDA จะอ่านหัวข้อนี้โดยอัตโนมัติเมื่อมีการนำทางระหว่างแถวในสดมภ์ถัดไป กด 2 ครั้ง เพื่อลบการตั้งค่า
การตั้งค่าเหล่านี้จะถูกเก็บไว้ในสมุดงานซึ่งเป็นค่าที่เข้ากันได้กับโปรแกรมอ่านจอภาพตัวอื่น ๆ เช่น Jaws ซึ่งหมายความว่าผู้ใช้โปรแกรมอ่านจอภาพตัวอื่น ๆ ที่เปิดเอกสารนี้ในภายหลัง จะมีข้อมูลของส่วนหัวของสดมภ์และแถวกำหนดไว้แล้ว
10.2.2 รายการองค์ประกอบ
คล้ายกับการสำรวจหน้าเว็บ NVDA มีรายการองค์ประกอบสำหรับ Microsoft Excel ที่ช่วยให้คุณสามารถแสดงข้อมูลหลายประเภทให้อยู่ในรูปแบบของรายการ การเข้าถึงรายการองค์ประกอบใน Excel กด NVDA + F7
ประเภทของข้อมูลที่มีอยู่ในรายการองค์ประกอบ ได้แก่ :
- แผนภูมิ: รายการนี้จะแสดงแผนภูมิทั้งหมดในแผ่นงาน เลือกแผนภูมิและกด Enter หรือกดที่ปุ่ม move to เพื่อเข้าถึงแผนภูมิอันนั้น จากนั้นเราก็จะสามารถสำรวจหรืออ่านเนื้อหาด้วยปุ่มลูกศร
- ความคิดเห็น: รายการนี้จะแสดงทุกเซลล์ในแผ่นงานที่มีการแสดงความคิดเห็น โดยจะแสดงหมายเลขของเซลล์ที่มีความคิดเห็นอยู่ และคุณสามารถกด Enter หรือปุ่มmove to เมื่ออยู่บนความคิดเห็น จะเป็นการกระโดดไปยังเซลล์ที่มีความคิดเห็นนั้นทันที
- สูตร: รายการนี้จะแสดงทุกเซลล์ในแผ่นงานที่มีสูตร โดยจะแสดงหมายเลขของเซลล์ที่มีสูตรอยู่ และคุณสามารถกด Enter หรือปุ่มmove to เมื่ออยู่บนสูตรจะเป็นการกระโดดไปยังเซลล์ที่มีสูตรนั้นทันที
- แผ่นงาน: รายการนี้จะแสดงแผ่นงานทั้งหมดในสมุดงาน กด f2 เมื่ออยู่บนหมายเลขแผ่นงาน คุณก็จะสามารถเปลี่ยนชื่อแผ่นงานนั้นได้ กด Enter หรือปุ่ม move to บนหมายเลขของแผ่นงานที่คุณต้องการเข้าถึง ก็จะเป็นการสลับไปยังหน้าของแผ่นงานนั้นให้ทันที
- แบบฟอร์ม: รายการนี้จะแสดงแบบฟอร์มทั้งหมดในแผ่นงาน สำหรับแบบฟอร์มแต่ละอัน รายการองค์ประกอบจะแสดงข้อความประกอบของฟอร์มนั้นๆ พร้อมกับหมายเลขของเซลล์ที่ครอบคลุม เลือกข้อมูลแบบฟอร์มและกด Enter หรือปุ่ม move to เพื่อไปยังช่องนั้นๆ ในเบราส์โหมด
10.2.3 การรายงานความคิดเห็น
ในการรายงานความคิดเห็นใด ๆ ที่เซลล์ปัจจุบันให้กด NVDA + Alt + C ความคิดเห็นทุกความคิดเห็นในแผ่นงาน สามารถดึงขึ้นมาแสดงแบบรวมอยู่ในรายการ เมื่อคุณใช้คำสั่งรายการองค์ประกอบ
10.2.4 การอ่านเซลล์ที่มีการป้องกัน
ถ้าสมุดงานได้รับการป้องกันก็เป็นไปไม่ได้ที่จะย้ายการโฟกัสไปยังเซลล์ใดเซลล์หนึ่งโดยเฉพาะ เนื่องจากเซลล์มีการล็อกเพื่อป้องกันการแก้ไข วิธีย้ายไปยังเซลล์ที่มีการล็อค ให้สลับไปยังเบราส์โหมดโดยการกด NVDA + Space bar จากนั้นก็ให้สำรวจโดยคำสั่งมาตรฐานเช่นปุ่มลูกศรเพื่ออ่านทุกเซลล์บนแผ่นงานปัจจุบัน
10.2.5 แบบฟอร์ม
แผ่นงาน Excel สามารถมีแบบฟอร์มเป็นส่วนประกอบ คุณสามารถเข้าถึงมันโดยใช้ฟีเจอร์รายการองค์ประกอบ หรือ กด F / shift + F (คีย์ลัดสำหรับกระโดดไปยังแบบฟอร์ม)
เมื่อคุณย้ายไปยังแบบฟอร์มในเบราส์โหมด คุณสามารถกด enter หรือ space อย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อจะสลับไปโฟกัสโหมดเพื่อให้คุณสามารถโต้ตอบกับมันขึ้นอยู่กับการควบคุม
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเบราส์โหมดและการสำรวจโดยใช้ตัวอักษรให้ดูที่ส่วนของ เบราส์โหมด
10.3 Microsoft PowerPoint
ชื่อ | คำสั่ง | คำอธิบาย --------- | --------- | --------- สลับการอ่าน speaker notes | control+shift+s | ในการแสดง slide show กดคำสั่งนี้เพื่อสลับการอ่านระหว่าง speaker notes ของ slide และเนื้อหาของ slide คำสั่งนี้มีผลกับการอ่านของ NVDA เท่านั้น ไม่มีผลกับการแสดงผลบนหน้าจอ
10.4 foobar2000
ชื่อ | คำสั่ง | คำอธิบาย --------- | --------- | --------- รายงานเวลาที่เหลืออยู่ | Control+Shift+r | รายงานเวลาที่เหลืออยู่ของแทร็คที่กำลังเล่น (ถ้ามี)
หมายเหตุ: คำสั่งรายงานเวลาที่เหลืออยู่นี้ จะใช้งานได้เฉพาะการตั้งค่ารูปแบบสตริงค์ในบรรทัดสถานะแบบมาตรฐานของโปรแกรม foobar's เท่านั้น
10.5 Miranda IM
ชื่อ | คำสั่ง | คำอธิบาย --------- | --------- | --------- รายงานข้อความล่าสุด | NVDA+Control+1-4 | รายงานข้อความที่เข้ามาล่าสุดข้อความใดข้อความหนึ่ง ขึ้นอยู่กับตัวเลขที่กด เช่น NVDA +Control+2 อ่านข้อความล่าสุดที่สอง
10.6 Poedit
ชื่อ | คำสั่ง | คำอธิบาย --------- | --------- | --------- รายงานหน้าต่างความคิดเห็น | Control+shift+c | รายงานความเห็นใด ๆ ในหน้าต่างความเห็น รายงานหน้าต่างความเห็นโดยอัตโนมัติ | Control+Shift+a | รายงานความเห็นใด ๆ ในหน้าต่างความเห็นโดยอัตโนมัติ
10.7 Skype
คำสั่งต่อไปนี้ใช้ในหน้าต่างการพูดคุย
ชื่อ | คำสั่ง | คำอธิบาย --------- | --------- | --------- ทบทวนข้อความ | NVDA+control+1-0 | อ่านและเลื่อน review เคอร์เซอร์ไปยัง 10 ข้อความล่าสุด ขึ้นอยู่กับเลขที่คุณกด เช่น กด NVDA+control+2 เพื่ออ่านข้อความที่ 2 ของข้อความล่าสุด
10.8 Kindle for PC
NVDA สนับสนุนการอ่านและการสำรวจส่วนต่างๆ ในหนังสือจาก Amazon ด้วยโปรแกรม Kindle for PC ฟังก์ชั่นนี้สามารถใช้ได้เฉพาะในหนังสือ Kindle ที่ระบุว่า "สนับสนุนการอ่านด้วยโปรแกรมอ่านจอภาพ" ซึ่งคุณสามารถตรวจสอบได้จากในหน้ารายละเอียดของหนังสือ
NVDA จะใช้เบราส์โหมดในการอ่านหนังสือ มันจะถูกเรียกใช้โดยอัตโนมัติเมื่อคุณเปิดหนังสือขึ้นมา หรือโฟกัสอยู่ในพื้นที่ของหนังสือ
หน้าหนังสือจะถูกเปิดให้โดยอัตโนมัติ เมื่อเราเลื่อนเคอร์เซอร์หรือใช้คำสั่ง say all คุณสามารถเปลี่ยนหน้าหนังสือได้โดยคำสั่ง page up เพื่อกลับไปยังหน้าก่อน หรือ page down เพื่อไปยังหน้าถัดไป
การนำทางด้วยตัวอักษรสามารถใช้งานได้ เช่นการกระโดดไปยังลิงก์หรือกราฟิก แต่จะใช้ได้เฉพาะในหน้าที่คุณกำลังอ่านอยู่เท่านั้น การกระโดดไปยังลิงก์สำหรับการนำทางด้วยตัวอักษรนี้รวมไปถึงการไปยังเชิงอรรถด้วย
10.8.1 การเลือกข้อความ
Kindle อนุญาตให้คุณสามารถใช้ฟังก์ชันหลายอย่างสำหรับข้อความที่ถูกเลือก เช่น การดูความหมายของคำจากพจนานุกรม, เพิ่มหมายเหตุ ไฮไลท์, คัดลอกข้อความไปยังคลิปบอร์ดและการค้นหาเนื้อหานั้นๆจากเว็บ
วิธีคือเลือกข้อความตามปกติในเบราส์โหมด เช่นโดยการใช้ shift ร่วมกับปุ่มเคอร์เซอร์ เมื่อคุณได้เลือกข้อความแล้วให้กดปุ่ม application หรือ shift + F10 เพื่อแสดงตัวเลือกที่สามารถใช้ได้
ถ้าคุณทำเช่นนี้ขณะที่ไม่ได้เลือกข้อความใดๆ ไว้ ตัวเลือกที่ขึ้นมาจะเป็นการใช้งานกับคำที่เคอร์เซอร์อยู่ ณ ตอนนั้น
10.8.2 หมายเหตุของผู้ใช้
คุณสามารถเพิ่มหมายเหตุ ซึ่งอาจจะเป็นคำหรือข้อความที่ยาวกว่านั้น โดยครั้งแรกเลือกข้อความที่ต้องการและเข้าถึงตัวเลือกจากตัวเลือกดังกล่าวข้างต้น จากนั้นเลือกเพิ่มหมายเหตุ
เมื่ออ่าน ในเบราส์โหมด NVDA จะอ้างอิงหมายเหตุว่าหมายถึงความคิดเห็น
การดู, แก้ไข, หรือลบหมายเหตุ:
- เลื่อนเคอร์เซอร์ไปที่ข้อความที่มีหมายเหตุ
- เข้าถึงตัวเลือกสำหรับการเลือกดังกล่าวข้างต้น
- เลือก แก้ไขหมายเหตุ
11. การกำหนดค่าต่างๆ ใน NVDA
11.1 การตั้งค่า
คุณสามารถตั้งค่าต่างๆ ใน NVDA ได้โดยใช้กล่องโต้ตอบที่อยู่ใน menu preferences ของ NVDA menu ขณะที่คุณกำลังตั้งค่าคุณสามารถกดปุ่ม ok เพื่อยืนยันการตั้งค่า หรือกดปุ่ม cancel หรือ escape เพื่อยกเลิกการตั้งค่า นอกจากการตั้งค่าใน preferences แล้ว คุณยังสามารถใช้คำสั่งลัดเพื่อตั้งค่าบางอย่างได้อีกด้วย ซึ่งจะได้อธิบายต่อไปในส่วนที่เกี่ยวข้องกัน
11.1.1 การตั้งค่าทั่วไป (NVDA+Control+g)
ในการตั้งค่าทั่วไปนี้คุณสามารถกำหนดค่าต่างๆ ของ NVDA ได้ดังนี้
language
คุณสามารถตั้งค่าให้ NVDA แสดงการอ่านข้อความ menu interface ในภาษาที่ NVDA ได้รับการแปลเป็นภาษานั้นๆ ได้ โดยเลือกภาษาที่คุณต้องการจาก combo box อย่างไรก็ตามค่าเริ่มต้นที่ NVDA กำหนดให้คือ User Default Windows ซึ่งหมายถึงให้ NVDA ใช้ภาษาเดียวกับที่ตั้งไว้เป็นค่าเริ่มต้นของ windows (ถ้ามีการแปล NVDA เป็นภาษานั้นแล้ว)
Save Configuration on Exit
ตัวเลือกนี้เป็นช่องทำเครื่องหมาย ถ้าคุณต้องการให้การตั้งค่าต่างๆ ที่คุณได้ทำในขณะใช้ NVDA ถูกบันทึกไว้โดยไม่ต้องเสียเวลามาตั้งค่าใหม่ในทุกครั้งที่คุณใช้ NVDA ให้คุณทำเครื่องหมายที่ช่องนี้
Show exit options when exiting NVDA
หากคุณทำเครื่องหมายที่ช่องนี้ เมื่อคุณปิด NVDA จะมีกล่องโต้ตอบปรากฏขึ้นมา เพื่อให้คุณเลือกว่าจะ Exit, Restart หรือ restart with add-ons disabled ถ้าคุณไม่ได้ทำเครื่องหมายที่ช่องนี้ เมื่อคุณพยายามปิด NVDA จะไม่มีกล่องโต้ตอบปรากฏขึ้นมา และ NVDA จะปิดทันที
Play sounds when starting or exiting NVDA
ทำเครื่องหมายที่ช่องนี้เพื่อตั้งค่าว่าจะให้มีหรือไม่มีเสียงตอนเปิดและปิดโปรแกรม NVDA
Logging level
ตัวเลือกนี้เป็น combo box ให้คุณเลือกระดับความละเอียดในการเก็บล็อกขณะที่คุณใช้ NVDA ผู้ใช้ทั่วไปอาจไม่ได้ใช้การตั้งค่านี้มากนัก แต่ถ้าคุณต้องการข้อมูลเกี่ยวกับ buck ของโปรแกรม ตัวเลือกนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมาก
Automatically start NVDA after I log on to Windows
ถ้าทำเครื่องหมายที่ช่องนี้เมื่อเปิดคอมพิวเตอร์และเข้ามาใน windows แล้ว NVDA จะเปิดขึ้นมาโดยอัตโนมัติ
Use NVDA on the windows Logon screen (requires administrative privileges)
ทำเครื่องหมายที่ตัวเลือกนี้จะเป็นการกำหนดให้ NVDA เปิดขึ้นมาโดยอัตโนมัติเมื่อคุณอยู่ในหน้าต่าง windows logon และหน้าจอความปลอดภัยอื่นๆ
Use currently saved settings on the logon and other secure screens
ตัวเลือกนี้เป็นการคัดลอกการตั้งค่าต่างๆของ NVDA บนหน้าจอ windows logon และหน้าจอเพื่อความปลอดภัยจากโฟลเดอร์ user configuration ของ NVDA ไปที่โฟลเดอร์ system configuration ของ NVDA ซึ่งจะทำให้ NVDA ใช้การตั้งค่าต่างๆ เช่น ตัวสังเคราะห์เสียง ความเร็ว ความดัง และอื่นๆ บนหน้า windows logon, user account control (UAC) และหน้าจอเพื่อความปลอดภัยอื่นๆ
ก่อนคุณจะใช้ตัวเลือกนี้ให้คุณบันทึกการตั้งค่าต่างๆ โดยใช้คำสั่ง Control+NVDA+c หรือเลือก menu บันทึกการตั้งค่าใน NVDA menu เพื่อความแน่ใจว่าการตั้งค่าของคุณจะถูกคัดลอกไปทั้งหมด ตัวเลือกนี้สำหรับผู้ที่ใช้งานโปรแกรม NVDA แบบติดตั้งเท่านั้น
Automatically check for updates to NVDA
หากคุณทำเครื่องหมายที่ตัวเลือกนี้ NVDA จะตรวจสอบว่ามี NVDA รุ่นใหม่ๆ ออกมาแล้วหรือยัง และจะเตือนให้คุณรู้เมื่อมี NVDA รุ่นใหม่ออกมา นอกจากนี้คุณสามารถตรวจสอบ update ด้วยตัวเองได้โดยการเลือก menu check for update ใน menu help ของ NVDA menu
11.1.2 ตัวเลือกเสียงสังเคราะห์ (NVDA+Control+s)
ตัวเลือกเสียงสังเคราะห์ (Synthesizer) จะอยู่ในเมนูการตั้งค่า ในหน้าต่างนี้จะให้คุณเลือกเสียงสังเคราะห์ที่ต้องการให้ NVDA ใช้มันอ่านอะไรต่างๆ ให้คุณฟัง โดยเมื่อคุณใช้ลูกษรเลื่อนไปยังเสียงสังเคราะห์ที่ต้องการได้แล้ว ก็ให้กด enter หรือ tab ไปกดปุ่ม OK ถ้าหากไม่มีอะไรผิดพลาด NVDA ก็จะโหลดเสียงสังเคราะห์ตัวนั้นขึ้นมาทำงาน แต่หากพบข้อผิดพลาด NVDA ก็จะแจ้งเตือนข้อผิดพลาด และกลับไปใช้เสียงสังเคราะห์ก่อนหน้าที่ไม่มีปัญหา
Synthesizer
ตัวเลือกนี้จะมีรายการของเสียงสังเคราะห์ที่สามารถใช้งานกับ NVDA ได้ให้คุณเลือกใช้งาน ข้อมูลเพิ่มเติมอ่านได้จากหัวข้อ เสียงสังเคราะห์ที่รองรับ
รายการพิเศษที่จะปรากฏอยู่ในตัวเลือกนี้เสมอคือ "No Speech" ซึ่งช่วยให้คุณใช้งาน NVDA ในแบบที่ไม่มีเสียงพูดได้ ซึ่งอาจมีประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการใช้งาน NVDA กับ Braille Display โดยเฉพาะ หรือสำหรับนักพัฒนาที่ต้องการใช้งานในโหมด Speech Viewer
Output device
ตัวเลือกนี้จะแสดงรายการของ soundcard ที่ NVDA สามารถแสดงผลได้ ในกรณีที่คุณมีอุปกรณ์ที่สามารถแสดงผลเกี่ยวกับเสียงมากกว่าหนึ่งชิ้น คุณก็สามารถเลือกใช้งานได้จากตรงนี้
Audio Ducking Mode
ถ้าคุณใช้ Windows 8 หรือระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่กว่า คุณสามารถตั้งค่าในส่วนนี้ หรือใช้คำสั่ง NVDA+Shift+d เพื่อให้ NVDA ลดระดับเสียงของ application อื่นลงในขณะที่ NVDA กำลังพูด หรือตลอดเวลาที่เปิดใช้ NVDA อยู่
- No Ducking: NVDA จะไม่ลดระดับเสียงของ application อื่น
- Duck when outputting speech and sounds: NVDA จะลดระดับเสียงของ application อื่น ในขณะที่ NVDA กำลังพูดหรือเล่นเสียงต่างๆ โหมดนี้อาจจะใช้ไม่ได้กับโปรแกรมสังเคราะห์เสียงบางตัว
- Always duck: NVDA จะลดระดับเสียงของ application อื่นตลอดเวลาที่คุณใช้งาน NVDA อยู่
การตั้งค่านี้จะใช้ได้กับ NVDA แบบติดตั้งเท่านั้น
11.1.3 การตั้งค่าเสียง (Control+NVDA+v)
การตั้งค่าเสียงช่วยให้คุณสามารถเปลี่ยนลักษณะของเสียงที่ NVDA อ่านให้คุณฟังได้ อย่างไรก็ตามคุณสามารถกำหนดค่าเสียงอ่านได้อย่างรวดเร็ว โดยการใช้คำสั่งลัด โปรดดูหัวข้อ การตั้งค่าเสียงด้วย ring key
Voice
ตัวเลือกนี้มีรายชื่อเสียงของโปรแกรมสังเคราะห์เสียงแต่ละตัวที่คุณติดตั้งและได้เลือกไว้ในการตั้งค่าตัวสังเคราะห์เสียง ใช้ปุ่มลูกศรเพื่อเลือกและฟังเสียงแต่ละเสียง
Variant
variant คือความผันแปลของโปรแกรมสังเคราะห์เสียงที่คล้ายคลึงกับเสียงต่างๆ ถ้าคุณใช้ Espeak คุณจะสามารถเลือกความผันแปลของเสียงได้หลายแบบ เช่น บางเสียงอาจจะมีความคล้ายกับเสียงผู้ชาย บางเสียงมีความคล้ายกับเสียงผู้หญิง บางเสียงมีความคล้ายกับเสียงกบ เป็นต้น
rate
ตัวเลือกนี้เป็นการเลือกความเร็วของเสียงอ่านในลักษณะ slider ตั้งแต่ 0-100 0 เป็นระดับความเร็วที่ช้าที่สุด 100 เป็นระดับความเร็วที่สูงที่สุด
Pitch
ตัวเลือกนี้เป็นการกำหนดเสียงสูงและต่ำของเสียงที่คุณเลือกไว้ 0 เป็นระดับเสียงที่ต่ำที่สุด 100 เป็นระดับเสียงที่สูงที่สุด
Volume
คุณสามารถปรับความดังและเบาของเสียงที่คุณเลือกได้ที่นี่ 0 เป็นระดับความดังที่เบาที่สุด 100 เป็นระดับความดังที่ดังที่สุด
Inflection
ตัวเลือกนี้เป็น slider ที่ให้คุณเลือก Inflection ของเสียงซึ่งในขณะนี้มีแต่ Espeak เท่านั้นที่รองรับตัวเลือกนี้ (จากการทดสอบของผู้เขียนพบว่าเป็นการปรับสำเนียงความสูงต่ำของการอ่าน)
Automatic Language switching
ตัวเลือกนี้เป็นการเลือกว่าเมื่อ NVDA อ่านเอกสารหรือข้อความที่มีหลายภาษาปนกัน (และข้อความเหล่านั้นมีการทำ markup ไว้ด้วย) ให้ NVDA เปลี่ยนไปอ่านในภาษาของข้อความนั้น เช่น ถ้ามีข้อความที่มีภาษาอังกฤษปนกับภาษาฝรั่งเศส NVDA จะอ่านภาษาอังกฤษในข้อความที่เป็นภาษาอังกฤษ และอ่านภาษาฝรั่งเศสเมื่ออ่านข้อความถึงส่วนที่เป็นภาษาฝรั่งเศส ด้วยโปรแกรมสังเคราะห์เสียงที่รองรับการสลับภาษา เช่น Espeak เป็นต้น
Automatic Dialect switching
ตัวเลือกนี้จะปรากฏขึ้นมาถ้าหากผู้ใช้ตั้งค่าให้มีการสลับภาษาในการอ่านข้อความตัวเลือกนี้เป็นการเลือกให้ NVDA สลับสำเนียงหรือภาษาถิ่นหากอ่านพบข้อความที่มีภาษาถิ่นต่างกัน เช่น ถ้าเลือกเสียงเป็นสำเนียงอังกฤษสำเนียงอเมริกัน แต่ไปอ่านเจอข้อความที่มีการกำหนดว่าเป็นภาษาอังกฤษสำเนียง british NVDA จะสลับไปอ่านภาษาอังกฤษในสำเนียง british เป็นต้นตัวเลือกนี้จะถูกปิดไว้เป็นค่าเริ่มต้น
Punctuation/Symbol Level
คำสั่งลัด: NVDA+p ตัวเลือกนี้ให้ผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าต้องการให้ NVDA อ่านเครื่องหมายวรรคตอนและสัญลักษณ์ออกมาเป็นคำมากหรือน้อยเพียงใด เช่น ถ้าเลือกเป็น all NVDA จะอ่านเครื่องหมายทุกเครื่องหมายที่เจอ ถ้าเลือกตัวเลือกอื่น NVDA จะอ่านเครื่องหมายน้อยลงไปตามลำดับ เป็นต้น การเลือกตัวเลือกนี้จะมีผลถึง NVDA ทั้งหมด ไม่ได้มีผลเฉพาะเสียงที่กำลังใช้อยู่
Trust voice's language for processing symbols and characters
ตัวเลือกนี้จะทำเครื่องหมายไว้โดยค่าปริยาย ซึ่งหมายความว่าเสียงที่ใช้อยู่นี้ สามารถเชื่อถือได้ว่ามันจะอ่านเครื่องหมายวรรคตอนและสัญลักษณ์ต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง แต่หากคุณพบว่าเสียงในภาษาที่ใช้งานอยู่นี้ อ่านเครื่องหมายวรรคตอนและสัญลักษณ์ได้ไม่ถูกต้อง คุณสามารถไม่ทำเครื่องหมายที่ตัวเลือกนี้ และ NVDA จะกลับไปใช้การตั้งค่าทั่วไป
Capital pitch change percentage
ตัวเลือกนี้ให้ผู้ใช้กำหนดเสียงสูงหรือต่ำเมื่อ NVDA อ่านตัวอักษรตัวใหญ่ ถ้าคุณไม่ต้องการให้มีการเปลี่ยนระดับเสียงให้เลือกเป็น 0
Say "cap" before capitals
ตัวเลือกนี้ให้ผู้ใช้กำหนดให้มีการอ่านคำว่า cap ก่อนตัวอักษรตัวใหญ่ทุกตัว อาจใช้ในกรณีที่โปรแกรมสังเคราะห์เสียงบางโปรแกรมไม่เปลี่ยนระดับเสียงเมื่อเจออักษรตัวใหญ่
Beep for capitals
ถ้าคุณทำเครื่องหมายที่ตัวเลือกนี้ เมื่อ NVDA อ่านเจอตัวอักษรตัวใหญ่จะส่งเสียงบี๊ปสั้นๆ ในการอ่านตัวอักษรนั้น อาจใช้ได้ในกรณีโปรแกรมสังเคราะห์เสียงไม่รองรับการเปลี่ยนความสูงหรือต่ำของเสียงเมื่ออ่านตัวอักษรตัวใหญ่
Use spelling functionality if supported
ตัวเลือกนี้เป็นการกำหนดให้ NVDA อ่านตัวอักษรที่อาจมีการอ่านออกเสียงที่ต่างกันได้เมื่อมีการใช้ที่ต่างกัน เช่น ตัวอักษร a (เอ) เมื่อเป็นตัวอักษรจะอ่านว่าเอ แต่เมื่อนำหน้านามจะอ่านว่าอะ (a bird) เป็นต้นโปรแกรมสังเคราะห์เสียงส่วนใหญ่รองรับตัวเลือกนี้ตัวเลือกนี้ถูกใช้เป็นค่าเริ่มต้น แต่มี microsoft speech API บางตัวที่มีปัญหากับตัวเลือกนี้ (เช่น ตาทิพย์) หากคุณใช้ตัวเลือกนี้แล้วมีปัญหาให้ยกเลิกการทำเครื่องหมายที่ตัวเลือกนี้
11.1.4 การตั้งค่าเสียงด้วยริงคี
NVDA มีคำสั่งลัดที่ช่วยให้ผู้ใช้เปลี่ยนการตั้งค่าเสียงได้จากทุกที่ที่ผู้ใช้กำลังทำงานอยู่โดยไม่ต้องไปที่ menu การตั้งค่าเสียง คำสั่งลัดนี้เรียกว่า ริงคี ซึ่งมีคำสั่งดังนี้
ชื่อ | คำสั่งเดสทอพ | คำสั่งแล็ปท็อป | คำอธิบาย ---------- | ---------- | ---------- | ---------- การตั้งค่าถัดไป | NVDA+control+rightArrow | NVDA+shift+control+rightArrow | ไปยังการตั้งค่าเสียงถัดไป และเมื่อถึงการตั้งค่าเสียงสุดท้าย NVDA จะย้อนกลับมาที่การตั้งค่าเสียงแรก การตั้งค่าก่อนหน้า | NVDA+control+leftArrow | NVDA+shift+control+leftArrow | เลื่อนไปยังการตั้งค่าเสียงก่อนหน้า เมื่อถึงการตั้งค่าเสียงแรก NVDA จะย้อนไปยังการตั้งค่าเสียงสุดท้าย เพิ่มการตั้งค่าเสียง | NVDA+control+upArrow | NVDA+shift+control+upArrow | เพิ่มการตั้งค่าเสียงปัจจุบัน เช่น เพิ่มความเร็ว เลือกเสียงถัดไป เพิ่มระดับความดังของเสียง เป็นต้น ลดการตั้งค่าเสียง | NVDA+control+downArrow | NVDA+shift+control+downArrow | ลดการตั้งค่าเสียงปัจจุบัน เช่น ลดความเร็วเสียง เลือกเสียงก่อนหน้า ลดระดับความดังของเสียง เป็นต้น
11.1.5 การตั้งค่าอักษรเบรลล์
คุณสามารถตั้งค่าอักษรเบรลล์ได้โดยไปที่ menu การตั้งค่า แล้วไปที่ menu การตั้งค่าอักษรเบรลล์
Braille Display
เมื่อคุณเข้ามาในการตั้งค่าเบรลล์แล้วตัวเลือกแรกเป็น combo box ที่แสดงรายชื่อ driver braille display ที่มีอยู่ในคอมพิวเตอร์ของคุณ คุณสามารถใช้ปุ่มลูกศรเลื่อนไปที่ driver ต่างๆได้ ถ้าคุณเลื่อนลูกศรไว้ที่ no braille นั่นแปลว่าคุณไม่ได้ใช้เบรลล์
โปรดดูรายละเอียดที่หัวข้อ เครื่องแสดงผลด้วยอักษรเบรลล์ที่รองรับ
Port
combo box นี้เป็นรายชื่อ port ที่ braille display ของคุณใช้ต่อกับคอมพิวเตอร์ automatic คือการส่งให้ NVDA สแกนหา braille display โดยอัตโนมัติ และตัวเลือกนี้เป็นตัวเลือกที่มักจะใช้กันเป็นส่วนใหญ่ ส่วนตัวเลือกอื่นๆ ได้แก่ USB Bluetooth legacy serial communication ports แล้วแต่ว่า braille display ของคุณใช้ port ไหน ถ้าหาก braille display ของคุณรองรับการสแกนหา port โดยอัตโนมัติเพียงอย่างเดียวจะไม่มีตัวเลือกนี้ปรากฏขึ้นในกล่องโต้ตอบ โปรดดู เครื่องแสดงผลด้วยอักษรเบรลล์ เพื่อตรวจสอบ port ที่ braille display ของคุณใช้
Output Table
ในตัวเลือกนี้จะให้คุณเลือกการแสดงตารางบน braille display ในรูปแบบต่างๆ ทั้งภาษา ระดับอักษรเบรลล์ และมาตรฐานอักษรเบรลล์ คุณสามารถใช้ปุ่มลูกศรเลื่อนดูรูปแบบต่างๆ ได้
Input Table
ตัวเลือกนี้เป็นการเลือกรูปแบบการแปลงตารางอักษรเบรลล์ที่ป้อนข้อมูลเข้ามาจาก braille display
Expand to computer braille for the word at the cursor
ตัวเลือกนี้เป็นการเลือกให้มีการแตกตัวอักษรเบรลล์ในคำที่เคอเซอร์อยู่และแสดงออกมาทาง braille display
Show Cursor
ตัวเลือกนี้จะช่วยให้เปิดหรือปิดเคอร์เซอร์อักษรเบรลล์นำไปใช้กับ System caret และรีวิวเคอร์เซอร์ แต่ไม่ถึงตัวบ่งชี้การเลือก
Blink Cursor
ตัวเลือกนี้จะช่วยให้เคอร์เซอร์อักษรเบรลล์ให้กระพริบ หากกระพริบปิดเคอร์เซอร์อักษรเบรลล์อย่างต่อเนื่องจะอยู่ในตำแหน่ง "up" การเลือกตัวบ่งชี้จะไม่ได้รับผลกระทบจากตัวเลือกนี้ จุดที่ 7 และ 8 จะไม่กระพริบเสมอ
Cursor Blink Rate
ตัวเลือกนี้เป็นกล่องแก้ไขตัวเลขซึ่งทำให้สามารถเปลี่ยนระดับการกระพิบของ cursor ได้เป็นมิลลิวินาที
Cursor Shape for Focus
ตัวเลือกนี้จะช่วยให้คุณสามารถเลือกรูป (รูปแบบของจุด) ของเคอร์เซอร์ของอักษรเบรลล์เมื่ออักษรเบรลล์ อยู่ในโหมด tethered to focus ตัวบ่งชี้จะไม่ได้รับผลกระทบจากตัวเลือกนี้ จุดที่ 7 และ 8 จะไม่กระพริบเสมอ
Cursor Shape for review
ตัวเลือกนี้จะช่วยให้คุณสามารถเลือกรูป (รูปแบบของจุด) ของเคอร์เซอร์ของอักษรเบรลล์เมื่ออักษรเบรลล์ อยู่ในโหมด tethered to review ตัวบ่งชี้จะไม่ได้รับผลกระทบจากตัวเลือกนี้ จุดที่ 7 และ 8 จะไม่กระพริบเสมอ
Message Timeout (sec)
ตัวเลือกนี้เป็นกล่องแก้ไขตัวเลขซึ่งให้คุณแก้ไขระยะเวลาที่จะแสดงข้อความจากระบบบน braille display
Show Messages Indefinitely
ตัวเลือกนี้จะช่วยให้ข้อความ NVDA ที่จะแสดงบนจอแสดงผลอักษรเบรลล์ไปเรื่อย ๆ
Braille Tethered to
คำสั่ง: NVDA+Control+t ตัวเลือกนี้เป็นการเลือกให้ braille display เคลื่อนไหวตามโฟกัสหรือตามวัตถุนำร่องหรือแถบทบทวน
Read by Paragraph
ตัวเลือกนี้เป็นการตั้งค่าให้ braille display เลื่อนไปทีละบรรทัดหรือทีละย่อหน้า หากคุณเลือกให้เลื่อนไปทีละย่อหน้าไปการกดปุ่มถัดไปหรือก่อนหน้าจะเป็นการเลื่อนไปทีละย่อหน้า นั่นแปลว่าคุณจะไม่สามารถเลื่อนไปอ่านข้อความท้ายบรรทัดได้
Avoid splitting words when possible
ถ้าคุณทำเครื่องหมายที่ตัวเลือกนี้ NVDA จะพยายามเอาคำที่อยู่ท้ายบรรทัดซึ่งมีความยาวมากกว่าพื้นที่ที่เหลืออยู่ใน Braille Display ไปแสดงในบรรทัดใหม่ทั้งคำ ยกเว้นคำๆ นั้นจะมีความยาวมากเกินไป NVDA จะตัดบางส่วนของคำๆ นั้นไปแสดงในบรรทัดใหม่ ถ้าคุณไม่ทำเครื่องหมายที่ตัวเลือกนี้ คำที่อยู่ท้ายบรรทัดส่วนมากจะถูกตัดบางส่วนไปแสดงบนบรรทัดใหม่ คุณต้องเลื่อนหน้าจอ Braille Display เพื่อจะอ่านคำๆ นั้นให้ครบถ้วน
Focus context presentation
คุณสามารถกำหนดให้ NVDA แสดงรายละเอียดของคำหรือข้อความที่ปรากฏใน Braille Display ได้ เช่น คำหรือข้อความนั้นเป็น list item, คำหรือข้อความนั้นเป็นส่วนหนึ่งของกล่องโต้ตอบ เป็นต้น โดยคุณสามารถตั้งค่าให้ NVDA เปลี่ยนแปลงรายละเอียดตามคำหรือข้อความที่คุณโฟกัสอยู่ ให้แสดงรายละเอียดตลอดเวลา หรือให้แสดงรายละเอียดเมื่อคุณเลื่อนหน้าจอ Braille Display กลับมา
11.1.6 การตั้งค่าคีย์บอร์ด (NVDA+Control+k)
กล่องโต้ตอบนี้จะพบได้ในเมนูการตั้งค่า ภายใต้หัวข้อ "Keyboard settings..." ซึ่งจะประกอบไปด้วยตัวเลือกดังต่อไปนี้
Keyboard layout
ตัวเลือกนี้จะเป็น combo box ที่ให้คุณเลือกว่าคุณต้องการใช้รูปแบบคำสั่ง (Keyboard Layout) ใน NVDA แบบใด ซึ่งรูปแบบที่มีให้เลือกก็ได้แก่ รูปแบบเดสก์ท็อป และ แล็บท็อป
Use capslock as an NVDA modifier key
หากคุณทำเครื่องหมายตรงนี้ ปุ่ม capslock ก็จะถูกใช้งานเป็นปุ่ม NVDA เหมาะสำหรับผู้ที่ใช้งานคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก ดูคำอธิบายเพิ่มได้จากหัวข้อ การปรับเปลี่ยนคีย์ NVDA
Use extended insert as an NVDA modifier key
หากคุณทำเครื่องหมายตรงนี้ ปุ่ม insert ที่อยู่เหนือปุ่มลูกษร ใกล้ๆ กับปุ่ม home และปุ่ม end ก็จะถูกใช้งานเป็นปุ่ม NVDA
Use numpad insert as an NVDA modifier key
หากคุณทำเครื่องหมายตรงนี้ปุ่ม insert ที่อยู่ตรง numpad key ก็จะถูกใช้งานเป็นปุ่ม NVDA
Speak Typed Characters
คำสั่ง: NVDA+2 เมื่อเปิดใช้งาน NVDA จะพูดทุกตัวอักษรที่คุณพิมพ์บนแป้นพิมพ์
Speak Typed Words
คำสั่ง: NVDA+3 เมื่อเปิดใช้งาน NVDA จะพูดทุกคำที่คุณพิมพ์บนแป้นพิมพ์
Speech interrupt for typed characters
เมื่อเปิดใช้งาน จะทำให้เมื่อคุณพิมพ์ตัวอักษรบนแป้นพิมพ์ การอ่านตัวอักษรที่พิมพ์จะแทรกการอ่านอื่นๆ ที่คุณอ่านอยู่ในขณะนั้นทันที หรือกรณีกลับกันหากไม่เปิดใช้งานตัวเลือกนี้ หากคุณกำลังอ่านอะไรอยู่แล้วกดแป้นพิมพ์การอ่านที่กำลังดำเนินอยู่ก็จะไม่ถูกขัดจังหวะ และ NVDA ก็จะอ่านอักษรที่คุณพิมพ์ ก็ต่อเมื่ออ่านสิ่งที่อ่านอยู่นั้นเสร็จแล้ว ตัวเลือกนี้ถูกเปิดไว้โดยค่ามาตรฐาน
Speech interrupt for Enter key
คล้ายกับตัวเลือกก่อนหน้านี้ หากเปิดใช้งานตัวเลือกนี้ NVDA ก็จะอ่านการกดปุ่ม enter แทรกข้อความที่กำลังอ่านอยู่ หากไม่เปิดการใช้งาน เมื่อคุณกำลังอ่านอะไรอยู่ หากกดปุ่ม enter NVDA ก็จะไม่พูดคำว่า "enter" ขัดจังหวะการอ่านของคุณ ตัวเลือกนี้ถูกเปิดไว้โดยค่ามาตรฐาน
Allow skim reading in Say All
ถ้าเปิดใช้งาน ในคำสั่งนำทางบางอย่าง (เช่นการนำทางอย่างรวดเร็วในเบราส์โหมดหรือย้ายตามบรรทัดหรือย่อหน้า) จะไม่หยุด say all แต่จะกระโดดไปยังตำแหน่งใหม่และอ่านต่อ
Beep if Typing Lowercase Letters when Caps Lock is On
เมื่อเปิดใช้งานเราจะได้ยินเสียงบี๊ปเตือน ถ้าหากเราพิมพ์ตัวอักษรด้วยปุ่ม Shift ในขณะที่เราอยู่ในโหมด capslock on อยู่แล้ว ตัวเลือกนี้จะมีประโยชน์มาก เพราะมันจะช่วยเตือนให้เราไม่พิมพ์ผิดในขณะที่เราอยู่ในโหมด capslock on ซึ่งหลายคนมักจะผิดพลาดกับกรณีอย่างนี้ รวมไปถึงการป้อนข้อมูลในช่องรหัสผ่านก็ด้วยเช่นกัน
Speak Command Keys
คำสั่ง: NVDA+4 เมื่อเปิดใช้งาน NVDA จะพูดทุกปุ่มที่คุณพิมพ์ รวมไปถึงคำสั่งลัดต่างๆ เช่นการพิมพ์คำสั่ง Control+ตัวอักษร
Play sound for spelling errors while typing
หากเปิดใช้งาน จะมีเสียงร้องสั้นๆ ดังขึ้น เมื่อคุณพิมพ์คำที่มีการสะกดผิด ตัวเลือกนี้จะใช้งานได้ก็ต่อเมื่อ คุณเปิดการใช้งานการรายงานการสะกดใน หน้าต่าง การจัดรูปแบบเอกสาร
Handle keys from other applications
ตัวเลือกนี้จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถควบคุมปุ่มที่ถูกสร้างขึ้นจากแอพพลิเคชัน เช่น คีย์บอร์ดเสมือนบนหน้าจอ หรือโปรแกรมรู้จำเสียงพูด (speech recognition) ได้จากการทำงานของ NVDA โดยตัวเลือกนี้ถูกเปิดมาเป็นค่ามาตรฐาน แต่ผู้ใช้บางรายอาจต้องการปิดมัน เนื่องจากอาจส่งผลทำให้การพิมพ์สำหรับบางภาษาเกิดข้อผิดพลาดได้
11.1.7 การตั้งค่าเม้าส์ (NVDA+control+m)
คุณสามารถตั้งค่าเม้าส์ได้จาก menu การตั้งค่าเม้าส์ใน menu การตั้งค่าของ NVDA menu คุณสามารถตั้งค่าต่างๆ ได้ดังนี้
#####Report Mouse Shape Changes
ตัวเลือกนี้เป็นการตั้งค่าให้ NVDA อ่านรูปร่างหรือลักษณะของตัวชี้เม้าส์ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปเมื่อใช้งานในตัวควบคุมต่างๆ เช่น เมื่อมีการโหลดข้อมูลรูปร่างของตัวชี้เม้าส์จะเปลี่ยนไป และเมื่อคุณโฟกัสอยู่ที่กล่องข้อความซึ่งสามารถแก้ไขได้รูปร่างของตัวชี้เม้าส์ก็จะเปลี่ยนไปอีกอย่างหนึ่ง
#####Enable mouse tracking
คำสั่ง: NVDA+m
ถ้าคุณเปิดใช้ตัวเลือกนี้ NVDA จะอ่านข้อความที่อยู่ใต้ตัวชี้เม้าส์ คุณสามารถใช้ตัวเลือกนี้แทนการใช้วัตถุนำร่องหาสิ่งต่างๆ บนหน้าจอได้
#####Text unit resolution
ถ้าคุณตั้งค่าให้ NVDA อ่านข้อความที่อยู่ภายใต้ตัวชี้เม้าส์ตัวเลือกนี้เป็นการตั้งค่าว่าจะให้ NVDA อ่านข้อความนั้นมากหรือน้อยแข้ไหน คุณสามารถตั้งให้ NVDA อ่านเป็นตัวอักษร คำ บรรทัด หรือย่อหน้าก็ได้
#####Report role when mouse enters object
ถ้าเปิดใช้ตัวเลือกนี้ NVDA จะอ่านประเภทของวัตถุเมื่อเม้าส์เลื่อนไปอยู่ที่วัตถุนั้น
#####Play audio coordinates when mouse moves
ถ้าคุณทำเครื่องหมายที่ตัวเลือกนี้ เมื่อคุณเลื่อนเม้าส์จะมีเสียงบี๊ป ซึ่งช่วยให้คุณรู้ตำแหน่งของเม้าส์บนหน้าจอได้ โดยที่ความสูงต่ำ และเสียงซ้ายขวาที่ไม่เท่ากัน จะเป็นตัวระบุตำแหน่งของเม้าส์ว่าอยู่ตำแหน่งใดบนหน้าจอ โดยตัวเลือกนี้จะใช้งานได้ดีสำหรับผู้ที่ใช้หูฟังหรือลำโพงที่เป็นสเตอริโอ
#####Brightness controls audio coordinates volume
หากคุณตั้งค่าให้มีเสียงบี๊ปขณะที่คุณเลื่อนเม้าส์ การเปิดใช้ตัวเลือกนี้เป็นการตั้งค่าให้ NVDA เล่นเสียงบี๊ปตามความสว่างของหน้าจอในแต่ละจุด
11.1.8 การตั้งค่ารีวิวเคอเซอร์
จะพบได้ในเมนูการตั้งค่า ภายใต้หัวข้อ "Review Cursor..." กล่องโต้ตอบนี้ประกอบไปด้วยตัวเลือกต่อไปนี้
Follow System Focus
คำสั่ง: NVDA+7 เมื่อเปิดใช้งานแถบทบทวนจะโฟกัสอยู่ที่วัตถุเดียวกับ system focus เสมอ
Follow System Caret
คำสั่ง: NVDA+6 เมื่อเปิดใช้งานแถบทบทวนจะถูกย้ายไปยังตำแหน่งของ system Caret โดยอัตโนมัติ ทุกครั้งที่มีการเคลื่อนย้าย
Follow mouse
เมื่อเปิดใช้งาน แถบทบทวนจะย้ายไปตามตำแหน่งที่เม้าส์เคลื่อนไป
Simple Review mode
เมื่อเปิดใช้งาน NVDA จะกรองลำดับชั้นของวัตถุที่สามารถเข้าถึงได้ ไม่รวมวัตถุที่ไม่เป็นที่สนใจของผู้ใช้ เช่น วัตถุที่มองไม่เห็นและวัตถุที่ใช้สำหรับวัตถุประสงค์ของเค้าโครง
11.1.9 การตั้งค่าการแสดงวัตถุ (NVDA+control+o)
คุณสามารถตั้งค่าการแสดงวัตถุโดยเข้า NVDA menu แล้วไปที่ การตั้งค่า แล้วเลือกการแสดงวัตถุ
Report Tool Tips
ถ้าคุณทำเครื่องหมายที่ตัวเลือกนี้ จะเป็นการตั้งค่าให้ NVDA อ่าน tool tip หรือข้อความซึ่งจะปรากฏแสดงวิธีการใช้หรือรายละเอียดของวัตถุเมื่อคุณชี้หรือโฟกัสเม้าส์ไปที่วัตถุต่างๆ
Report Help Balloons
การทำเครื่องหมายที่ตัวเลือกนี้เป็นการตั้งค่าให้ NVDA อ่าน help balloon ซึ่งเหมือนกับ tool tip เพียงแต่ขนาดของ help balloon จะใหญ่กว่า และส่วนใหญ่ help balloon จะแสดงข้อความเกี่ยวกับระบบ เช่น เมื่อมีการถอดสาย network หรือมีการเตือนเรื่องความปลอดภัยของ windows เป็นต้น
Report Object Shortcut Keys
การทำเครื่องหมายที่ตัวเลือกนี้ NVDA จะอ่านคำสั่งลัดของวัตถุที่กำลังอ่านอยู่ เช่น ใน menu file NVDA จะอ่านคำสั่งลัด Alt+f ตอนท้ายด้วย เป็นต้น
Report object position information
การตั้งค่าที่ตัวเลือกนี้NVDA จะอ่านตำแหน่งของวัตถุ เช่น 1 of 4 เมื่อคุณเลื่อนโฟกัสหรือวัตถุนำร่องไปที่วัตถุต่างๆ ส่วนใหญ่จะเป็นวัตถุที่อยู่ใน list
Guess Object Position Information when unavailable
ถ้าคุณเปิดใช้ตัวเลือกนี้นอกจาก NVDA จะอ่านตำแหน่งของวัตถุที่อยู่ใน list แล้ว NVDA จะอ่านตำแหน่งของวัตถุใน toolbar และ menu bar ด้วย แต่ข้อมูลนี้อาจจะคลาดเคลื่อนได้
Report Object descriptions
ยกเลิกการทำเครื่องหมายที่ตัวเลือกนี้หากคุณไม่ต้องการคำอธิบายที่มาพร้อมกับการอ่านวัตถุ
Progress bar output
คำสั่ง: NVDA+uตัวเลือกนี้เป็นการตั้งค่าการแสดงผลของ Progress bar หรือแถบแสดงสถานะการทำงาน เช่น เวลาคัดลอกไฟล์จะมีแถบแสดงสถานะว่าขณะนี้คัดลอกไปได้กี่เปอร์เซ็นต์แล้ว ตัวเลือกนี้จะเป็นการกำหนดว่าจะให้ NVDA แสดงสถานะออกมาเป็นรูปแบบใด คุณสามารถเลือกตัวเลือกได้ดังนี้
- off: NVDA จะไม่รายงาน Progress bar
- speak: NVDA จะรายงาน Progress bar เป็นเสียงพูดและรายงานเป็นเปอร์เซ็นต์เมื่อมีความเปลี่ยนแปลง
- beep: NVDA จะแสดงผล Progress bar เป็นเสียงบี๊ป โดยจะแสดงเสียงบี๊ปสูงขึ้นเมื่อ Progress bar มีความเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น
- Beep and speak:NVDA จะรายงานการทำงานของ Progress bar ทั้งการพูดและเสียงบี๊ป
Report background progress bars
โดยปรกติแล้ว NVDA จะรายงาน progress bar เฉพาะหน้าต่างที่โฟกัสอยู่เท่านั้น เมื่อคุณสลับไปใช้หน้าต่างอื่นหรือสลับไปที่ส่วนอื่นๆ NVDA จะไม่รายงาน progress bar แต่ถ้าคุณทำเครื่องหมายที่ตัวเลือกนี้ NVDA จะรายงาน progress bar แม้ว่าคุณจะสลับการใช้งานไปที่หน้าต่างอื่นแล้วก็ตาม
Report dynamic content changes
คำสั่ง: NVDA+5 สลับการอ่านเนื้อหาที่มีการ update ในวัตถุโดยอัตโนมัติ เช่น หน้าต่างการ chat หรือใน command prompt เป็นต้น
11.1.10 การตั้งค่าองค์ประกอบการป้อนข้อมูล
คุณสามารถตั้งค่า Input Composition Settings ได้โดยเข้า menu การตั้งค่าของ NVDA menu Input Composition Settings ช่วยให้คุณสามารถควบคุมวิธีการรายงานตัวอักษรแถบเอเชียได้เช่นเดียวกับ ime หรือ Text Service input methods โปรดทราบไว้ว่า เนื่องจากวิธีการป้อนข้อมูลมีหลายวิธี และมีการนำเสนอข้อมูลที่แตกต่างกัน จึงอาจจะต้องมีการตั้งค่าที่แตกต่างกันในแต่ละวิธีเพื่อให้ได้รับประสบการณ์ในการพิมพ์ที่มีประสิทธิภาพ
Automatically report all available candidates
ตัวเลือกนี้ถูกตั้งไว้เป็นค่าเริ่มต้น เพื่อการรายงานรายชื่อของตัวอักษรเมื่อมีการปรากฏขึ้นหรือเมื่อมีความเปลี่ยนแปลงโดยอัตโนมัติ ตัวเลือกนี้เหมาะสำหรับวิธีป้อนข้อมูลแบบวาดเขียน เช่น ภาษาจีน New ChangJie หรือ Boshiami จะเป็นประโยชน์เมื่อคุณสามารถได้ยินสัญลักษณ์และจำนวนของสัญลักษณ์ทั้งหมดโดยอัตโนมัติ และสามารถเลือกได้ทันที
อย่างไรก็ตามสำหรับวิธีการป้อนข้อมูลแบบสัทศาสตร์ เช่น ตัวอักษรจีนใหม่ การปิด obtion นี้จะเป็นประโยชน์มากกว่า เพราะสัญลักษณ์ทั้งหมดจะมีเสียงเดียวกัน คุณต้องใช้ปุ่มลูกศรนำร่องในรายชื่อตัวอักษรเพื่อฟังคำอธิบายของตัวอักษรแต่ละตัวเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ละเอียดขึ้น
Announce Selected Candidate
ตัวเลือกนี้ถูกเปิดเป็นค่าเริ่มต้นเพื่อให้ NVDA อ่านตัวอักษรที่เลือกเมื่อรายชื่อตัวอักษรปรากฏขึ้นหรือเมื่อมีการเปลี่ยนการเลือก ตัวเลือกนี้จำเป็นสำหรับวิธีการป้อนข้อมูลที่สามารถใช้ปุ่มลูกศรเปลี่ยนการเลือกได้ (เช่น ตัวอักษรจีนใหม่) แต่สำหรับวิธีป้อนข้อมูลบางวิธีการปิด ตัวเลือกนี้จะทำให้การพิมพ์มีประสิทธิภาพมากกว่า โปรดจำไว้ว่า แม้ว่าตัวเลือกนี้จะถูกปิด แถบทบทวนจะยังคงอยู่ที่ตัวอักษรที่ถูกเลือกเพื่อให้คุณสามารถใช้วัตถุนำร่องหรือทบทวนเพื่ออ่านตัวอักษรนั้นหรือตัวอักษรอื่น
Always include short character descriptions for candidates
ตัวเลือกนี้ถูกตั้งไว้เป็นค่าเริ่มต้น เพื่อให้คุณเลือกได้ว่าต้องการให้การอ่านรายชื่อตัวอักษรไม่ว่าจะเป็นการใช้ปุ่มลูกศรหรือการอ่านโดยอัตโนมัติมีคำอธิบายสั้นๆ สำหรับตัวอักษรต่างๆ ในรายชื่อหรือไม่ โปรดทราบว่า ในภาษา เช่น ภาษาจีน ตัวเลือกนี้จะไม่มีผลกับการอ่านคำอธิบายตัวอักษรพิเศษในตัวอักษรที่ถูกเลือก ตัวเลือกนี้มีประโยชน์กับวิธีการป้อนตัวอักษรภาษาเกาหลีและญี่ปุ่น
Report changes to the reading string
วิธีป้อนข้อมูลบางวิธี เช่น ภาษาจีนใหม่ และ New ChangJie มี reading string (บางครั้งเรียกว่า precomposition string) คุณสามารถเลือกให้ NVDA อ่านหรือไม่อ่านตัวอักษรใหม่ที่จะถูกพิมพ์ลงใน reading string โดยใช้ ตัวเลือกนี้ ตัวเลือกนี้จะถูกตั้งเป็นค่าเริ่มต้น
หมายเหตุ: สำหรับวิธีการป้อนข้อมูลที่เก่ากว่า เช่น Chinese ChangJie อาจจะไม่ใช้ reading string เพื่อถือเป็น precomposition characters แต่ใช้ composition string โดยตรงแทน ดู ตัวเลือกถัดไปสำหรับการตั้งค่าการอ่าน composition string
Report changes to the composition string
หลังจากที่ข้อมูลการอ่านหรือ precomposition ได้รับการรวมกันเป็นสัญลักษณ์วาดเขียนที่ถูกต้องแล้ว วิธีการป้อนข้อมูลส่วนใหญ่จะใส่สัญลักษณ์นี้ไปใน composition string สำหรับการจัดเก็บชั่วคราวพร้อมกับสัญลักษณ์อื่น ๆ ก่อนที่สัญลักษณ์เหล่านี้จะถูกแทรกลงในเอกสารในที่สุด ตัวเลือกนี้ทำให้คุณสามารถเลือกได้ว่าจะให้ NVDA อ่านหรือไม่อ่านสัญลักษณ์ใหม่ซึ่งปรากฏขึ้นใน composition string ตัวเลือกนี้ถูกตั้งไว้เป็นค่าเริ่มต้น
11.1.11 การตั้งค่าเบราส์โหมด(NVDA+control+b)
คุณสามารถตั้งค่าเบราส์โหมดได้โดยการเข้า NVDA menu> การตั้งค่า> browse mode ซึ่งมีตัวเลือกดังนี้
Maximum Number of Characters on One Line
ตั้งค่าจำนวนตัวอักษรสูงสุดของบรรทัดในเบราส์โหมด
Maximum Lines Per Page
ช่องนี้เป็นตัวกำหนดจำนวนของบรรทัด เมื่อคุณย้ายตำแหน่งโดยใช้ปุ่ม Page up หรือ Page down ขณะที่อยู่ในเบราส์โหมด
Use screen layout
คำสั่ง: NVDA+v ตัวเลือกนี้เป็นการตั้งค่าการแสดงผลของวัตถุต่างๆ ในเบราส์โหมด เช่น ลิงก์ หรือกล่องข้อความ ว่าเมื่อผู้ใช้ใช้ปุ่มลูกศรอ่านเนื้อหาในเบราส์โหมด จะแสดงเนื้อหาเหมือนกับที่แสดงบนหน้าจอภาพหรือแสดงผลในบรรทัดของวัตถุนั้นๆ
Automatic Say All on page load
ตัวเลือกนี้เป็นการสลับการทำงานให้ NVDA อ่านหน้าเว็บทั้งหมดโดยอัตโนมัติเมื่อโหลดหน้าเว็บนั้นเสร็จ
Report layout tables
ถ้าคุณทำเครื่องหมายที่ตัวเลือกนี้ NVDA จะรายงานตารางโดยการใช้ข้อมูลทั้งหมด เพื่อการแสดงให้เห็นภาพ แต่ถ้าคุณปิดการใช้งานตัวเลือกนี้ NVDA จะเพียงรายงานตารางและข้อมูลของตารางเพียงเพื่อให้รู้เท่านั้นว่าข้อมูลนั้นเป็นตาราง
Configuring reporting of fields such as links and headings
โปรดดูหัวข้อ การตั้งค่าการจัดรูปแบบในเอกสาร ในการตั้งค่าการอ่านวัตถุในเบราส์โหมด เมื่อมีการนำร่อง เช่น links headings ตาราง เป็นต้น
Automatic focus mode for focus changes
ใช้ตัวเลือกนี้เพื่อเข้าสู่โฟกัสโหมด โดยอัตโนมัติ เช่น เมื่อคุณกดปุ่ม tab ไปที่กล่องข้อความจะเข้าสู่โฟกัสโหมด โดยอัตโนมัติ เป็นต้น
Automatic focus mode for caret movement
ใช้ตัวเลือกนี้เพื่อเข้าหรือออกจากโฟกัสโหมดโดยอัตโนมัติเมื่อเลื่อนลูกศร เช่น เมื่อคุณเลื่อนปุ่มลูกศรลงในหน้าเว็บไปยังกล่องข้อความ NVDA จะเข้าสู่โฟกัสให้ทันที และเมื่อคุณกดลูกศรลงอีกครั้ง NVDA จะออกจาก focus mode และกลับสู่ browse mode โดยอัตโนมัติ เป็นต้น
Audio indication of Focus and Browse modes
ถ้าคุณเปิดใช้ตัวเลือกนี้ NVDA จะเล่นเสียงการสลับการทำงานระหว่างเบราส์โหมดและโฟกัสโหมดแทนการพูดชื่อของโหมดแต่ละโหมด
Trap non-command gestures from reaching the document
ตัวเลือกนี้ถูกเปิดมาเป็นค่ามาตรฐาน ตัวเลือกนี้จะทำให้ผู้ใช้สามารถใช้คำสั่งที่เป็นท่าทางหรือคีย์ ที่ไม่ได้เป็นคำสั่งมาตรฐานของ NVDA เอง บนเอกสารที่โฟกัสอยู่ได้ ตัวอย่างเช่น หากแอพพลิเคชันใช้ตัว J เป็นคำสั่งลัดบางอย่าง หากเรากดตัว J ก็จะเป็นการดำเนินการตามคำสั่งนั้น และไม่เป็นการนำทางอย่างรวดเร็วของ NVDA หรือเป็นการพิมพ์อักษร j แต่อย่างใด
11.1.12 การตั้งค่าการจัดรูปแบบเอกสาร (NVDA+Control+D)
กล่องโต้ตอบนี้จะพบในเมนูการตั้งค่าภายใต้หัวข้อ "การจัดรูปแบบเอกสาร ... " ช่องทำเครื่องหมายส่วนมากในกล่องโต้ตอบนี้ใช้สำหรับการกำหนดค่าประเภทของการจัดรูปแบบที่คุณต้องการที่จะให้มีการรายงานในขณะที่คุณเลื่อนเคอร์เซอร์เพื่อสำรวจภายในเอกสาร ตัวอย่างเช่นถ้าคุณทำเครื่องหมายที่ การรายงานชื่ออักษร (font name) เมื่อคุณเลื่อนลูกศรไปยังข้อความที่มีตัวอักษรที่แตกต่างกันชื่อของตัวอักษรก็จะรายงานให้คุณทราบ
ตัวเลือกการจัดรูปแบบเอกสารจะแบ่งไว้เป็นกลุ่มๆ คุณสามารถกำหนดค่าการรายงานของสิ่งต่อไปนี้ :
- ฟ็อนต์
- Font name
- Font size
- Font attributes
- Emphasis
- Style
- Colors
- ข้อมูลของเอกสาร
- Comments
- editor revisions
- Spelling errors
- Pages and spacing
- Page numbers
- Line numbers
- Line indentation การรายงาน (ปิด, เสียงพูด, เสียง, คำพูดและเสียง)
- Paragraph indentation (เช่น ตัวห้อย เยื้อง บรรทัดแรกเยื้อง )
- Line spacing (เดี่ยว, คู่, และอื่นๆ)
- Alignment
- ข้อมูลตาราง
- Tables
- row/column headers
- cell coordinates
- Cell borders (Off, Styles, Both Colors and Styles)
- องค์ประกอบอื่นๆ
- Headings
- Lists
- Links
- Block quotes
- Landmarks
- Frames
- Clickable
เพื่อที่จะปรับเปลี่ยนค่าเหล่านี้ได้จากทุกที่ คุณสามารถกำหนดคีย์ลัดเพื่อเข้าถึงการตั้งค่านี้ได้จาก หน้าต่างการตั้งค่า Input Gestures
Announce formatting changes after the cursor
ตัวเลือกนี้จะพบเป็นอันแรกหลังจากคุณเข้ามาในตัวเลือกการตั้งค่าการจัดรูปแบบในเอกสาร หากเลือกตัวเลือกนี้ NVDA จะตรวจรูปแบบของการจัดรูปแบบเอกสารทุกตัวในบรรทัดนั้นๆ ที่กำลังอ่านอยู่ และโดยค่ามาตรฐานของ NVDA จะไม่เลือกมันไว้ เนื่องจากการทำงานของตัวเลือกนี้จะส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของโปรแกรมช้าลง ดังนั้นถ้าไม่ใช่กรณีที่จำเป็นจริงๆ อย่างเช่นในงานการพิสูจน์อักษรในโปรแกรม Microsoft Word เราไม่แนะนำให้เปิดการทำงานของตัวเลือกนี้
Line indentation reporting
ตัวเลือกนี้ช่วยให้คุณสามารถกำหนดการรายงานค่าการเยื้องที่จุดเริ่มต้นของบรรทัดได้ การเยื้องบรรทัดจะรายงานด้วยตัวเลือกดังต่อไปนี้ :
- ปิด: NVDA จะไม่ใช้การเยื้องเป็นพิเศษ
- คำพูด: ถ้าเลือกคำพูดเมื่อจำนวนการย่อหน้ามีการเปลี่ยนแปลง NVDA จะพูดว่า "สิบสองช่องว่าง" หรือ "สี่แท็บ"
- โทนเสียง: หากเลือกโทนเสียงเมื่อระดับการเยื้องข้อความเปลี่ยนไปโทนเสียงจะระบุจำนวนการเปลี่ยนแปลงในการเยื้อง เสียงจะเพิ่มขึ้นในทุกช่องว่างและสำหรับแท็บจะเพิ่มขึ้นในระดับเสียงเท่ากับ 4 ช่อง
- ทั้งเสียงพูดและเสียง: ตัวเลือกนี้อ่านการเว้นวรรคโดยใช้ทั้งสองวิธีข้างต้น
11.1.13 การตั้งค่า Windows 10 OCR
คุณสามารถเข้าการตั้งค่า Windows 10 OCR ได้จากเมนู Preferences ใน NVDA Menu
Recognition language
คุณสามารถเลือกภาษาที่จะใช้แปลงข้อความจากรูปภาพได้ในกล่องข้อความนี้
11.1.14 พจนานุกรมการอ่าน
พจนานุกรมการอ่านช่วยให้คุณสามารถกำหนดวิธีอ่านคำหรือวลีที่เฉพาะเจาะจงของ NVDA คุณสามารถตั้งค่าพจนานุกรมการอ่านได้โดยเข้า menu การตั้งค่าใน NVDA menu
พจนานุกรมการอ่านแบ่งเป็น 3 ประเภทได้แก่
- default: การกำหนดวิธีการอ่านในพจนานุกรมนี้จะมีผลกับการอ่านของ NVDA ทั้งหมด
- voice: การกำหนดวิธีการอ่านจะมีผลเฉพาะโปรแกรมสังเคราะห์เสียงที่ใช้อยู่
- temporary: การกำหนดวิธีอ่านจะมีผลกับ NVDA ทั้งหมด แต่จะมีผลเฉพาะการเปิดใช้ NVDA ครั้งปัจจุบันเท่านั้น เมื่อเปิด NVDA อีกครั้งการกำหนดวิธีการอ่านนี้จะหายไป
พจนานุกรมการอ่านจะมี list แสดงรายการคำหรือวลีที่มีการกำหนดวิธีอ่าน นอกจากนี้ยังมีปุ่ม add ปุ่ม edit และปุ่ม remove ด้วย ถ้าคุณต้องการเพิ่มคำหรือวลีที่ต้องการกำหนดวิธีอ่านให้กดปุ่ม add ต้องการแก้ไขการอ่านที่เคยกำหนดแล้วกดปุ่ม edit และถ้าต้องการลบคำหรือวลีที่กำหนดวิธีอ่านกดปุ่ม remove และเพื่อความแน่ใจว่าข้อมูลที่คุณได้เพิ่ม แก้ไข หรือลบนั้นจะถูกบันทึกให้กดปุ่ม ok เมื่อออกจากพจนานุกรมการอ่านด้วย
พจนานุกรมการอ่านช่วยให้คุณสามารถแก้ไขการอ่านคำหรือวลีได้ เช่น หากคุณต้องการให้อ่านคำว่า bird เป็นคำว่า frog ให้คุณพิมพ์คำในช่อง pattern ว่า bird และพิมพ์คำว่า frog ในช่อง replacement และคุณยังพิมพ์ความคิดเห็นในการเปลี่ยนวิธีอ่านคำในช่อง comment ได้อีกด้วย เช่น change bird to frog เป็นต้น
พจนานุกรมการอ่านยังสามารถกำหนดวิธีการอ่านให้ NVDA สนใจคำหรือวลีโดยคำนึงถึงตัวอักษรเล็กหรือใหญ่ได้อีกด้วย เช่น ให้อ่านคำว่า Bird เป็น frog ในกรณีที่ b เป็นตัวอักษรใหญ่เท่านั้น เป็นต้น ในกรณีนี้เมื่อ NVDA อ่านเจอคำว่า Bird ที่ตัว b เป็นตัวใหญ่ก็จะอ่านว่า frog แต่ถ้าอ่านเจอคำว่า bird ที่ตัว b เป็นตัวเล็กก็จะอ่านว่า bird เหมือนเดิม นอกจากนี้ช่องทำเครื่องหมายถัดไปเป็นช่องที่กำหนด regular expression ของคำที่ต้องการกำหนดวิธีอ่าน regular expression คือรูปแบบของคำหรือวลีที่มีเครื่องหมายพิเศษช่วยให้คุณสามารถรวมตัวอักษร หรือตัวอักษรและตัวเลขได้มากกว่า 1 ตัวในเวลาเดียวกัน ในคู่มือนี้ไม่มีตัวอย่างของ Regular expressions แต่คุณสามารถหาบทเรียนที่จะทำให้คุณเข้าใจได้จากเว็บไซต์
11.1.15 การออกเสียงเครื่องหมายวรรคตอน / สัญลักษณ์
กล่องโต้ตอบนี้จะช่วยให้คุณสามารถเปลี่ยนวิธีการอ่านเครื่องหมายวรรคตอนและสัญลักษณ์อื่น ๆ รวมถึงการกำหนดระดับการอ่านสัญลักษณ์นั้นๆ (ตามหัวข้อ Punctuation/Symbol Level)
เมื่อเข้ามาในส่วนนี้ ในช่องแรกคุณจะพบรายการของเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ต่างๆ และช่องถัดไปจะเป็นช่อง Replacement ไว้สำหรับกำหนดการอ่านให้เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์นั้นๆ ใหม่ (ในกรณีที่โปรแกรมอ่านไม่ถูกต้องหรือผู้ใช้ต้องการกำหนดการอ่านด้วยตนเอง) ช่องถัดไปจะเป็นตัวกำหนดระดับการอ่าน (level) ว่าจะให้เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ตัวนั้นๆ อ่านหรือไม่อ่านในระดับการอ่านสัญลักษณ์ใดๆ จากนั้นก็จะมีปุ่ม OK เพื่อบันทึกการตั้งค่า หรือคุณสามารถกดที่ปุ่ม Cancel หรือกด escape เพื่อออกจากหน้าต่างการตั้งค่านี้โดยไม่บันทึกการแก้ไขใดๆ
11.1.16 Input Gestures
ในกล่องโต้ตอบนี้คุณสามารถปรับแต่งท่าทางการสั่งงาน คำสั่งลัดของโปรแกรม NVDA ที่กดจากแป้นพิมพ์ หรือปุ่มบนBraille display โดยคำสั่งที่จะแสดงให้แก้ไขนั้นจะขึ้นอยู่กับว่าคุณอยู่ที่ไหนก่อนจะเปิดกล่องโต้ตอบนี้ขึ้นมา ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการแก้ไขคำสั่งที่เกี่ยวกับเบราส์โหมด ก็ให้อยู่ในเบราส์โหมดก่อน แล้วจึงเรียกกล่องโต้ตอบนี้ขึ้นมา
คำสั่งต่างๆ จะอยู่ใน Tree view และจัดตามหมวดหมู่ โดยคุณสามารถกรองเฉพาะคำสั่งที่ต้องการแก้ไขได้ ในช่อง Filter โดยใส่คำที่เกี่ยวข้องลงไป เมื่อต้องการแก้ไขคำสั่ง ให้เลื่อนจนเจอคำสั่งที่ต้องการแล้วกดที่ปุ่ม add จากนั้นก็ให้กดคีย์ลัดบนแป้นพิมพ์ หรือปุ่มบน Braille display ตามที่ต้องการ จากนั้น NVDA จะโฟกัสอยู่ที่ตัวเลือกว่าคุณต้องการให้คำสั่งดังกล่าวใช้กับ keyboard layout แบบใด โดยจะมีตัวเลือกของ keyboard layout แบบที่คุณกำลังใช้งานอยู่ หรือกำหนดให้ใช้กับ keyboard layout ทุกแบบ จากนั้นให้กดปุ่ม enter เพื่อเลือกฟังก์ชันดังกล่าว ถ้าต้องการยกเลิกคำสั่งให้กดที่ปุ่ม remove และกดที่ปุ่ม OK เพื่อจัดเก็บการตั้งค่า หรือกดที่ปุ่ม cancel เพื่อออกจากกล่องโต้ตอบนี้โดยไม่จัดเก็บการตั้งค่า
11.2 การบันทึกและการย้อนกลับการกำหนดค่า
โดยค่าเริ่มต้น NVDA จะบันทึกการตั้งค่าต่างๆ ของคุณโดยอัตโนมัติ เมื่อคุณปิดโปรแกรมทุกครั้ง โดยที่ตัวเลือกนี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ภายใต้ตัวเลือกการตั้งค่าทั่วไปในเมนูการตั้งค่า(อยู่ในหัวข้อ Save Configuration on Exit) หรือคุณสามารถบันทึกการตั้งค่าด้วยตนเองได้ตลอดเวลา จาก NVDA เมนู -> Save configuration
นอกจากนี้ใน NVDA ก็ยังมีตัวเลือกสำหรับการย้อนกลับการตั้งค่า (Revert to saved configuration) ซึ่งจะย้อนกลับไปใช้ค่าก่อนหน้านี้ที่คุณเคยบันทึกไว้ หรือการ reset การตั้งค่าให้กลับไปเป็นค่ามาตรฐานโรงงาน (Reset configuration to factory defaults)หมายถึงค่าเริ่มต้นเหมือนตอนลงโปรแกรมใหม่ๆ
คำสั่งที่ใช้สำหรับการตั้งค่าหรือย้อนกลับการตั้งค่าของ NVDA
ชื่อ | คำสั่งเดสก์ท็อป | คำสั่งแล็บท็อป | คำอธิบาย --------- | --------- | --------- | --------- บันทึกการตั้งค่า | NVDA+Control+c | NVDA+Control+c | บันทึกการตั้งค่าปัจจุบันของคุณเพื่อให้มันไม่หายไปเมื่อคุณออกจาก NVDA ย้อนกลับการตั้งค่า | NVDA+Control+r | NVDA+Control+r | กดหนึ่งครั้งเพื่อย้อนกลับการตั้งค่าไปยังครั้งล่าสุดที่คุณเคยบันทึกไว้ กดสามครั้งเพื่อกลับไปใช้ค่ามาตรฐานจากโรงงาน
11.3 การตั้งค่าโปรไฟล์
การใช้งาน NVDA ในบางครั้งคุณอาจจะต้องการการตั้งค่าที่ต่างกันสำหรับการใช้งานในสถานการณ์ที่ต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจจะต้องการให้ NVDA อ่านการย่อหน้าในขณะที่คุณกำลังแก้ไขเอกสาร หรือคุณอาจจะต้องการให้ NVDA อ่านลักษณะตัวอักษรในขณะที่คุณกำลังพิสูจน์อักษร NVDA สามารถให้คุณทำสิ่งเหล่านี้ได้โดยการตั้งค่าโปรไฟล์
การตั้งค่าโปรไฟล์จะมีเพียงการตั้งค่าต่างๆ ที่ถูกเปลี่ยนแปลงในขณะที่โปรไฟล์ถูกแก้ไขเท่านั้น ซึ่งการตั้งค่าส่วนใหญ่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในการตั้งค่าโปรไฟล์ ยกเว้นการตั้งค่าต่างๆ ในการตั้งค่าทั่วไปซึ่งการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าในส่วนนั้นจะมีผลกับ NVDA ทั้งหมด
คุณสามารถเปิดใช้งานการตั้งค่าโปรไฟล์ได้ด้วยตัวเอง และยังสามารถตั้งค่าให้การตั้งค่าโปรไฟล์ทำงานได้โดยอัตโนมัติอีกด้วยโดยการใช้ทริกเกอร์ เช่น การสลับไปยังแอพพลิเคชันที่ตั้งค่าไว้โดยเฉพาะ
11.3.1 การจัดการพื้นฐาน
คุณสามารถจัดการการตั้งค่าโปรไฟล์ได้โดยการเลือก "การตั้งค่าโปรไฟล์" ใน NVDA เมนู และยังสามารถเข้าถึงการจัดการโปรไฟล์ได้โดยใช้คำสั่งนี้
- NVDA+control+p: เพื่อแสดงกล่องข้อความการตั้งค่าโปรไฟล์
ตัวควบคุมแรกในกล่องข้อความนี้คือรายชื่อโปรไฟล์ ซึ่งคุณสามารถเลือกได้ 1 โปรไฟล์ จากโปรไฟล์ทั้งหมดที่มี เมื่อคุณเปิดกล่องข้อความนี้ขึ้นมาโปรไฟล์ที่คุณกำลังแก้ไขอยู่จะถูกเลือกไว้ ข้อมูลเพิ่มเติมของโปรไฟล์ที่กำลังทำงานอยู่จะถูกแสดงไว้ด้วยเพื่อให้คุณรู้ว่าโปรไฟล์นั้นถูกเปิดใช้งานโดยตัวคุณเอง เปิดใช้งานโดยทริกเกอร์ และ/หรือกำลังมีการแก้ไขอยู่
หากคุณต้องการเปลี่ยนชื่อหรือลบโปรไฟล์ให้กดปุ่มเปลี่ยนชื่อ หรือปุ่มลบ ในกล่องข้อความตามลำดับ กดปุ่มปิดเพื่อปิดกล่องข้อความ
11.3.2 การสร้างโปรไฟล์
หากคุณต้องการสร้างโปรไฟล์ใหม่ให้คุณกดปุ่มใหม่ในกล่องข้อความ
ในกล่องข้อความโปรไฟล์ใหม่ คุณสามารถใส่ชื่อโปรไฟล์ตามที่คุณต้องการ และคุณยังสามารถเลือกวิธีเปิดใช้งานโปรไฟล์ได้อีกด้วย ถ้าคุณต้องการเปิดใช้โปรไฟล์ด้วยตัวเองให้คุณเลือก Manual activation, ซึ่งถูกตั้งเป็นค่าเริ่มต้น แต่ถ้าคุณไม่ต้องการเปิดใช้โปรไฟล์ด้วยตัวเองให้เลือกทริกเกอร์ ซึ่งจะเปิดใช้งานโปรไฟล์นี้โดยอัตโนมัติเพื่อความสะดวกสบายในการใช้งานของคุณ ถ้าหากคุณยังไม่ได้ใส่ชื่อโปรไฟล์ของคุณการที่คุณเลือกให้โปรไฟล์นี้ถูกเปิดใช้งานโดยทริกเกอร์ชื่อโปรไฟล์ของคุณจะถูกตั้งโดยอัตโนมัติตามการใช้งานของคุณในขณะนั้น (ยกตัวอย่างเช่น ในขณะที่คุณกำลังสร้างโปรไฟล์ใหม่ถ้าหากคุณกำลังใช้งาน Wordpad ชื่อโปรไฟล์ของคุณก็จะถูกตั้งว่า Wordpad โดยอัตโนมัติ ซึ่งคุณสามารถแก้ไขชื่อโปรไฟล์นี้ได้) ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับทริกเกอร์ ข้างล่างนี้
กดปุ่มตกลงเพื่อสร้างโปรไฟล์และปิดกล่องข้อความการตั้งค่าโปรไฟล์เพื่อให้คุณสามารถแก้ไขโปรไฟล์นี้ได้
11.3.3 การเปิดใช้งานด้วยตัวเอง
คุณสามารถเปิดใช้งานโปรไฟล์ได้ด้วยตัวเองโดยเลือกโปรไฟล์ที่คุณต้องการแล้วกดปุ่ม Manual activate
เมื่อเปิดใช้งานโปรไฟล์ที่คุณต้องการแล้วโปรไฟล์อื่นๆ ยังสามารถถูกเปิดใช้งานได้โดยทริกเกอร์ แต่การตั้งค่าต่างๆ ในโปรไฟล์ที่คุณเปิดใช้งานด้วยตัวเองจะแทนที่การตั้งค่าในโปรไฟล์ที่เปิดใช้งานโดยทริกเกอร์ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าโปรไฟล์นั้นถูกกำหนดให้ทริกเกอร์ทำงานโดยอัตโนมัติสำหรับแอพพลิเคชันที่คุณกำลังใช้งานอยู่และในโปรไฟล์นั้นตั้งค่าไว้ให้ NVDA อ่านลิงค์ในแอพพลิเคชันนั้น แต่ในโปรไฟล์ที่คุณเปิดใช้งานด้วยตัวเองตั้งค่าโดยปิดการอ่านลิงค์ของ NVDA ลิงค์ในแอพพลิเคชันที่คุณกำลังใช้งานจะถูกปิดการอ่านตามโปรไฟล์ที่คุณเปิดใช้งานด้วยตัวเอง อย่างไรก็ตามถ้าคุณเปลี่ยนการตั้งค่าเสียงในโปรไฟล์ที่กำหนดให้ทริกเกอร์ทำงานโดยอัตโนมัติ แต่ไม่ได้เปลี่ยนการตั้งค่าเสียงในโปรไฟล์ที่เปิดใช้งานด้วยตัวเอง NVDA จะใช้การตั้งค่าเสียงในโปรไฟล์ที่กำหนดให้ทริกเกอร์ทำงานโดยอัตโนมัติ การตั้งค่าต่างๆ ที่คุณเปลี่ยนแปลงจะถูกเก็บไว้ในโปรไฟล์ที่ถูกเปิดใช้งานด้วยตัวเอง คุณสามารถปิการใช้งานโปรไฟล์ที่คุณเปิดด้วยตัวเองให้เลือกโปรไฟล์นั้นในกล่องข้อความการตั้งค่าโปรไฟล์และกดปุ่ม Manual deactivate
11.3.4 ทริกเกอร์
ปุ่มทริกเกอร์ใน กล่องโต้ตอบการตั้งค่าโปรไฟล์ ช่วยให้คุณสามารถ เปลี่ยนรูปแบบที่ควรจะทำงานโดยอัตโนมัติสำหรับทริกเกอร์ต่างๆ
รายการทริกเกอร์จะแสดงทริกเกอร์ทั้งหมดที่มีอยู่ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
- Current application: เรียกเมื่อคุณสลับไปใช้แอพพลิเคชันในปัจจุบัน
- Say all: เรียกในขณะที่ใช้คำสั่ง say all
เมื่อต้องการเปลี่ยนโปรไฟล์ที่ควรจะให้ทริกเกอร์ทำงานแบบอัตโนมัติ ให้เลือกที่ปุ่มทริกเกอร์ จากนั้นให้เลือกโปรไฟล์ที่ต้องการจากรายการโปรไฟล์ โดยคุณสามารถเลือก (normal configuration) หากคุณไม่ต้องการให้ใช้กับโปรไฟล์ใดๆ จากนั้นกดที่ปุ่มปิด เพื่อกลับไปยังหน้าการตั้งค่าโปรไฟล์
11.3.5 การแก้ไขโปรไฟล์
หากคุณเปิดใช้โปรไฟล์ด้วยตนเอง การตั้งค่าใดๆ ที่เปลี่ยนแปลง จะถูกบันทึกลงในโปรไฟล์นั้นๆ ไม่อย่างนั้นการตั้งค่าใดๆ ที่คุณมีการเปลี่ยนแปลง จะถูกบันทึกไว้ในโปรไฟล์ที่ถูกเรียกอันล่าสุด ตัวอย่างเช่น ถ้าหากคุณมีโปรไฟล์สำหรับโปรแกรม Notepad เมื่อคุณสลับไปใช้โปรแกรม Notepad การเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าใดๆ ขณะ ที่คุณใช้งานโปรแกรม Notepad อยู่ ก็จะถูกบันทึกลงในโปรไฟล์ของโปรแกรม Notepad แต่หากคุณสลับไปยังหน้าต่างอื่น และ normal configuration โปรไฟล์ ถูกเรียกขึ้นมาใช้ หากมีการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าใดๆ การตั้งค่าเหล่านั้นก็จะถูกบันทึกลงใน normal configuration ตามปกติ
หากต้องการแก้ไขรายละเอียดสำหรับ say all คุณต้อง เปิดใช้งานโปรไฟล์นั้นๆ ด้วยตนเอง
11.3.6 การปิดใช้งานทริกเกอร์ชั่วคราว
ในบางครั้งการปิดใช้งานทริกเกอร์ทั้งหมดแบบชั่วคราวก็มีประโยชน์ ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจต้องการแก้ไขรายละเอียดการเปิดใช้งานโปรไฟล์ด้วยตนเอง หรือการกำหนดค่า normal configuration ของคุณโดยไม่ก่อให้เกิดการรบกวน คุณสามารถทำเครื่องหมายที่ Temporarily disable all triggers ในกล่องโต้ตอบการตั้งค่าโปรไฟล์
11.4 ที่อยู่ของไฟล์การกำหนดค่า
NVDA แบบพกพาจะเก็บการตั้งค่า custom appModules และ custom ไดรเวอร์ทั้งหมดไว้ในไดเรกทอรีชื่อ userConfig ซึ่งถูกเก็บอยู่ในไดเรกทอรีของ NVDA
NVDA แบบติดตั้งจะเก็บการตั้งค่า custom appModules และ custom ไดรเวอร์ทั้งหมดไว้ในไดเรกทอรีพิเศษของ NVDA ซึ่งไดเรกทอรีพิเศษนี้จะอยู่ในโปรไฟล์ผู้ใช้บน windows ของคุณ นั่นหมายความว่าถ้า windows ของคุณมีผู้ใช้มากกว่า 1 คน ผู้ใช้แต่ละคนในระบบจะมีการตั้งค่า NVDA ของตัวเอง
ถ้าคุณต้องการไปยังไดเรกทอรีการตั้งค่าของ NVDA แบบติดตั้งให้ไปที่ start menu > programs > NVDA > explore user configuration directory
การตั้งค่าของ NVDA เมื่อใช้งานในหน้าการเข้าสู่ระบบ หรือหน้า UAC บน windows จะถูกเก็บไว้ในไดเรกทอรีชื่อ systemConfig ซึ่งไดเรกทอรีนี้จะอยู่ในไดเรกทอรีของ NVDA แบบติดตั้ง โดยปกติแล้วการตั้งค่านี้ไม่ควรถูกเปลี่ยนแปลงแต่ถ้าคุณต้องการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าดังกล่าวให้คุณตั้งค่า NVDA ตามที่คุณต้องการในขณะที่คุณใช้งาน windows อยู่ หลังจากได้การตั้งค่าที่ต้องการแล้วให้คุณเลือกเมนูบันทึกการตั้งค่าใน NVDA เมนู และให้กดปุ่ม Use currently saved settings on the logon and other secure screens ในการตั้งค่าทั่วไป
12. เครื่องมือพิเศษ
12.1 ตรวจดูล็อก
ตรวจดูล็อกเป็นเครื่องมือพิเศษอยู่ใน menu tool ของ NVDA menu คุณสามารถใช้เครื่องมือนี้เพื่อตรวจดูการทำงานของ NVDA ครั้งหลังสุด ตั้งแต่เริ่มเปิด NVDA ขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากจะอ่านรายละเอียดต่างๆ ได้แล้ว คุณยังสามารถเก็บสำเนาการใช้งานไว้หรือรีเฟรชข้อมูลเพื่อให้ตรวจดูล็อกแสดงข้อมูลการใช้งานหลังจากมีการเปิดตัวตรวจดูล็อกเท่านั้นก็ได้ คุณสามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้ในตรวจดูล็อก
12.2ตัวตรวจดูเสียงสังเคราะห์
สำหรับนักพัฒนาที่มองเห็นหรือผู้ที่กำลังทดสอบ NVDA ให้ผู้ชมที่มองเห็นชมอยู่ NVDA มีเครื่องมือที่จะทำให้นักพัฒนาและผู้ชมเหล่านั้นสามารถเห็นข้อความที่ NVDA กำลังอ่านได้ เครื่องมือนั้นคือ ตัวตรวจดูเสียงสังเคราะห์
คุณสามารถเปิดใช้งานตัวตรวจดูเสียงสังเคราะห์โดยการเลื่อกทำเครื่องหมายตัวตรวจดูเสียงสังเคราะห์จาก menu tools ใน NVDA menu การยกเลิกการทำเครื่องหมายอีกครั้งจะเป็นการปิดตัวตรวจดูเสียงสังเคราะห์
ในขณะที่คุณเปิดใช้ตัวตรวจดูเสียงสังเคราะห์จะมีการ update ข้อความตลอดเวลาเพื่อที่จะทำให้ตัวตรวจดูเสียงสังเคราะห์แสดงข้อมูลที่ NVDA กำลังอ่านอยู่ในปัจจุบันได้ อย่างไรก็ตามถ้าคุณคลิกข้อความภายในตัวตรวจดูจะเป็นการหยุดการ update ข้อความเพื่อให้คุณสามารถเลือกหรือคัดลอกข้อความที่แสดงอยู่ได้อย่างสะดวก
12.3 Add-ons Manager
add-ons manager เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คุณสามารถติดตั้งหรือถอนการติดตั้งส่วนเสริมของ NVDA คุณสามารถใช้งาน add-ons manager ได้โดยเลือก Manage add-ons ใน menu tools ของ NVDA menu ส่วนเสริมเหล่านี้มาจากนักพัฒนาซึ่งพัฒนา NVDA ร่วมกัน การติดตั้งส่วนเสริมจะเป็นการเพิ่มหรือเปลี่ยนคุณสมบัติของ NVDA และยังทำให้ NVDA รองรับ Braille display และโปรแกรมสังเคราะห์เสียงอื่นๆ เพิ่มเติมได้ด้วย
add-ons manager จะมี list ซึ่งแสดงรายชื่อส่วนเสริมทั้งหมดที่คุณได้ติดตั้งไว้ โดยจะแสดงเฉพาะส่วนเสริมและชื่อของผู้พัฒนาส่วนเสริม หากคุณต้องการดูรายละเอียดและ URL ของส่วนเสริมให้คุณเลือกส่วนเสริมที่คุณต้องการแล้วกดปุ่ม About add-on และหากส่วนเสริมตัวนั้นมีข้อมูลความช่วยเหลือ (ซึ่งส่วนมากก็จะเป็นวิธีใช้ส่วนเสริมตัวนั้นอย่างละเอียด) ก็ให้คุณเลือกส่วนเสริมแล้วกดที่ปุ่ม Add-on help
หากคุณต้องการดาวน์โหลดส่วนเสริมออนไลน์ ให้กดที่ปุ่ม Get Add-on เพื่อไปยังหน้าเว็บ NVDA Add-ons ซึ่งหากคุณใช้ NVDA แบบติดตั้ง ก็สามารถติดตั้งส่วนเสริมได้จากเบราส์เซอร์ได้ทันที แต่หากใช้ NVDA ในรูปแบบอื่น ก็ให้คุณจัดเก็บไฟล์ส่วนเสริม และติดตั้งตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
การติดตั้งส่วนเสริมให้คุณกดปุ่ม install แล้วเลือกไฟล์ส่วนเสริมซึ่งก็คือไฟล์ที่มีนามสกุล .nvda-addon ที่คุณต้องการ หลังจากนั้นจะมีกล่องโต้ตอบปรากฏขึ้นเพื่อให้คุณยืนยันการติดตั้ง เนื่องจากการพัฒนาส่วนเสริมไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมของ NVDA ดังนั้นการติดตั้งส่วนเสริมอาจเป็นการอนุญาติให้มีการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลหรือระบบทั้งหมดบนคอมพิวเตอร์ได้ถ้าหากคุณใช้ NVDA แบบติดตั้ง โปรดติดตั้งส่วนเสริมจากผู้พัฒนาที่น่าเชื่อถือเท่านั้น
หลังจากติดตั้งส่วนเสริมแล้วจะต้องมีการ restart NVDA เพื่อให้ส่วนเสริมนั้นเริ่มทำงาน หากคุณยังไม่ได้ restart ที่สถานะของส่วนเสริมจะปรากฏคำว่า install
ถ้าคุณต้องการถอนการติดตั้งส่วนเสริมให้คุณเลือกส่วนเสริมที่ต้องการแล้วกดปุ่ม remove หลังจากนั้นจะปรากฏกล่องข้อความเพื่อให้คุณยืนยันการถอนการติดตั้ง หลังจากการถอนการติดตั้งแล้วคุณต้อง restart NVDA เพื่อให้การถอนการติดตั้งมีผล หากคุณยังไม่ได้ restart ที่สถานะของส่วนเสริมจะปรากฏคำว่า remove
เราสามารถ disable หรือหยุดการทำงานของส่วนเสริมได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องลบส่วนเสริมตัวนั้นออก โดยเมื่อเราติดตั้งส่วนเสริมลงไปแล้ว ส่วนเสริมก็จะอยู่ในสถานะ enable ซึ่งจะมีปุ่ม disable add-on ปรากฏขึ้นมาให้เรากดเพื่อหยุดการทำงานชั่วคราวของส่วนเสริมตัวนั้น
และในกรณีตรงกันข้าม หากเรา disable ส่วนเสริมตัวนั้นไว้ ก็จะปรากฏปุ่ม enable add-on ขึ้นมาเพื่อให้เราเปิดการทำงานของส่วนเสริมตัวนั้นกลับมาอีกครั้งได้เช่นกัน
ทั้งนี้ในการ disable หรือ enable ส่วนเสริม เช่นเดียวกับเมื่อคุณติดตั้งหรือลบ add-on คุณต้องรีสตาร์ท NVDA เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงมีผลบังคับใช้
add-ons manager ยังมีปุ่ม close เพื่อปิดกล่องโต้ตอบด้วย หากคุณติดตั้งหรือถอนการติดตั้ง หรือเปลี่ยนแปลงสถานะของส่วนเสริมจะปรากฏกล่องโต้ตอบให้คุณ restart NVDA เพื่อให้การติดตั้งหรือถอนการติดตั้งมีผลสมบูรณ์
ที่ผ่านมา NVDA มีวิธีในการเพิ่มคุณสมบัติของโปรแกรมโดยการคัดลอก plugin หรือ driver แล้วนำไปวางไว้ใน user Configuration แม้ใน NVDA รุ่นปัจจุบันจะยังสามารถใช้ plugin หรือ driver นั้นได้ แต่ plugin และ driver นั้นจะไม่แสดงบน add-ons manager ทางที่ดีที่สุดคือการลบ plugin เหล่านั้นและติดตั้งส่วนเสริมที่ใช้แทน plugin หรือ driver ที่คุณเคยใช้
12.4 Python Console
Python console เป็นเครื่องมือสำหรับนักพัฒนา คุณสามารถใช้ Python console ได้จาก menu tools ของ NVDA menu ใช้สำหรับตรวจสอบการ debugg ทั่วไปหรือตรวจสอบ accessibility ของโปรแกรม สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้จากคู่มือการพัฒนาที่ หัวข้อการพัฒนาของเว็บไซต์ NVDA
12.5 Reload plugins
เมื่อเลือก menu นี้แล้วจะเป็นการโหลด app module และ global plugin ของ NVDA ทั้งหมดใหม่โดยไม่ต้อง restart NVDA ให้เสียเวลา เครื่องมือนี้เหมาะสำหรับนักพัฒนา
13. เสียงสังเคราะห์ที่รองรับ
ในส่วนนี้จะเป็นการให้ข้อมูลสำหรับเสียงสังเคราะห์บางตัวที่สามารถใช้งานร่วมกับ NVDA ได้ ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับเสียงสังเคราะห์ตัวอื่นๆ ซึ่งมีทั้งที่ให้ใช้งานได้ฟรีหรือเสียงสังเคราะห์เชิงพาณิชย์ คุณสามารถเข้าไปดูข้อมูลได้จาก http://www.nvda-project.org/wiki/ExtraVoices
13.1 eSpeak
eSpeak เป็นเสียงสังเคราะห์ที่ถูกรวมเข้ามากับ NVDA โดยตรง โดยที่มันไม่ต้องการ driver หรือส่วนเสริมพิเศษใดๆ สำหรับการทำงาน โดยค่าเริ่มต้น NVDA จะใช้เสียงสังเคราะห์ตัวนี้ เพราะว่ามันถูกรวมมากับโปรแกรมตั้งแต่แรกนั่นเอง นอกจากยังถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานแบบพกพาได้อีกด้วย
eSpeak รองรับกว่า 43 ภาษา และยังมีสำเนียงต่างๆ ให้คุณเลือกใช้งานได้อีกด้วย
13.2 Microsoft Speech API version 4 (SAPI 4)
SAPI 4 เป็นซอฟต์แวร์สำหรับการสังเคราะห์เสียงพูดมาตรฐานรุ่นเก่าสำหรับไมโครซอฟท์ ซึ่งเสียงพูดสังเคราะห์หลายตัวที่คุณสามารถซื้อหรือดาวน์โหลดได้ฟรีจาก บริษัท และเว็บไซต์ต่างๆ ก็สามารถทำงานร่วมกับมาตรฐานนี้ได้
เมื่อใช้เสียงสังเคราะห์ตัวนี้ร่วมกับ NVDA เสียงที่สามารถใช้งานได้ จะเข้าถึงได้จาก การตั้งค่าเสียง หรือ การตั้งค่าเสียงด้วย ring key ซึ่งจะมีเสียง SAPI 4 ทั้งหมดที่พบบน Windows ของคุณ
ถ้าหากคุณติดตั้ง SAPI 4 ไว้อยู่แล้ว แต่มันไม่แสดงในรายการเสียงสังเคราะห์ของ NVDA คุณจะต้องติดตั้ง SAPI 4.0 runtime binaries ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้จาก http://activex.microsoft.com/activex/controls/sapi/spchapi.exe
13.3 Microsoft Speech API version 5 (SAPI 5)
SAPI 5 เป็นซอฟต์แวร์สำหรับการสังเคราะห์เสียงพูดมาตรฐานสำหรับไมโครซอฟท์ ซึ่งเสียงพูดสังเคราะห์หลายตัวที่คุณสามารถซื้อหรือดาวน์โหลดได้ฟรีจาก บริษัท และเว็บไซต์ต่างๆ ก็จะสามารถทำงานร่วมกับมาตรฐานนี้(รวมถึง PPA ตาทิพย์) ซึ่งแปลว่าบน Windows ของคุณ ก็จะต้องมีอย่างน้อยหนึ่งเสียง SAPI 5 ติดตั้งไว้อยู่แล้ว
เมื่อใช้เสียงสังเคราะห์ตัวนี้ร่วมกับ NVDA เสียงที่สามารถใช้งานได้ จะเข้าถึงได้จาก การตั้งค่าเสียง หรือ การตั้งค่าเสียงด้วย ring key ซึ่งจะมีเสียง SAPI 5 ทั้งหมดที่พบบน Windows ของคุณ
13.4 Microsoft Speech Platform
Microsoft Speech Platform สามารถใช้งานเสียงได้ในหลายภาษา ซึ่งโดยปกติจะใช้ในการพัฒนาเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้โปรแกรมการพูด แต่เสียงสังเคราะห์ตัวนี้ก็ยังสามารถใช้งานร่วมกับ NVDA ได้เช่นกัน
โดยหากต้องการใช้งานร่วมกับ NVDA คุณจำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมทั้งสองส่วนต่อไปนี้
- Microsoft Speech Platform - Runtime (Version 11) x86: http://www.microsoft.com/download/en/details.aspx?id=27225
- ?Microsoft Speech Platform - Runtime Languages (Version 11): http://www.microsoft.com/download/en/details.aspx?id=27224 ซึ่งในหน้านี้จะประกอบไปด้วยไฟล์สำหรับเสียงสังเคราะห์และการรู้จำเสียงพูดจำนวนมาก คุณจะต้องเลือกไฟล์ TTS ในภาษาที่คุณต้องการ ตัวอย่างเช่น MSSpeechTTSen-US_ZiraPro.msi จะเป็นเสียงภาษาอังกฤษของสหรัฐอเมริกา (ไม่มีเสียงสำหรับภาษาไทย)
13.5 Windows oneCore Voices
Windows 10 ได้เพิ่มเสียงสังเคราะห์ตัวใหม่ที่ชื่อว่า "oneCore" หรือ "Mobile" เข้ามาให้เราได้ใช้งานกัน ซึ่งได้รองรับภาษาหลากหลายมากขึ้น รวมถึงการตอบสนองที่ดีกว่าเสียงสังเคราะห์ตัวเดิมคือ Microsoft Speech API เวอร์ชัน 5
โปรดอ่านบทความของ Microsoft นี้สำหรับรายชื่อของเสียงที่มีอยู่และคำแนะนำในการติดตั้ง https://support.microsoft.com/en-us/help/22797/windows-10-narrator-tts-voices
หมายเหตุ: อัตราการอ่านที่เร็วขึ้นนี้ สามารถใช้งานได้กับ โปรแกรมNarrator ในขณะนี้ยังไม่รองรับใน NVDA นอกจากนี้ความเร็วที่คุณเลือกในการตั้งค่าของ Windows มีผลกระทบต่ออัตราความเร็วสำหรับการอ่านที่กำหนดใน NVDA ประเด็นเหล่านี้เป็นปัญหาที่เราไม่สามารถแก้ไขได้โดยไม่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงในตัวระบบปฏิบัติการWindowsเอง เราหวังว่าสิ่งเหล่านี้จะได้รับการแก้ไขในการปรับปรุงของ Windows ในอนาคต
13.6 Audiologic Tts3
เสียงสังเคราะห์ตัวนี้เป็นเสียงสังเคราะห์เชิงพาณิชย์สำหรับภาษาอิตาลี่ โดยที่คุณต้องติดตั้งเสียงสังเคราะห์ไว้ในคอมพิวเตอร์ของคุณเสียก่อน ถึงจะสามารถใช้งานร่วมกับ NVDA ได้
ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเข้าไปดูได้จากเว็บไซต์ของ Audiologic ที่ www.audiologic.it เสียงสังเคราะห์ตัวนี้ไม่รองรับ spelling functionality
13.7 Nuance Vocalizer for NVDA
Nuance Vocalizer เป็นเสียงสังเคราะห์เชิงพาณิชย์ ที่มีคุณภาพสูง ซึ่งพัฒนาโดย Nuance Communications, Inc. และ Tiflotecnia เป็นผู้พัฒนาให้สามารถใช้งานร่วมกับ NVDA ได้ โดย Vocalizer for NVDA นี้มีมากกว่า 70 สำเนียง ในกว่า 40 ภาษาให้เลือกใช้ และมันยังถูกทำให้อยู่ในรูปแบบของ NVDA add-on package ซึ่งทำให้มั่นใจได้ว่าคุณจะสามารถใช้งานมันกับ NVDA แบบพกพาได้ด้วยนั่นเอง
คุณสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติม รวมถึงสั่งซื้อ Vocalizer for NVDA ได้จากเว็บไซต์ www.vocalizer-nvda.com นอกจากนี้ส่วนหนึ่งจากยอดขาย จะถูกบริจาคให้ NVDA เพื่อสนับสนุนการพัฒนาโปรแกรมอ่านจอภาพตัวนี้ต่อไปอีกด้วย
14. เครื่องแสดงผลด้วยอักษรเบรลล์ที่รองรับ
This section contains information about the Braille displays supported by NVDA.
14.1. Freedom Scientific Focus/PAC Mate Series
All Focus and PAC Mate displays from Freedom Scientific are supported when connected via USB or bluetooth. You will need the Freedom Scientific braille display drivers installed on your system. If you do not have them already, you can obtain them from http://www2.freedomscientific.com/downloads/focus-40-blue/focus-40-14-blue-downloads.asp. Although this page only mentions the Focus Blue display, the drivers support all Freedom Scientific Focus and Pacmate displays. If your system is running 64 bit Windows and the drivers were already installed by another screen reader, you will probably still need to install the drivers from this link, as the files required by NVDA were probably not installed by the other screen reader.
By default, NVDA can automatically detect and connect to these displays either via USB or bluetooth. However, when configuring the display, you can explicitly select "USB" or "Bluetooth" ports to restrict the connection type to be used. This might be useful if you want to connect the focus display to NVDA using bluetooth, but still be able to charge it using USB power from your computer.
Following are the key assignments for this display with NVDA. Please see the display's documentation for descriptions of where these keys can be found.
Name | Key |
---|---|
Scroll braille display back | topRouting1 (first cell on display) |
Scroll braille display forward | topRouting20/40/80 (last cell on display) |
Scroll braille display back | leftAdvanceBar |
Scroll braille display forward | rightAdvanceBar |
Toggle braille tethered to | leftGDFButton+rightGDFButton |
Toggle left wiz wheel action | leftWizWheelPress |
Move back using left wiz wheel action | leftWizWheelUp |
Move forward using left wiz wheel action | leftWizWheelDown |
Toggle right wiz wheel action | rightWizWheelPress |
Move back using right wiz wheel action | rightWizWheelUp |
Move forward using right wiz wheel action | rightWizWheelDown |
Route to braille cell | routing |
shift+tab key | brailleSpaceBar+dot1+dot2 |
tab key | brailleSpaceBar+dot4+dot5 |
upArrow key | brailleSpaceBar+dot1 |
downArrow key | brailleSpaceBar+dot4 |
control+leftArrow key | brailleSpaceBar+dot2 |
control+rightArrow key | brailleSpaceBar+dot5 |
leftArrow | brailleSpaceBar+dot3 |
rightArrow key | brailleSpaceBar+dot6 |
home key | brailleSpaceBar+dot1+dot3 |
end key | brailleSpaceBar+dot4+dot6 |
control+home key | brailleSpaceBar+dot1+dot2+dot3 |
control+end key | brailleSpaceBar+dot4+dot5+dot6 |
alt key | brailleSpaceBar+dot1+dot3+dot4 |
alt+tab key | brailleSpaceBar+dot2+dot3+dot4+dot5 |
escape key | brailleSpaceBar+dot1+dot5 |
windows key | brailleSpaceBar+dot2+dot4+dot5+dot6 |
space key | brailleSpaceBar |
windows+d key (minimize all applications) | brailleSpaceBar+dot1+dot2+dot3+dot4+dot5+dot6 |
Report Current Line | brailleSpaceBar+dot1+dot4 |
NVDA menu | brailleSpaceBar+dot1+dot3+dot4+dot5 |
For newer Focus models that contain rocker bar keys (focus 40, focus 80 and focus blue):
Name | Key |
---|---|
Move braille display to previous line | leftRockerBarUp, rightRockerBarUp |
Move braille display to next line | leftRockerBarDown, rightRockerBarDown |
For Focus 80 only:
Name | Key |
---|---|
Scroll braille display back | leftBumperBarUp, rightBumperBarUp |
Scroll braille display forward | leftBumperBarDown, rightBumperBarDown |
14.2. Optelec ALVA BC640/680
Both the ALVA BC640 and BC680 displays from Optelec are supported when connected via USB or bluetooth. You do not need any specific drivers to be installed to use these displays. Just plug in the display and configure NVDA to use it.
While these displays do have a braille keyboard, they handle translation from braille to text themselves. Therefore, NVDA's braille input table setting is not relevant.
Following are the key assignments for this display with NVDA. Please see the display's documentation for descriptions of where these keys can be found.
Name | Key |
---|---|
Scroll braille display back | t1 or etouch1 |
Move braille display to previous line | t2 |
Move to current focus | t3 |
Move braille display to next line | t4 |
Scroll braille display forward | t5 or etouch3 |
Route to braille cell | routing |
Move to top line in review | t1+t2 |
Move to bottom line in review | t4+t5 |
Toggle braille tethered to | t1+t3 |
Report title | etouch2 |
Report status bar | etouch4 |
shift+tab key | sp1 |
alt key | sp2 |
escape key | sp3 |
tab key | sp4 |
upArrow key | spUp |
downArrow key | spDown |
leftArrow key | spLeft |
rightArrow key | spRight |
enter key | spEnter |
Report date/time | sp1+sp2 |
NVDA Menu | sp1+sp3 |
windows+d key (minimize all applications) | sp1+sp4 |
windows+b key (focus system tray) | sp3+sp4 |
windows key | sp2+sp3 |
alt+tab key | sp2+sp4 |
control+home key | t3+spUp |
control+end key | t3+spDown |
home key | t3+spLeft |
end key | t3+spRight |
14.3. Handy Tech Displays
NVDA supports all displays from Handy Tech when connected via USB or bluetooth. For older USB displays, you will need to install the USB drivers from Handy Tech on your system.
Braille input is not yet supported.
Following are the key assignments for this display with NVDA. Please see the display's documentation for descriptions of where these keys can be found.
Name | Key |
---|---|
Scroll braille display back | left, up |
Scroll braille display forward | right, down |
Move braille display to previous line | b4 |
Move braille display to next line | b5 |
Route to braille cell | routing |
shift+tab key | esc |
alt key | b2+b4+b5 |
escape key | b4+b6 |
tab key | enter |
enter key | esc+enter |
upArrow key | leftSpace |
downArrow key | rightSpace |
NVDA Menu | b2+b4+b5+b6 |
Handy Tech configuration | b4+b8 |
14.4. MDV Lilli
The Lilli braille display available from MDV is supported. You do not need any specific drivers to be installed to use this display. Just plug in the display and configure NVDA to use it.
Following are the key assignments for this display with NVDA. Please see the display's documentation for descriptions of where these keys can be found.
Name | Key |
---|---|
Scroll braille display backward | LF |
Scroll braille display forward | RG |
Move braille display to previous line | UP |
Move braille display to next line | DN |
Route to braille cell | route |
shift+tab key | SLF |
tab key | SRG |
alt+tab key | SDN |
alt+shift+tab key | SUP |
14.5. Baum/Humanware/APH/Orbit Braille Displays
Several Baum, HumanWare, APH and Orbit displays are supported when connected via USB, bluetooth or serial. These include:
- Baum: SuperVario, PocketVario, VarioUltra, Pronto!, SuperVario2, Vario 340
- HumanWare: Brailliant, BrailleConnect, Brailliant2
- APH: Refreshabraille
- Orbit: Orbit Reader 20
Some other displays manufactured by Baum may also work, though this has not been tested.
If connecting via USB to displays which do not use HID, you must first install the USB drivers provided by the manufacturer. The VarioUltra and Pronto! use HID. The Refreshabraille and Orbit Reader 20 can use HID if configured appropriately.
The USB serial mode of the Orbit Reader 20 is currently only supported in Windows 10. USB HID should generally be used instead.
Following are the key assignments for these displays with NVDA. Please see your display's documentation for descriptions of where these keys can be found.
Name | Key |
---|---|
Scroll braille display back | d2 |
Scroll braille display forward | d5 |
Move braille display to previous line | d1 |
Move braille display to next line | d3 |
Route to braille cell | routing |
For displays which have a joystick:
Name | Key |
---|---|
upArrow key | up |
downArrow key | down |
leftArrow key | left |
rightArrow key | right |
enter key | select |
14.6. hedo ProfiLine USB
The hedo ProfiLine USB from hedo Reha-Technik is supported. You must first install the USB drivers provided by the manufacturer.
Following are the key assignments for this display with NVDA. Please see the display's documentation for descriptions of where these keys can be found.
Name | Key |
---|---|
Scroll braille display back | K1 |
Scroll braille display forward | K3 |
Move braille display to previous line | B2 |
Move braille display to next line | B5 |
Route to braille cell | routing |
Toggle braille tethered to | K2 |
Say all | B6 |
14.7. hedo MobilLine USB
The hedo MobilLine USB from hedo Reha-Technik is supported. You must first install the USB drivers provided by the manufacturer.
Following are the key assignments for this display with NVDA. Please see the display's documentation for descriptions of where these keys can be found.
Name | Key |
---|---|
Scroll braille display back | K1 |
Scroll braille display forward | K3 |
Move braille display to previous line | B2 |
Move braille display to next line | B5 |
Route to braille cell | routing |
Toggle braille tethered to | K2 |
Say all | B6 |
14.8. HumanWare Brailliant BI/B Series
The Brailliant BI and B series of displays from HumanWare, including the BI 32, BI 40 and B 80, are supported when connected via USB or bluetooth. If connecting via USB with the protocol set to HumanWare, you must first install the USB drivers provided by the manufacturer. USB drivers are not required if the protocol is set to OpenBraille.
Following are the key assignments for this display with NVDA. Please see the display's documentation for descriptions of where these keys can be found.
Name | Key |
---|---|
Scroll braille display back | left |
Scroll braille display forward | right |
Move braille display to previous line | up |
Move braille display to next line | down |
Route to braille cell | routing |
Toggle braille tethered to | up+down |
upArrow key | space+dot1 |
downArrow key | space+dot4 |
leftArrow key | space+dot3 |
rightArrow key | space+dot6 |
NVDA Menu | c1+c3+c4+c5 (command n) |
shift+tab key | space+dot1+dot3 |
tab key | space+dot4+dot6 |
alt key | space+dot1+dot3+dot4 (space+m) |
escape key | space+dot1+dot5 (space+e) |
enter key | dot8 |
windows+d key (minimize all applications) | c1+c4+c5 (command d) |
windows key | space+dot3+dot4 |
alt+tab key | space+dot2+dot3+dot4+dot5 (space+t) |
Say all | c1+c2+c3+c4+c5+c6 |
14.9. HIMS Braille Sense/Braille EDGE/Smart Beetle Series
NVDA supports Braille Sense, Braille EDGE and Smart Beetle displays from Hims when connected via USB or bluetooth. If connecting via USB, you will need to install the USB drivers from HIMS on your system. You can download these from this page: http://www.himsintl.com/?c=2/13&uid=2319
Following are the key assignments for these displays with NVDA. Please see the display's documentation for descriptions of where these keys can be found.
Name | Key |
---|---|
Scroll braille display back | left side scroll down |
Scroll braille display forward | right side scroll down |
Move braille display to previous line | left side scroll up |
Move braille display to next line | right side scroll up |
Route to braille cell | routing |
shift+tab key | dot1+dot2+space |
alt key | dot1+dot3+dot4+Space |
escape key | dot1+dot5+Space |
tab key | dot4+dot5+Space |
upArrow key | dot1+Space |
downArrow key | dot4+Space |
capsLock | dot1+dot3+dot6+space |
shift+alt+tab key | advance2+advance3+advance1 |
alt+tab key | advance2+advance3 |
end key | dot4+dot6+space |
Control+end key | dot4+dot5+dot6+space |
home key | dot1+dot3+space |
control+home key | dot1+dot2+dot3+space |
leftArrow key | dot3+space |
control+shift+leftArrow key | dot2+dot8+space+advance1 |
control+leftArrow key | dot2+space |
shift+alt+leftArrow key | dot2+dot7+advance1 |
alt+leftArrow key | dot2+dot7 |
rightArrow key | dot6+space |
control+shift+rightArrow key | dot5+dot8+space+advance1 |
control+rightArrow key | dot5+space |
shift+alt+rightArrow key | dot5+dot7+advance1 |
alt+rightArrow key | dot5+dot7 |
pageUp key | dot1+dot2+dot6+space |
control+pageUp key | dot1+dot2+dot6+dot8+space |
control+shift+upArrow key | dot2+dot3+dot8+space+advance1 |
control+upArrow key | dot2+dot3+space |
shift+alt+upArrow key | dot2+dot3+dot7+advance1 |
alt+upArrow key | dot2+dot3+dot7 |
shift+upArrow key | left side scroll down + space |
pageDown key | dot3+dot4+dot5+space |
control+pagedown key | dot3+dot4+dot5+dot8+space |
control+shift+downArrow key | dot5+dot6+dot8+space+advance1 |
control+downArrow key | dot5+dot6+space |
shift+alt+downArrow key | dot5+dot6+dot7+advance1 |
alt+downArrow key | dot5+dot6+dot7 |
shift+downArrow key | right side scroll down + space |
delete key | dot1+dot3+dot5+space |
f1 key | dot1+dot2+dot5+space |
f3 key | dot1+dot2+dot4+dot8 |
f4 key | dot7+advance3 |
windows+b key | dot1+dot2+advance1 |
windows+d key | dot1+dot4+dot5+advance1 |
14.10. HIMS SyncBraille
NVDA supports the SyncBraille Display from HIMS. You will need to install the USB drivers from HIMS on your system.
Following are the key assignments for this display with NVDA. Please see the display's documentation for descriptions of where these keys can be found.
Name | Key |
---|---|
Scroll braille display back | left side scroll down |
Scroll braille display forward | right side scroll down |
Route to braille cell | routing |
14.11. Seika Braille Displays
The Seika Version 3, 4 and 5 (40 cells) and Seika80 (80 cells) braille displays from Nippon Telesoft are supported. You can find more information about these displays at http://www.seika-braille.com/. You must first install the USB drivers provided by the manufacturer.
Following are the key assignments for this display with NVDA. Please see the display's documentation for descriptions of where these keys can be found.
Name | Key |
---|---|
Scroll braille display back | left |
Scroll braille display forward | right |
Move braille display to previous line | b3 |
Move braille display to next line | b4 |
Toggle braille tethered to | b5 |
Say all | b6 |
tab | b1 |
shift+tab | b2 |
alt+tab | b1+b2 |
NVDA Menu | left+right |
Route to braille cell | routing |
14.12. Papenmeier BRAILLEX Newer Models
The following Braille displays are supported:
- BRAILLEX EL 40c, EL 80c, EL 20c, EL 60c (USB)
- BRAILLEX EL 40s, EL 80s, EL 2d80s, EL 70s, EL 66s (USB)
- BRAILLEX Trio (USB and bluetooth)
- BRAILLEX Live 20, BRAILLEX Live and BRAILLEX Live Plus (USB and bluetooth)
If BrxCom is installed, NVDA will use BrxCom. BrxCom is a tool that allows keyboard input from the braille display to function independently from a screen reader. A new version of BrxCom which works with NVDA will be released by Papenmeier soon. Keyboard input is possible with the Trio and BRAILLEX Live models.
Most devices have an Easy Access Bar (EAB) that allows intuitive and fast operation. The EAB can be moved in four directions where generally each direction has two switches. The C and Live series are the only exceptions to this rule.
The c-series and some other displays have two routing rows whereby the upper row is used to report formatting information. Holding one of the upper routing keys and pressing the EAB on c-series devices emulates the second switch state. The live series displays have one routing row only and the EAB has one step per direction. The second step may be emulated by pressing one of the routing keys and pressing the EAB in the corresponding direction. Pressing and holding the up, down, right and left keys (or EAB) causes the corresponding action to be repeated.
Generally, the following keys are available on these braille displays:
Name | Key |
---|---|
l1 | Left front key |
l2 | Left rear key |
r1 | Right front key |
r2 | Right rear key |
up | 1 Step up |
up2 | 2 Steps up |
left | 1 Step left |
left2 | 2 Steps left |
right | 1 Step right |
right2 | 2 Steps right |
dn | 1 Step down |
dn2 | 2 Steps down |
Following are the Papenmeier command assignments for NVDA:
Name | Key |
---|---|
Scroll braille display back | left |
Scroll braille display forward | right |
Move braille display to previous line | up |
Move braille display to next line | dn |
Route to braille cell | routing |
Report current character in review | l1 |
Activate current navigator object | l2 |
Toggle braille tethered to | r2 |
Report title | l1+up |
Report Status Bar | l2+down |
Move to containing object | up2 |
Move to first contained object | dn2 |
Move to previous object | left2 |
Move to next object | right2 |
Report text formatting | upper routing row |
The Trio model has four additional keys which are in front of the braille keyboard. These are (ordered from left to right):
- left thumb key (lt)
- space
- space
- right thumb key (rt)
Currently, the right thumb key is not in use. The inner keys are both mapped to space.
Name | Key |
---|---|
escape key | space with dot 7 |
upArrow key | space with dot 2 |
leftArrow key | space with dot 1 |
rightArrow key | space with dot 4 |
downArrow | space with dot 5 |
control key | lt+dot2 |
alt key | lt+dot3 |
control+escape key | space with dot 1 2 3 4 5 6 |
tab key | space with dot 3 7 |
14.13. Papenmeier Braille BRAILLEX Older Models
The following Braille displays are supported:
- BRAILLEX EL 80, EL 2D-80, EL 40 P
- BRAILLEX Tiny, 2D Screen
Note that these displays can only be connected via a serial port. Therefore, you should select the port to which the display is connected after you have chosen this driver in the Braille Settings dialogue.
Some of these devices have an Easy Access Bar (EAB) that allows intuitive and fast operation. The EAB can be moved in four directions where generally each direction has two switches. Pressing and holding the up, down, right and left keys (or EAB) causes the corresponding action to be repeated. Older devices do not have an EAB; front keys are used instead.
Generally, the following keys are available on braille displays:
Name | Key |
---|---|
l1 | Left front key |
l2 | Left rear key |
r1 | Right front key |
r2 | Right rear key |
up | 1 Step up |
up2 | 2 Steps up |
left | 1 Step left |
left2 | 2 Steps left |
right | 1 Step right |
right2 | 2 Steps right |
dn | 1 Step down |
dn2 | 2 Steps down |
Following are the Papenmeier command assignments for NVDA:
Devices with EAB:
Name | Key |
---|---|
Scroll braille display back | left |
Scroll braille display forward | right |
Move braille display to previous line | up |
Move braille display to next line | dn |
Route to braille cell | routing |
Report current character in review | l1 |
Activate current navigator object | l2 |
Report title | l1up |
Report Status Bar | l2down |
Move to containing object | up2 |
Move to first contained object | dn2 |
Move to next object | right2 |
Move to previous object | left2 |
Report text formatting | Upper routing strip |
BRAILLEX Tiny:
Name | Key |
---|---|
Report current character in review | l1 |
Activate current navigator object | l2 |
Scroll braille display back | left |
Scroll braille display forward | right |
Move braille display to previous line | up |
Move braille display to next line | dn |
Toggle braille tethered to | r2 |
Move to containing object | r1+up |
Move to first contained object | r1+dn |
Move to previous object | r1+left |
Move to next object | r1+right |
Report text formatting | reportf |
Report title | l1+up |
Report status bar | l2+down |
BRAILLEX 2D Screen:
Name | Key |
---|---|
Report current character in review | l1 |
Activate current navigator object | l2 |
Toggle braille tethered to | r2 |
Report text formatting | reportf |
Move braille display to previous line | up |
Scroll braille display back | left |
Scroll braille display forward | right |
Move braille display to next line | dn |
Move to next object | left2 |
Move to containing object | up2 |
Move to first contained object | dn2 |
Move to previous object | right2 |
14.14. HumanWare BrailleNote
NVDA supports the BrailleNote notetakers from Humanware when acting as a display terminal for a screen reader. The following models are supported:
- BrailleNote Classic (serial connection only)
- BrailleNote PK (Serial and bluetooth connections)
- BrailleNote MPower (Serial and bluetooth connections)
- BrailleNote Apex (USB and Bluetooth connections)
If your device supports more than one type of connection, when connecting your BrailleNote to NVDA, you must set the braille terminal port in braille terminal options. Please check the BrailleNote manual for details. In NVDA, you may also need to set the port in the Braille Settings dialog. If you are connecting via USB or bluetooth, you can set the port to "Automatic", "USB" or "Bluetooth", depending on the available choices. If connecting using a legacy serial port (or a USB to serial converter) or if none of the previous options appear, you must explicitly choose the communication port to be used from the list of hardware ports.
Before connecting your BrailleNote Apex using its USB client interface, you must install the drivers provided by HumanWare.
Following are the BrailleNote command assignments for NVDA. Please check your BrailleNote's documentation to find where these keys are located.
Name | Key |
---|---|
Scroll braille display back | back |
Scroll braille display forward | advance |
Move braille display to previous line | previous |
Move braille display to next line | next |
Route to braille cell | routing |
Toggle braille tethered to | previous+next |
Up arrow key | space+dot1 |
Down arrow key | space+dot4 |
Left Arrow key | space+dot3 |
Right arrow key | space+dot6 |
Page up key | space+dot1+dot3 |
Page down key | space+dot4+dot6 |
Home key | space+dot1+dot2 |
End key | space+dot4+dot5 |
Control+home keys | space+dot1+dot2+dot3 |
Control+end keys | space+dot4+dot5+dot6 |
Space key | space |
Enter | space+dot8 |
Backspace | space+dot7 |
Tab key | space+dot2+dot3+dot4+dot5 (space+t) |
Shift+tab keys | space+dot1+dot2+dot5+dot6 |
Windows key | space+dot2+dot4+dot5+dot6 (space+w) |
Alt key | space+dot1+dot3+dot4 (space+m) |
Toggle input help | space+dot2+dot3+dot6 (space+lower h) |
14.15. EcoBraille
NVDA supports EcoBraille displays from ONCE. The following models are supported:
- EcoBraille 20
- EcoBraille 40
- EcoBraille 80
- EcoBraille Plus
In NVDA, you can set the serial port to which the display is connected in the Braille Settings dialog.
Following are the key assignments for EcoBraille displays. Please see the EcoBraille documentation for descriptions of where these keys can be found.
Name | Key |
---|---|
Scroll braille display back | T2 |
Scroll braille display forward | T4 |
Move braille display to previous line | T1 |
Move braille display to next line | T5 |
Route to braille cell | Routing |
Activate current navigator object | T3 |
Switch to next review mode | F1 |
Move to containing object | F2 |
Switch to previous review mode | F3 |
Move to previous object | F4 |
Report current object | F5 |
Move to next object | F6 |
Move to focus object | F7 |
Move to first contained object | F8 |
Move System focus or caret to current review position | F9 |
Report review cursor location | F0 |
Toggle braille tethered to | A |
14.16. SuperBraille
The SuperBraille device, mostly available in Taiwan, can be connected to by either USB or serial. As the SuperBraille does not have any physical typing keys or scrolling buttons, all input must be performed via a standard computer keyboard. Due to this, and to maintain compatibility with other screen readers in Taiwan, two key bindings for scrolling the braille display have been provided:
Name | Key |
---|---|
Scroll braille display back | numpadMinus |
Scroll braille display forward | numpadPlus |
14.17. BRLTTY
BRLTTY is a separate program which can be used to support many more braille displays. In order to use this, you need to install BRLTTY for Windows. You should download and install the latest installer package, which will be named, for example, brltty-win-4.2-2.exe. When configuring the display and port to use, be sure to pay close attention to the instructions, especially if you are using a USB display and already have the manufacturer's drivers installed.
For displays which have a braille keyboard, BRLTTY currently handles braille input itself. Therefore, NVDA's braille input table setting is not relevant.
Following are the BRLTTY command assignments for NVDA. Please see the BRLTTY key binding lists for information about how BRLTTY commands are mapped to controls on braille displays.
Name | BRLTTY command |
---|---|
Scroll braille display back | fwinlt (go left one window) |
Scroll braille display forward | fwinrt (go right one window) |
Move braille display to previous line | lnup (go up one line) |
Move braille display to next line | lndn (go down one line) |
Route to braille cell | route (bring cursor to character) |
15. หัวข้อขั้นสูง
15.1 ตัวเลือกใน Command Line
NVDA สามารถยอมรับ หนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งตัวเลือกเพิ่มเติม เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมันเมื่อเริ่มต้นใช้งาน คุณสามารถส่งผ่าน ตัวเลือกมากมายเท่าที่คุณต้องการ โดยตัวเลือกเหล่านี้ สามารถส่งผ่านไปได้ เมื่อเริ่มต้น NVDA จาก ทางลัด (shortcut) ใน คุณสมบัติของทางลัด, จากกล่องโต้ตอบ Run ( Start Menu -> Run หรือ Windows + R), หรือจากคอนโซล คำสั่งของ Windows
โดยเราต้องขั้นตัวเลือกเหล่านี้จากชื่อไฟล์ปฏิบัติการของ NVDA (NVDA.exe) และตัวเลือกอื่นๆ ด้วยการเว้นวรรค ตัวอย่างเช่นทางลัดที่โปรแกรม NVDA สร้างขณะติดตั้งไว้บนเดสก์ทอป จะมีตัวเลือก -rเพื่อเป็นการบอกโปรแกรม NVDA ให้ปิดโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ แล้วเริ่มต้นใหม่ (restart)
อีกตัวเลือกนึงที่มีประโยชน์ได้แก่ --disable-addons เพื่อเป็นการบอกโปรแกรม NVDA ให้ทำงานโดยปิดการใช้งานส่วนเสริมทั้งหมด ใช้ในกรณีที่เราพบปัญหาการใช้งานโปรแกรม NVDA ที่อาจเกิดขึ้นมาจากการติดตั้งส่วนเสริมบางตัวนั่นเอง
ตัวอย่างเช่น คุณสามารถออกจากโปรแกรม NVDA ที่กำลังทำงานอยู่ โดยการป้อนคำสั่งต่อไปนี้ในกล่องโต้ตอบ run: nvda -q
ตัวเลือก command line เหล่านี้มีทั้งที่เป็นแบบสั้นและแบบยาว โดยบางตัวเลือกก็มีเฉพาะแบบยาว และสำหรับตัวเลือกที่เป็นแบบสั้น คุณสามารถนำมันมาผสมรวมกัน เช่น nvda -rm ตัวเลือกนี้จะสั่งให้โปรแกรม restart ขึ้นมาใหม่โดยปิดเสียงตอนเริ่มต้นโปรแกรม
nvda -rm --disable-addons เช่นเดียวกับตัวอย่างก่อนหน้า เพียงแต่จะเพิ่มตัวเลือกการสั่งให้ปิดการใช้งานส่วนเสริมทั้งหมดเข้ามาด้วย
ในบางตัวเลือกยอมรับค่าพารามิเตอร์เพิ่มเติม ได้แก่ การกำหนดความละเอียดของการเก็บ log หรือเส้นทางไปยังไดเรกทอรีการตั้งค่าของผู้ใช้ โดยพารามิเตอร์เหล่านั้นต้องอยู่หลังจากตัวเลือก และขั้นด้วยการเว้นวรรค สำหรับตัวเลือกแบบสั้น และขั้นด้วยเครื่องหมายเท่ากับ '=' สำหรับตัวเลือกแบบยาว ตัวอย่าง
nvda -l 10 บอกให้ NVDA เริ่มต้นโดยจัดเก็บไฟล์ log ในระดับ debug
nvda --log-file=c:\nvda.log บอกให้ NVDA เขียน log ไฟล์ไว้ที่ c:\nvda.log
nvda --log-level=20 -f c:\nvda.log บอกให้ NVDA เริ่มต้นโดยจัดเก็บไฟล์ log ในระดับ info และเขียน log ไฟล์ไว้ที่ c:\nvda.log
และนี่คือตัวเลือกสำหรับคำสั่ง command line ของ NVDA:
แบบสั้น | แบบยาว | คำอธิบาย --------- | --------- | --------- -h | --help | แสดงหน้าต่างความช่วยเหลือสำหรับคำสั่งตัวเลือกแบบ command line -q | --quit | ปิดการทำงานของโปรแกรม NVDA -r | --replace | ปิดการทำงานของโปรแกรม NVDA แล้วเริ่มต้นใหม่ -k | --check-running | Report whether NVDA is running via the exit code; 0 if running, 1 if not running -f LOGFILENAME | --log-file=LOGFILENAME | กำหนดชื่อและที่อยู่ของไฟล์ log ที่ต้องการให้ NVDA จัดเก็บ -l LOGLEVEL | --log-level=LOGLEVEL | ระดับความละเอียดของไฟล์ log (debug 10, info 20, warning 30, error 40, critical 50), ค่ามาตรฐานคือ warning -c CONFIGPATH | --config-path=CONFIGPATH | กำหนดโฟลเดอร์สำหรับจัดเก็บการตั้งค่าทั้งหมดของโปรแกรม NVDA -m | --minimal | ไม่มีเสียง (sound) ไม่มีส่วนติดต่อผู้ใช้ ไม่มีข้อความแจ้งเตือน -s | --secure | โหมดความปลอดภัย (ปิดการใช้งาน Python console) ไม่มี | --disable-addons | ส่วนเสริมทั้งหมดจะไม่ทำงาน ไม่มี | --debug-logging | เปิดใช้การบันทึก debug level logging แค่เพียงสำหรับการทำงานครั้งนี้ การตั้งค่านี้จะแทนที่ระดับการบันทึกอื่น ๆ (--loglevel, -l) ที่เรากำหนดไว้ ไม่มี | --no-sr-flag | อย่าเปลี่ยนหน้าจอระบบธงผู้อ่านทั่วโลก ไม่มี | --install | ติดตั้ง NVDA (เริ่มต้น สำเนาที่ติดตั้งใหม่ ) ไม่มี | --install-silent | ติดตั้ง NVDA ด้วย silent mode ( ไม่ได้เริ่มต้น สำเนาที่ติดตั้งใหม่ )
15.2 System Wide Parameters
เราสามารถกำหนดค่าบางอย่างของ NVDA โดยการแก้ไขค่า Registry ของระบบปฏิบัติการ โดยตำแหน่ง key ที่จะต้องเข้าไปแก้ไข ได้แก่ :
- 32 บิต: "HKEYLOCALMACHINE \ SOFTWARE \ NVDA"
- 64 บิต: "HKEYLOCALMACHINE \ SOFTWARE \ WOW6432Node \ NVDA"
ค่าต่อไปนี้สามารถตั้งค่าภายใต้คีย์รีจิสทรีเหล่านี้:
Name | Type | ค่าที่เป็นไปได้ | คำอธิบาย
--------- | --------- | --------- | ---------
configInLocalAppData | DWORD | 0 เพื่อปิดการทำงาน, 1 เพื่อเปิดการทำงาน | หากเปิดการทำงาน NVDA จะจัดเก็บโฟลเดอร์การตั้งค่าของผู้ใช้ไว้ใน local application data แทนที่ Roaming application data
serviceDebug | DWORD | 0 เพื่อปิดการทำงาน, 1 เพื่อเปิดการทำงาน | หากเปิดการทำงาน จะปิดใช้งานโหมดปลอดภัยบนเดสก์ท็อปที่ปลอดภัยของ Windows ทำให้สามารถใช้คอนโซล Python และ Log viewer ได้ เนื่องจากผลกระทบด้านความปลอดภัยที่สำคัญหลายประการการใช้ตัวเลือกนี้จึงไม่แนะนำ
16. ข้อมูลเพิ่มเติม
หากคุณต้องการข้อมูลหรือความช่วยเหลือเพิ่มเติมเกี่ยวกับ NVDA โปรดเยี่ยมชมเว็บไซต์ของ NVDA ที่ http://www.nvaccess.org หรือ http://www.nvda-project.org คุณสามารถหาเอกสารเกี่ยวกับ NVDA และการสนับสนุนทางเทคนิค ตลอดจนแหล่งข้อมูลเพิ่มเติมได้จากที่นี่ เว็บไซต์นี้ยังให้ข้อมูลและทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา NVDA อีกด้วย